xs
xsm
sm
md
lg

WHAชูไทยฐานการผลิตโลก ภาษีทรัมป์ไม่กระทบลูกค้าย้ายฐาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



WHA ชูไทยฐานการผลิตระดับโลก ภาษีทรัมป์ไม่กระทบนิคมอุตสหากรรม ระบุไทยยังมีบุญเก่า ความมั่นคงด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานดึงดูดนักลงทุน แต่แนะยกระดับรับเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งเรื่องพลังงานสะอาด และดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อทิ้งห่างคู่แข่งก่อนถูกแซง แนะจับตากลุ่มสินค้าสวมสิทธิ์ต้องมีการจัดการอย่างชัดเจน พร้อมรักษานักลงทุนต่างชาติที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอย่างแท้จริง

 
 


นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน)หรือ WHA กล่าวว่าภายในงานสัมมนา iBusiness ForumDecode 2025: The Mid-Year Signal ถอดสัญญาณเศรษฐกิจโลก พลิกอนาคตเศรษฐกิจไทยว่าปัจจุบันเทคโนโลยี การเติบโตแบบยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate change) ถือเป็นโอกาสของประเทศไทยมันมีความสำคัญกับอนาคตมากขึ้น แต่เรากลับไปโฟกัสที่ประเด็นทรัมป์2.0 กับภูมิรัฐศาสตร์จนทำให้เราอาจจะลืมเรื่องพวกนี้ไป

สำหรับตอนนี้ประเทศที่มีการสรุปเรื่องกำแพงภาษีจริงๆ มีแค่ 2 ประเทศคืออังกฤษ กับเวียดนาม จีนก็ยังไม่สรุปส่วนอังกฤษอยู่ที่10%คือจบไปละ ส่วนเวียดนามบอกว่าได้20% แล้วไทยเจอ 36% นั้น ทางเราได้คุยกับคนของเราที่เวียดนาม ซึ่งปกติแล้วเวียดนามจาก 46% เหลือ 20% เขาควรจะดีใจใช่ไหม เขาควรจะต้องออกข่าวใช่ไหมเราก็งงว่าทำไมเวียดนามรัฐบาลเวียดนามถึงนิ่งๆ เลยเช็กกับคนของเราที่เวียดนามคือว่าเขาผิดหวังมากเพราะว่าเขาเทหมดหน้าตักเลยสิ่งที่เขาได้มาเขาคิดว่าเขาจะได้ 10-12% เขากลับได้ 20% กับ 40% สินค้าที่สวมสิทธิ์ และส่วนใหญ่ที่เวียดนามจะเป็นสินค้าประเภทนี้

“คำจำกัดความของสินค้าสวมสิทธิ์ตอนนี้ยังไม่จบ ยังงงกันอยู่ว่ามันตีความกันขนาดไหนเพราะว่าการผลิตที่เวียดนามที่โตเติบโตมาโดดเด่นมากโดยเฉพาะหลังโควิดขึ้น แต่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงที่เกิดจากการเทรดวอร์รอบแรกเข้ามาใช้แรงงานราคาถูกที่เวียดนามได้ไปแต่ไอ้พวกวัตถุดิบต้นทางมาจากจีนทั้งนั้น แม้แต่ผ้า ซิบ เอาเย็บติดกันสุดท้ายก็เอาส่งออกไปสหรัฐฯ แล้วเขานับยังไงว่าเป็นสินค้าจากไหนฉนั้นเขายังไม่รู้เลยค่ะเขาเจอ20% หรือ 40% แน่สหรัฐฯกับเอาเรื่องนี้มาต่อรองกับประเทศทั้งโลกขึ้นมา”


ในตอนต้นตอนที่ไทยเจอภาษี 36% มีคนถามเยอะมากแต่มันยังไม่จบต้องดูให้มันหมดก่อนว่าใครเจออะไรบ้าง เช่น บราซิล 50%ทั้งที่บราซิลขาดดุลสหรัฐ ส่วนแม็กซิโกกว่า 30% อันนี้ยังรอจีนกับอินเดียที่ยังไม่มีข้อสรุป ถามว่าทำไมยกตัวอย่างประเทศเหล่านี้ เพราะตอนนโยบายภาษีรอบแรกเดือนเมษา ผลสำรวจจากลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของเรา โดยเฉพาะลูกค้าจีนที่มีการส่งสินค้าไปสหรัฐฯกว่า 75% ถ้าจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตจริงๆจะเลือกประเทศไหน คำตอบที่ได้คือ บราซิล กับแม็กซิโก ซึ่งไม่ได้ต่างกันมากนักฉนั้นไทยยังถือเป็นทางเลือกของนักลงทุนจีนอยู่

“ลองวิเคราะห์ข้อมูลกันดีดีจีนคงจะไม่ทางโดนต่ำกว่าประเทศอื่นเพราะเป้าของสหรัฐฯคือจีนทั้งเรื่องความมั่นคง อาหาร แล้วก็เทคโนโลยี เขาเลยมองไทยว่าการโดนกำแพงภาษีรอบนี้ไม่น่าจะเกิน 3 ปี แต่ถ้ายังเป็นที่จีนก็คงจะยาวกว่านั้น ส่วนอินเดียไม่ต้องพูดถึงเขาเป็นคู่แข่งกันยังไงก็ไม่มีทางย้ายไปถึงแม้อินเดียจะโดนกำแพงภาษีน้อยกว่า”

