นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) กล่าวในงานงานฟอรัมแห่งปี EARTH JUMP 2025: Transition Thru Turbulence ว่า ปัจจุบันโลกเผชิญกับหลากหลายปัญหา และความท้าทายจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า ภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น หรือการเข้ามาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างดังกล่าวสร้างผลกระทบในวงกว้างจะมากน้อยขึ้นอยู่กับธุรกิจหรือการปรับตัวของแต่ธุรกิจ แต่ละคน ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้วความไม่แน่นอน-ความผันผวนที่เกิดขึ้น ทำให้เราอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า FEAR ซึ่งการตอบรับก็มีหลายรูปแบบ อย่างบางคนอาจจะเป็น Forgot Everything and Run คือลืมแล้วหนีไป แต่บางคนอาจจะ Face Everything and Rise คือเผชิญหน้ากับปัญหา ซึ่งในการที่เผชิญหน้ากับปัญหาก็ต้องมีใน 3 เรื่องที่สำคัญได้แก่
-Health Check คือการสำรวจตนเองให้ชัดเจนเพื่อให้รู้ถึงสิ่งที่ดีอยู่แล้ว-สิ่งที่ต้องปรับปรุง
-Commitment คือการตั้งเป้าหมายในที่จะทำให้สำเร็จ อย่างกรณีของธนาคารกสิกรไทยได้สำรวจการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 7.2 หมื่นตันฯ และตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ในปี 2030 ขณะที่พอร์ตรวมของลูกค้าธนาคารที่มีจำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าของธนาคารกลานเท่านั้น เป้าหมายการเป็น Green Loan จะสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ของประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
-Sulotions ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนถ่าย ซึ่งจะไม่ใช่แค่เรื่องของสินเชื่อ โดยได้ตั้ง KBANK Climate Sulotions เพื่อเป็นอีโคซิสเต็มส์ ขณะที่สินเชื่อ Green Loan ของธนาคารกสิกรไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ในระดับ 1-2 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดปล่อยกู้แล้ว 1.5แสนล้านบาท โดยสิ้นปีมีโอกาสแตะ 2 แสนล้านบาท และธนาคารมีความพร้อมให้วงเงินเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนถ่ายไปสู่ Net Zero อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
"เราเชื่อว่าด้วยความตั้งใจและ Sulotions ต่างๆจะช่วยให้ทั้งเราและลูกค้าสามารถเผชิญหน้ากับปัญหา-ความท้าทายต่างๆ และพร้อมที่จะลุกขึ้นและเดินหน้าต่อไปได้ หรือ FEAR ที่ย่อมาจาก Face Everything and Roar เผชิญหน้าแล้วลุกขึ้น พร้อมที่จะเกิดใหม่เหมือนนกฟีนิกซ์ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและชัยชนะร่วมกันในอนาคต"
**เล็งทำบทวนเป้า-รอผลภาษีตอบโต้**
นายพิพิธ อเนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK)กล่าวว่า สินเชื่อกรีนโลนจากเป้าหมายที่ 1-2 แสนล้านบาทนั้น คาดว่า ณ สิ้นปีนี้น่าจะแตะที่กรอบบนของเป้าหมายได้ ก็อยู่ระหว่างการทบทวนเป้าหมายใหม่ โดยปัจจุบันจะปล่อยกู้ในกลุ่ม พลังงาน ,ถ่านหิน, น้ำมัน-ก๊าซ และซีเมนต์ โดยยังมีอีก 2 กลุ่มที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา ได้แก่ ออโต้ และอลูมิเนียม
ส่วนภาพรวมสินเชื่อของธนาคารยังคงเป้าหมายเดิมในระดับทรงตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้น 0.57% รวมถึงเป้าหมายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 3.25% จากสิ้นไตรมาสแรกปี 68 ที่ 3.19% และสิ้นปี 67 ที่ 3.18% โดยในช่วงไตรมาส 2 นี้ค่อนข้างเห็นความอ่อนตัวทางด้านสินเชื่อชัดเจนขึ้น เนื่องจากความไม่นอนทางต่างประเทศที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารเองก็ยังมีความระมัดระวังในการสินเชื่อเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าหลังจากมีความชัดเจนในเรื่องของอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯจะเก็บจากไทยที่จะครบกำหนด 90 วันในต้นเดือน 8 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ก็จะมีการทบทวนตัวเลขเป้าหมายต่างๆอีกครั้งหนึ่ง
"ตอนนี้ทุกอย่างยังคาดเดายาก อยู่ในภาวะนิ่งกันหมด เพื่อรอความชัดเจนในเรื่องของภาษีตอบโต้ที่เราจะโดน ซึ่งหากโดนในอัตราเต็ม 36% อันนี้จะกระทบหนักมาก ต้องมาทบทวนกันแทบจะทุกอย่างเลย แต่เราก็ยังไม่ได้มองว่ามันจะขนาดนั้น"
ทั้งนี้ ในด้านของคุณภาพหนี้นั้น ธนาคารได้ติดตามมาอย่างใกล้ชิดตลอดในทุกๆกลุ่ม ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นก็มีขั้นตอนในการดูแลอยู่แล้ว โดยจะต้องมีการเรียกลูกค้ามาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา แนวทางแก้ไข เป็นต้น หากตกลงกันได้ก็จะเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งหากทำได้ก็จะไม่ตกลงถึงระดับเป็นเอ็นพีแอล สิ่งสำคัญต้องมีความจริงจังในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
"ที่ผ่านมารับว่า ลูกค้ากลุ่มรายใหญ่และขนาดกลางกลับมามีปัญหาเพิ่มขึ้น จากการติดตามลูกค้าแต่ละรายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการดูจากฐานะเงินสดว่าแต่ละรายมีเพียงพอแค่ไหน โดยเรียกเข้ามาหารือในการร่วมทือกันแก้ปัญหา ธนาคารฯไม่ได้พึ่งมาโฟกัสลูกหนี้ตอนเกิดเรื่อง แต่มีการโฟกัสมาตลอด ทำให้เข้าช่วยเหลือได้ไว"
ด้านรายได้ของธนาคารนั้น แม้ว่าสินเชื่อยังเติบโตได้ไม่ดีนัก แต่ในส่วนของธุรกิจแบงก์แอชชัวรัน กองทุนฯ และการชำระเงินยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีสามารถสร้างรายได้ให้กับธนาคารได้ เช่นเดียวกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การลงทุน การชำระเงินระหว่างประเทศก็ยังมีกาคเติบโตที่ดี