โดย : ปิ่น บุตรี

26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 แม้ว่าคลื่นยักษ์สึนามิ หรือที่ชาวมอแกนแห่งเกาะสุรินทร์ จ.พังงาเรียกขานกันว่า“ละบูน” จะพัดพาบ้าน เรือ และเครื่องมือทำมาหากินของพวกเขาพังพินาศย่อยยับและลอยหายลับไปในทะเล แต่ว่าคลื่นยักษ์ก็ไม่อาจพัดพาจิตวิญญาณความเป็นคนทะเลของ“ลุงซาลามะ กล้าทะเล” ผู้นำชาวมอแกนรุ่นปัจจุบันให้ลอยหายไปจากจิตใจได้...
1...
“เป็นคนเล ก็ต้องกลับไปอยู่ในทะเล”
ลุงซาลามะ ประกาศเจตนารมย์แน่วแน่หลังขึ้นพักฟื้นบนฝั่งที่วัดสามัคคีธรรมได้ไม่กี่วันว่า ยังไงๆก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตในทะเลที่เกาะสุรินทร์เหมือนเช่นกาลก่อน
แต่เท่าที่ผมรู้มาเจตนารมย์นี้กว่าว่าจะผ่านความเห็นส่วนใหญ่ของชาวมอแกนได้ก็หนักหนาสาหัสเอาเรื่อง เพราะว่าช่วงแรกๆหลังเกิดคลื่นยักษ์หมาดๆ มอแกนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยในการกลับไปใช้ชีวิตที่เกาะสุรินทร์ เนื่องจากว่ายังคงหวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมองไม่ออกว่าจะกลับไปทำอะไร เพราะว่าละบูนต่างก็ทำพวกเขาสิ้นเนื้อประดาตัว
แต่ว่าพออยู่บนฝั่งไปได้ไม่กี่วัน ชาวมอแกนเริ่มรู้สึกไม่คุ้นเคยและรู้สึกอึดอัด
“อยู่บนฝั่งมันไม่ชิน ทำอะไรก็ไม่ค่อยถูก อย่างห้องน้ำพวกเราหลายๆคนใช้ไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะราดหรือไม่ราดดีมันเลยดูน่าเกลียด แต่ตอนที่อยู่เลปล่อยกันตามธรรมชาติ ส่วนเรื่องอาบน้ำมอแกนจะอาบน้ำเค็มมากว่าน้ำจืด”
“อยู่บนฝั่งไปไหนมาไหนต้องมีรถ อยู่เลมีเรือไปไหนมาไหนได้ตามอิสระ ส่วนที่เขา(ราชการ)พูดกันว่าจะให้มอแกนไปทำงานบนฝั่งมันลำบาก บัตร(บัตรประชาชน)ก็ไม่มีจะไปทำอะไรได้ หนังสือก็อ่านไม่ออก สู้อยู่ในทะเลไม่ได้ ออกดำหอย ดำปลิง แทงปลา มันไม่อดตาย แม้ว่าช่วงหลังทะเลจะไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนก่อน แต่ว่ามอแกนก็อยู่กันได้”
เมื่อบ่นอุบ เพราะอึดอัด(แทบตาย) มีหรือที่ลุงซาลามะจะทนอยู่ หลังจากนั้นไม่กี่วันแกรวบรวมชาวมอแกนเกือบทั้งหมด(ประมาณ 150 คน) มุ่งหน้าสู่เกาะสุรินทร์ เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง...
2...