อย่างไรก็ตามถ้าภาษีทั่วโลกจะสูงแบบนี้หมดจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งแรกเลยคือปีต่อไปสหรัฐฯจะต้องเผชิญกับภาวะสินค้าราคาแพงและอาจต้องจับตาดูว่าเศรษฐกิจจะถดถอยด้วยหรือไม่ แล้วถ้าตัดสหรัฐฯออกไปจะเกิดอะไรขึ้นเพราะหลายประเทศก็เริ่มมองแล้วว่าให้อเมริกานี่คือมีประเด็นเยอะมาก ซึ่งในส่วนไทยถ้าดูตัวเลขแล้วจะพบว่าการส่งออกไปสหรัฐฯในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามันสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงเทรดวอร์รอบแรกปี 2018 จากยอดรวมทั้งหมด 11% ขึ้นมาอยู่ที่ 19% คำถามก็คือกลับมาว่าแล้วเมื่อก่อนหน้านั้นไทยส่งออกไปสหรัฐฯ น้อยกว่านี้ยังไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย

ถ้าตั้งสติดีๆ คิดดูจะรู้ว่านอกจากสินค้าเกษตรที่ส่งออกไปสหรัฐฯ แล้วจะรู้ว่าสินค้าหลักอีกอย่างคือ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่กว่า60% เป็นบริษัทจากสหรัฐฯ เขาลงทุนของเงินไทยเป็นแสนล้าน เขาจะย้ายออกไหมมันมีเบื้องหลังขึ้นใหม่ตอนนั้นที่เรากางข้อมูลดู ส่วนพวกรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เราส่งออกไปทั่วโลกมากกว่า”

ทั้งหมดเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งว่านิคมอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากมาตรการภาษี ซึ่งข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่เราส่วนใหญ่จะทำการผลิตและส่งออก ซึ่งในปี 2018 ลูกค้าของจีนจะอยู่แค่ประมาณ 3% เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 20% ตั้งแต่ช่วงปี 2022 เป็นต้นมา การที่จะเหมารวมว่าเป็นการส่วมสิทธิ์จะเกิดความเสียหายตรงนี้ต้องพิจารณาให้ดีเพราะลูกค้าที่มาซื้อและอยู่ในพื้นที่เราเขาต้องใช้เวลากว่าตั้งโรงงานเริ่มผลิตได้ใช้เวลา 2-3 ปี สำหรับกลุ่มที่ลงทุนสร้างโรงงานและผลิตจะต้องรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ไว้ ต่างจากพวกที่นำเข้ามาแล้วส่งออกมันไม่เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศไทยเลย

“ลูกค้าเราปีนี้กลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำลูกค้าที่อยู่ในดิวก็เตรียมจะเซ็นสัญญาเตรียมโอนไม่มีใครถอย สมัยก่อนเรามีลูกค้าจีนแค่3% แค่ไม่กี่ปีขึ้นมาเป็น 27% เมื่อก่อนอันดับ 1 เราคือญี่ปุ่น 39% แต่ตอนนี้ลงมาเหลือ 19% ไทย 17% สหรัฐอีก 13% แค่สหรัฐฯในปี 2023เป็นมาถึงตอนนี้เพิ่มเป็น 17% แล้วมาจากเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์”

สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ต้องเข้าใจก่อนว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีไม่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าชิปใดๆ ลูกค้าคือยูเซอร์เขาคือผู้ใช้เครื่องไม่เกี่ยวข้องกับการจำกัดการนำเข้าชิปแต่อย่างใด ต้องอย่าสับสนนิคมฯของเรายังมีไม่ได้รับผลกระทบและมีหลากหลายอุตสาหกรรมเข้ามาเป็นลูกค้าเราอย่างต่อเนื่อง

“มีลูกค้าเรารายหนึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงที่โตเร็วมาก เขาเคยซื้อที่ที่อเมริกาไว้แล้วแต่สุดท้ายก็ขายทิ้ง แต่ก็ย้ายกลับมาไทยแล้วส่งออกดีกว่า เหตุผลที่เขาให้คือ อเมริกาที่แพง ค่าก่อสร้างก็แพง ค่าแรงก็แพง แถมหายาก ที่สำคัญคือคนงานชอบฟ้องบริษัท ฟ้องอย่างเดียว และนี่คือความไม่น่ารักของอเมริกา”

การจะดึงนักลงทุนเข้าประเทศยังต้องมีการปรับโครงสร้างทั้งเรื่องของพลังงานสะอาด การกำจัด มันต้องมีการปรับ จากการสำรวจของเราจากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 50 รายก็ยังไม่แผนที่จะย้ายการผลิต ตัวเลขทางบีโอไอปีที่แล้วสูงถึง8แสนกว่าล้านบาทสูงที่สุดตั้งแต่ตั้งบีโอไอมา ซึ่งไทยยังคงมีศักยภาพและมีโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน แต่นี่คือบุญเก่าที่ไทยมี แต่ถ้าไม่ทำอะไรก็มีโอกาสแพ้และต่อจากนี้ยังคงต้องมีการแข่งขันกันต่อไป

“หลายๆ อย่างที่เวียดนามดึงไปไม่ได้เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์เพราะเขาไม่มีความมั่นคงเรื่องพลังงาน โครงสร้างหลายอย่างยังมีจำกัดเช่นระบบนิเวศของอุตสหากรรมยานยนต์ที่ไทยสร้างไว้ใหญ่มากก็เป็นข้อจำกัดของเวียดนามถึงตรงนี้อยากให้มองต่อว่าเน็กซ์มูฟว่าเราจะมันมีเสน่ห์ได้อย่างไร เราต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลนั่นก็คือดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งถ้าไม่มีส่วนนี้ไทยจะไปต่อกับการเป็นดิจิทัลอีโคโนมี่ไมได้ นอกจากนี้ยังควรมีการยกระดับทักษะของแรงงาน และการพัฒนาด้านการศึกษา”
กำลังโหลดความคิดเห็น