ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ เตือนธนาคารใหญ่ระดับโลกว่าอย่าออก Stablecoin เองเด็ดขาด ระบุความเสี่ยงอาจดึงเงินในระบบธนาคารออกจนส่งผลต่อการปล่อยเครดิต ชี้ทางออกคือ “ฝากธนาคารในรูปแบบดิจิทัล” เพื่อให้เงินหมุนในระบบอย่างมีเสถียรภาพ
นายแอนดรูว์ เบลลีย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ออกโรงเตือนว่าการที่ธนาคารพาณิชย์แข่งกันออกเหรียญเสถียร (stablecoins) อาจสร้างความเสี่ยงทั่วทั้งระบบการเงิน เพราะเสถียรคอยน์เหล่านี้อาจ “ดึงเงินออกจากระบบธนาคาร” และลดขีดความสามารถในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่ต้องพึ่งฐานเงินฝากแบบเดิม ๆ
เบลลีย์แนะนำว่า เครดิตรูปแบบใหม่ควรเป็น “ฝากเงิน tokenized” คือฝากเงินในธนาคารดั้งเดิมในรูปแบบดิจิทัล ภายใต้กรอบกฎหมายธนาคารที่มีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ซึ่งจะรักษาการควบคุมเงินตรารัฐบาลไว้ได้ดีกว่าการปล่อยให้ภาคเอกชนสร้างระบบคู่ขนานขึ้นมาเอง
ความขัดแย้งนโยบายโลก ฉุดอังกฤษถอยหลัง แต่สหรัฐฯ ก้าวหน้าเรื่อง stablecoins
ความเห็นของนายแอนดรูว์ เบลลีย์สะท้อนช่องว่างเชิงนโยบายระหว่างอังกฤษกับสหรัฐฯ โดยอังกฤษมุ่งเน้น โทเคนฝากเงิน (tokenized deposits) ขณะที่รัฐบาลสหรัฐภายใต้ ทรัมป์ กำลังผลักดัน “เสถียรคอยน์ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์” เพื่อเสริมสถานะดอลลาร์ให้แข็งแกร่งในโลกดิจิทัล
เบลลีย์กล่าวว่า “ผมอยากเห็นธนาคารลองมุ่งเดินทางสายฝากเงินแบบโทเคน แต่คำถามคือ เราจะเปลี่ยนเงินของเราให้เป็นดิจิทัลอย่างไร โดยเฉพาะในระบบการชำระเงิน"
นอกจากนี้ เขายังชี้ว่า ธนาคารกลางอังกฤษไม่ควรเร่งพัฒนา CBDC หรือ ‘ดิจิทัลปอนด์’ เพราะทางเลือกที่เหมาะสมกว่า คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่รักษาการควบคุมภายในระบบธนาคารดั้งเดิม
stablecoin สร้างความเสี่ยง "เบิกถอนทันที ร้ายแรงสุดอาจนำไปสู่ ‘Bank Run’"
เบลลีย์เตือนว่า stablecoin อาจสร้างเหตุการณ์ Bank run เมื่อผู้ใช้จำนวนมากถอดเงินพร้อมกันเพื่อย้ายไปยัง stablecoin กรณีตลาดผันผวน ซึ่งจะทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องและหยุดการปล่อยสินเชื่อทันที
นอกจากนี้เขายังกังวลว่า เสถียรคอยน์ที่ไม่มีการกำกับดูแลเหมาะสม อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของ อาชญากรรมทางการเงิน เช่น ฟอกเงิน หรือการลักลอบโอนเงินที่ตรวจสอบได้ยากยิ่งขึ้น
เบลลีย์ชี้ ในฐานะ FSB มีอำนาจผลักดันนโยบายสากล
อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2568 นายแอนดรูว์ เบลลีย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน คณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงินโลก (Financial Stability Board หรือ FSB) ซึ่งทำให้ความคิดเห็นของเขาไม่ได้เป็นเพียงเสียงจากอังกฤษ แต่มีอิทธิพลในการร่างมาตรฐานสากลเกี่ยวกับ stablecoin โดยเฉพาะเมื่อ stablecoin โตเป็นตลาดพันล้านดอลลาร์อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ “เหรียญ stablecoin ที่ออกโดยธนาคาร” อาจไม่ใช่คำตอบที่ปลอดภัยสำหรับระบบการเงินที่โลกเดินหน้าเข้าสู่ยุคการเงินแบบดิจิทัล แต่เสียงเตือนจากอังกฤษชัดเจนว่า ถ้าไม่มีระบบกำกับดูแลเข้มข้น stablecoin อาจกลายเป็นภัยร้ายแรงกว่าที่คิด