ชาวมอแกนมีความเชื่อกันว่า หากมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นในหมู่บ้านก็ต้องหาสถานที่สร้างหมู่บ้านใหม่ ซึ่ง 2 หมู่บ้านเก่าทั้งที่อ่าวต้นไทร และที่อ่าวบอนเล็กต่างก็ถูกคลื่นยักษ์พัดพังพินาศสิ้น
อ่าวบอนใหญ่ จึงถูกเลือกเป็นสถานที่ใหม่สำหรับหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกน ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ก็เปิดไฟเขียวให้สร้างหมู่บ้านมอแกนขึ้นที่นี่
ช่วงแรกที่มอแกนกลับมาก่อร่างสร้างหมู่บ้านใหม่ที่เกาะสุรินทร์ ต้องไปพักที่บริเวณอ่าวช่องขาด
เช้านั่งเรือไปสร้างบ้าน เย็นนั่งเรือกลับมานอนที่อ่าวช่องขาด โดยทางอุทยานฯได้เตรียมเต็นท์ไว้ให้ 50 หลัง แต่ว่ามอแกนบางคนขอเลือกนอนนอกเต็นท์ เนื่องจากว่ายังคงหวาดหวั่นต่อคลื่นยักษ์อยู่ หากคลื่นยักษ์มาก็จะรู้ตัวเร็วและวิ่งหนีขึ้นเขาทัน
สำหรับบ้านมอแกนในแบบฉบับของชาวมอแกนนั้นเป็นโครงสร้างง่ายๆที่ไม่มีอะไรซับซ้อน ยิ่งได้พวกอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ มาร่วมด้วยช่วยกัน ก็ยิ่งทำให้บ้านแต่ละหลังสร้างเสร็จเร็วขึ้น
อาร์ม หรือ ณัฐพล พลบำรุงวงศ์ ผู้คลุกคลีและคุ้นเคยกับชาวมอแกนเป็นอย่างดีที่เป็นหนึ่งในอาสาสมัครร่วมสร้างหมู่บ้านใหม่ เล่าให้ผมฟังด้วยอารมณ์ยินดีว่า ช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ พวกโครง พวกเสา เนื่องจากว่าอยู่ในเขตอุทยานฯไม่สามารถตัดไม้ได้ตามอำเภอใจ ต้องเลือกตัดไม้เพียงบางต้น
“บางวันเสียเวลาเดินป่าเสาะหาไม้ขนาดเหมาะๆมาทำเสาแทบทั้งวัน ส่วนมากไปหาไม้แถวอ่าวแม่ยาย ส่วนคนที่แก่หน่อย อย่างลุงซาลามะ ก็จะเดินหาไม้เก่าที่น้ำพัดมาเกยหาด หรือไม่ก็หาไม้เก่าจากซากเรือ ซากบ้านเก่า แต่พอมีไม้จากฝั่งซึ่งมีคนบริจาคมาเรื่อยๆ งานก็เดินเร็วขึ้น”
สำหรับหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกน ถูกวางผังแบ่งเป็นล็อคๆไว้ 3 ล็อคใหญ่ มีคนมาช่วยวางระบบน้ำ โดยอาร์มได้นำทีมไปสร้างอ่างเก็บน้ำจืดบนเขาและต่อท่อลงมายังหมู่บ้าน เหมือนอย่างหมู่บ้านเก่าที่อ่าวไทรเอน แต่ว่าครั้งนี้มอแกนจะไม่สร้างหมู่บ้านริมหาดเหมือนก่อน แต่จะสร้างลึกเข้ามาบนฝั่งอีกหน่อย เนื่องจากว่ายังคงไม่ไว้ใจต่อคลื่นยักษ์
นอกจากน้ำมิตรของคนไทยจำนวนหนึ่งที่มีให้ชาวมอแกนไม่ว่าจะมาในรูปของสิ่งของบริจาค หรือมาในรูปของการร่วมด้วยช่วยกันลงแรงสร้างบ้านปลูกเรือน อย่างกรณีของอาร์ม หมู่บ้านใหม่ยังได้รับน้ำใจจากชาวมอแกนแดนไกลแห่งประเทศพม่าที่ลอยเรือก่าบาง 2 ลำ 7 คน ข้ามน้ำ ข้ามทะเล ข้ามเขตแดนมาช่วยมอแกนเกาะสุรินทร์สร้างหมู่บ้านใหม่ ซึ่งอาสาสมัครหลายๆคนอดตื่นเต้นกับเรือก่าบางขนานแท้ที่มาจอดเทียบท่าแถวอ่าวบอนใหญ่ไม่ได้ เพราะว่าเรือก่าบางแท้ๆที่เป็นทั้งเรือออกทะเลและบ้านพักอาศัยหายไปจากเมืองไทยหลายปีแล้ว
บรรยากาศการสร้างหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกนจึงเป็นไปด้วยความชื่นมื่น
และเพียงไม่กี่วันบ้านหลังแรกซึ่งเป็นของลุงซาลามะก็สร้างเสร็จสามารถเข้าไปอยู่ได้ จากนั้นบ้านหลังอื่นๆก็ทยอยสร้างเสร็จตามกันมา
วันนี้ชาวมอแกนเริ่มกลับมามีรอยยิ้มอีกครั้งหลังจากที่ร่ำไห้ระงมอยู่พักใหญ่ต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น
เป็นรอยยิ้มที่เกิดจากการมีบ้านหลังใหม่ รอยยิ้มที่เกิดจากการมีหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งใหม่ และรอยยิ้มสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่...
3...
ชีวิตบางคนรอให้โชคชะตาและฟ้าลิขิต แต่สำหรับชีวิตของชาวมอแกนยุคโลกาภิวัตน์แห่งเกาะสุรินทร์พวกเขาขอลิขิตชีวิตตัวเอง
ชีวิตที่เกิดในทะเล โตในทะเล และก็พร้อมที่จะตายในทะเล...
4...
มอแกน มาจากไหน ฉันไม่รู้
ชีวิตอยู่ กับทะเล มานานแสน
ได้เดินทาง ระหว่างเกาะ ทั่วดินแดน
ทะเลคือ แว่นแคว้น ของพวกเรา...
จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม(ฉบับทดลอง) : ชีวิตพวกเราชาวทะเล : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 แม้ว่าคลื่นยักษ์สึนามิ หรือที่ชาวมอแกนแห่งเกาะสุรินทร์ จ.พังงาเรียกขานกันว่า“ละบูน” จะพัดพาบ้าน เรือ และเครื่องมือทำมาหากินของพวกเขาพังพินาศย่อยยับและลอยหายลับไปในทะเล แต่ว่าคลื่นยักษ์ก็ไม่อาจพัดพาจิตวิญญาณความเป็นคนทะเลของ“ลุงซาลามะ กล้าทะเล” ผู้นำชาวมอแกนรุ่นปัจจุบันให้ลอยหายไปจากจิตใจได้...
1...
“เป็นคนเล ก็ต้องกลับไปอยู่ในทะเล”
ลุงซาลามะ ประกาศเจตนารมย์แน่วแน่หลังขึ้นพักฟื้นบนฝั่งที่วัดสามัคคีธรรมได้ไม่กี่วันว่า ยังไงๆก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตในทะเลที่เกาะสุรินทร์เหมือนเช่นกาลก่อน
แต่เท่าที่ผมรู้มาเจตนารมย์นี้กว่าว่าจะผ่านความเห็นส่วนใหญ่ของชาวมอแกนได้ก็หนักหนาสาหัสเอาเรื่อง เพราะว่าช่วงแรกๆหลังเกิดคลื่นยักษ์หมาดๆ มอแกนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยในการกลับไปใช้ชีวิตที่เกาะสุรินทร์ เนื่องจากว่ายังคงหวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมองไม่ออกว่าจะกลับไปทำอะไร เพราะว่าละบูนต่างก็ทำพวกเขาสิ้นเนื้อประดาตัว
แต่ว่าพออยู่บนฝั่งไปได้ไม่กี่วัน ชาวมอแกนเริ่มรู้สึกไม่คุ้นเคยและรู้สึกอึดอัด
“อยู่บนฝั่งมันไม่ชิน ทำอะไรก็ไม่ค่อยถูก อย่างห้องน้ำพวกเราหลายๆคนใช้ไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะราดหรือไม่ราดดีมันเลยดูน่าเกลียด แต่ตอนที่อยู่เลปล่อยกันตามธรรมชาติ ส่วนเรื่องอาบน้ำมอแกนจะอาบน้ำเค็มมากว่าน้ำจืด”
“อยู่บนฝั่งไปไหนมาไหนต้องมีรถ อยู่เลมีเรือไปไหนมาไหนได้ตามอิสระ ส่วนที่เขา(ราชการ)พูดกันว่าจะให้มอแกนไปทำงานบนฝั่งมันลำบาก บัตร(บัตรประชาชน)ก็ไม่มีจะไปทำอะไรได้ หนังสือก็อ่านไม่ออก สู้อยู่ในทะเลไม่ได้ ออกดำหอย ดำปลิง แทงปลา มันไม่อดตาย แม้ว่าช่วงหลังทะเลจะไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนก่อน แต่ว่ามอแกนก็อยู่กันได้”
เมื่อบ่นอุบ เพราะอึดอัด(แทบตาย) มีหรือที่ลุงซาลามะจะทนอยู่ หลังจากนั้นไม่กี่วันแกรวบรวมชาวมอแกนเกือบทั้งหมด(ประมาณ 150 คน) มุ่งหน้าสู่เกาะสุรินทร์ เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง...
2...
ชาวมอแกนมีความเชื่อกันว่า หากมีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นในหมู่บ้านก็ต้องหาสถานที่สร้างหมู่บ้านใหม่ ซึ่ง 2 หมู่บ้านเก่าทั้งที่อ่าวต้นไทร และที่อ่าวบอนเล็กต่างก็ถูกคลื่นยักษ์พัดพังพินาศสิ้น
อ่าวบอนใหญ่ จึงถูกเลือกเป็นสถานที่ใหม่สำหรับหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกน ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ก็เปิดไฟเขียวให้สร้างหมู่บ้านมอแกนขึ้นที่นี่
ช่วงแรกที่มอแกนกลับมาก่อร่างสร้างหมู่บ้านใหม่ที่เกาะสุรินทร์ ต้องไปพักที่บริเวณอ่าวช่องขาด
เช้านั่งเรือไปสร้างบ้าน เย็นนั่งเรือกลับมานอนที่อ่าวช่องขาด โดยทางอุทยานฯได้เตรียมเต็นท์ไว้ให้ 50 หลัง แต่ว่ามอแกนบางคนขอเลือกนอนนอกเต็นท์ เนื่องจากว่ายังคงหวาดหวั่นต่อคลื่นยักษ์อยู่ หากคลื่นยักษ์มาก็จะรู้ตัวเร็วและวิ่งหนีขึ้นเขาทัน
สำหรับบ้านมอแกนในแบบฉบับของชาวมอแกนนั้นเป็นโครงสร้างง่ายๆที่ไม่มีอะไรซับซ้อน ยิ่งได้พวกอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ มาร่วมด้วยช่วยกัน ก็ยิ่งทำให้บ้านแต่ละหลังสร้างเสร็จเร็วขึ้น
อาร์ม หรือ ณัฐพล พลบำรุงวงศ์ ผู้คลุกคลีและคุ้นเคยกับชาวมอแกนเป็นอย่างดีที่เป็นหนึ่งในอาสาสมัครร่วมสร้างหมู่บ้านใหม่ เล่าให้ผมฟังด้วยอารมณ์ยินดีว่า ช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ พวกโครง พวกเสา เนื่องจากว่าอยู่ในเขตอุทยานฯไม่สามารถตัดไม้ได้ตามอำเภอใจ ต้องเลือกตัดไม้เพียงบางต้น
“บางวันเสียเวลาเดินป่าเสาะหาไม้ขนาดเหมาะๆมาทำเสาแทบทั้งวัน ส่วนมากไปหาไม้แถวอ่าวแม่ยาย ส่วนคนที่แก่หน่อย อย่างลุงซาลามะ ก็จะเดินหาไม้เก่าที่น้ำพัดมาเกยหาด หรือไม่ก็หาไม้เก่าจากซากเรือ ซากบ้านเก่า แต่พอมีไม้จากฝั่งซึ่งมีคนบริจาคมาเรื่อยๆ งานก็เดินเร็วขึ้น”
สำหรับหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกน ถูกวางผังแบ่งเป็นล็อคๆไว้ 3 ล็อคใหญ่ มีคนมาช่วยวางระบบน้ำ โดยอาร์มได้นำทีมไปสร้างอ่างเก็บน้ำจืดบนเขาและต่อท่อลงมายังหมู่บ้าน เหมือนอย่างหมู่บ้านเก่าที่อ่าวไทรเอน แต่ว่าครั้งนี้มอแกนจะไม่สร้างหมู่บ้านริมหาดเหมือนก่อน แต่จะสร้างลึกเข้ามาบนฝั่งอีกหน่อย เนื่องจากว่ายังคงไม่ไว้ใจต่อคลื่นยักษ์
นอกจากน้ำมิตรของคนไทยจำนวนหนึ่งที่มีให้ชาวมอแกนไม่ว่าจะมาในรูปของสิ่งของบริจาค หรือมาในรูปของการร่วมด้วยช่วยกันลงแรงสร้างบ้านปลูกเรือน อย่างกรณีของอาร์ม หมู่บ้านใหม่ยังได้รับน้ำใจจากชาวมอแกนแดนไกลแห่งประเทศพม่าที่ลอยเรือก่าบาง 2 ลำ 7 คน ข้ามน้ำ ข้ามทะเล ข้ามเขตแดนมาช่วยมอแกนเกาะสุรินทร์สร้างหมู่บ้านใหม่ ซึ่งอาสาสมัครหลายๆคนอดตื่นเต้นกับเรือก่าบางขนานแท้ที่มาจอดเทียบท่าแถวอ่าวบอนใหญ่ไม่ได้ เพราะว่าเรือก่าบางแท้ๆที่เป็นทั้งเรือออกทะเลและบ้านพักอาศัยหายไปจากเมืองไทยหลายปีแล้ว
บรรยากาศการสร้างหมู่บ้านใหม่ของชาวมอแกนจึงเป็นไปด้วยความชื่นมื่น
และเพียงไม่กี่วันบ้านหลังแรกซึ่งเป็นของลุงซาลามะก็สร้างเสร็จสามารถเข้าไปอยู่ได้ จากนั้นบ้านหลังอื่นๆก็ทยอยสร้างเสร็จตามกันมา
วันนี้ชาวมอแกนเริ่มกลับมามีรอยยิ้มอีกครั้งหลังจากที่ร่ำไห้ระงมอยู่พักใหญ่ต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น
เป็นรอยยิ้มที่เกิดจากการมีบ้านหลังใหม่ รอยยิ้มที่เกิดจากการมีหมู่บ้านใหม่ในที่ตั้งใหม่ และรอยยิ้มสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่...
3...
ชีวิตบางคนรอให้โชคชะตาและฟ้าลิขิต แต่สำหรับชีวิตของชาวมอแกนยุคโลกาภิวัตน์แห่งเกาะสุรินทร์พวกเขาขอลิขิตชีวิตตัวเอง
ชีวิตที่เกิดในทะเล โตในทะเล และก็พร้อมที่จะตายในทะเล...
4...
มอแกน มาจากไหน ฉันไม่รู้
ชีวิตอยู่ กับทะเล มานานแสน
ได้เดินทาง ระหว่างเกาะ ทั่วดินแดน
ทะเลคือ แว่นแคว้น ของพวกเรา...
จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม(ฉบับทดลอง) : ชีวิตพวกเราชาวทะเล : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ชีวิตชาวมอแกน
“ซาลามะ” : The Old Man and The Sea (1)
“ซาลามะ” : The Old Man and The Sea (จบ)