xs
xsm
sm
md
lg

เทรนด์อาคารเขียวหนุนวัสดุตกแต่งเป็นมิตรสวล.“คอตโต”พลิกเกมรุกตกแต่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วง 5 ปี ก่อนหน้านี้ หากพูดถึงการลือกใช้วัสดุตกแต่งและก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวล้อม ในกลุ่มผู้ประกอบการอังหาริมทรัพย์ คำตอบที่ได้อาจจะไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังมีปริมาณการผลิตไม่มาก และมีราคาที่สูงกว่าวัสดุก่อสร้างทั่ว 20-30% ซึ่งกลายเป็นต้นทุนก่อสร้างที่สูงและลูกค้ายอมรับต้นทุนในส่วนดังกล่าวมีจำนวนน้อย

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณการกผลิตและจำนวนผู้ผลิตกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับความต้องการใช้ และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวลล้อมของบริษัทอสังหาฯ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานใหม่ ๆ ซึ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวโน้มดังกล่าวทำให้ปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง หันมาเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ตลาดเพื่อทดแทนวัสดุแบบเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุตกแต่งและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเกิดจาก 4 ปัจจัยสำคัญคือ


1.
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุแบบเดิม เช่น

·การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง วัสดุก่อสร้างแบบเดิมหลายชนิด เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก อิฐเผา หรือไม้แปรรูปจำนวนมากมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้นการผลิตเหล่านี้ยังก่อให้เกิดการทำลายระบบนิเวศ การตัดไม้ทำลายป่า และการขุดเจาะเหมืองแร่ซึ่งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของธรรมชาติ

·การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้างแบบเดิมหลายชนิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และเหล็กซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

·ปัญหามลพิษทางอากาศและน้ำ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้างบางชนิดก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง สารเคมี และก๊าซพิษ นอกจากนี้ของเสียจากกระบวนการผลิตยังอาจปนเปื้อนแหล่งน้ำ

·ของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนซึ่งในการรื้อถอนวัสดุก่อสร้างแบบเดิมเมื่อหมดอายุการใช้งานมักกลายเป็นขยะจำนวนมากที่ยากต่อการจัดการและอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อดินและน้ำ

2.ความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น

·ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลกรวมถึงวัสดุก่อสร้างสำหรับบ้านและอาคารของตนเอง

·ความต้องการอาคารเขียวซึ่งเป็นทรนด์ในธุรกิจชั้นนำทั่วโลก ทำให้แนวโน้มการสร้างอาคารเขียว (Green Building) กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและระดับโลกซึ่งใหความสำคัญกับการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน

·นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐยังเริ่มออกข้อกำหนดและกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นเพื่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆที่ให้ลดลงทำให้หลายประเทศเริ่มมีข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและให้การสนับสนุนโครงการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3.โอกาสทางธุรกิจและนวัตกรรม เช่น

·ช่วยในการสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจจากการพัฒนาและนำเสนอวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยให้ผู้ผลิตสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองและตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตนี้ได้

·ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบางชนิดเช่น วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอาจช่วยลดต้นทุนการผลิตและการใช้งานในระยะยาว

·ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เพราะการให้ความสำคัญกับการผลิตวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในฐานะผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

·การกระตุ้นนวัตกรรมการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การคิดค้นเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น

4.ปัจจัยด้านความยั่งยืนในระยะยาวซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทอสังหาฯและแทบจะทุกธุรกิจไปบรรจุให้เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของหล่ายๆองค์กรเช่น

·เป็นการส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเพราะการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญของการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างและโลกโดยรวม

·การลดผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวันนี้เป็นการลดภาระและผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตกทอดไปยังคนรุ่นหลัง

 ขจรศักดิ์ เปี่ยมบุญ
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างจึงจำเป็นต้องปรับตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ลดผลกระทบต่อโลกและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว โดยก่อนหน้านี้ ผูผลิตวัสกุก่อสร้างหลายๆรายเริ่มีการเพิ่มสายการผลิตวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุดหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างรายใหญ่อย่างเช่น“COTTO”ก็เป็นอีกรายที่พลิกบทบาท ขยายตลาดเดินเกมรุกอุตสาหกรรม“วัสดุตกแต่ง” จากเดิม ที่เป็นผู้นำแบรนด์กระเบื้องและสุขภัณฑ์ชั้นนำของโลกมานานกว่า40 ปี โดย“COTTO”มีการพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีควบคู่กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการผลิตควบคู่ไปกับและการก้าวมาสู่ ‘บทบาทใหม่’ ในฐานะผู้ผลิตและพัฒนา “วัสดุตกแต่ง” ซึ่งมุ้งเน้นการผลักดันอุตสาหกรรมรักษ์โลก

ดังนั้น นอกจากความโดดเด่นในเรื่องของคุณภาพ และมาตรฐานแล้วCOTTO ยังโดดเด่นด้านการผลิตความพิถีพิถันในการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การใช้‘น้ำดินสูตรพิเศษ’ (Qrystalite) ในการผลิตสินค้าอ่างล้างหน้า
QUINTA Basin – Quil Collection By COTTO หรือ นวัตกรรมแผ่นดินเหนียวClay Décor ฯลฯ นับเป็นการเติมเต็มมุมมองการออกแบบใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่หลากหลาย และยกระดับการอยู่อาศัยได้อย่างยั่งยืน


นายขจรศักดิ์ เปี่ยมบุญ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือCOTTO กล่าวว่า กว่า40 ที่เราพัฒนาโปรดักส์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากอดีตกลุ่มคนสร้างบ้านยุคก่อนสู่การสร้างใหม่ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนมีทางเลือก และฉลาดเลือกมากขึ้น‘บ้านไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นพื้นที่ที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยได้อย่างชัดเจน’ทำให้COTTO จึงเล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มสินค้า‘วัสดุตกแต่ง’ เพื่อเติบโตไปพร้อมกับความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคและเชื่อมโยงมุมมองมิติใหม่ๆ ให้กับกลุ่มนักออกแบบไปจนถึงการพัฒนาสินค้าด้วยวัสดุธรรมชาติผ่านรูปแบบนวัตกรรมต่างๆโดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเจ้าของบ้านยุคใหม่ และนักออกแบบกลุ่มYoungGen”

จึงเป็นที่มาของการจัดแสดงสินค้าภายใต้คอนเซปต์“Reimagine Living Refinement” เพื่อเปิดมุมมองให้กลุ่มนักออกแบบ
และผู้บริโภคยุคใหม่ได้สัมผัสความพิเศษของไลน์โปรดักส์ใหม่ๆ โดยแบ่งเป็นกลุ่มHighlightProducts อาทิINTEGRATED SINK WORKTOP โดยWORKTOP SURFACES by COTTO ผลิตภัณฑ์ใหม่ของCOTTO ในรูปแบบเคาน์เตอร์พร้อมหลุมอ่างล้างหน้าในตัวสามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้และQUIL COLLECTION By COTTO กลุ่มสินค้าสำหรับห้องน้ำระดับไฮเอนด์ด้วยเทคโนโลยีวัสดุที่มีความละเอียดทางผิวสัมผัส และตอบโจทย์งานออกแบบสมัยใหม่

ดังนั้น เพื่อเปิดมุมมองให้กลุ่มนักออกแบบ และผู้บริโภคยุคCOTTO จึงได้จัดแสดงสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีวัสดุตกแต่งและผลิตภัณฑ์ใหม่ของCOTTO ในงานสถาปนิก’68 ซี่งเป็นหนึ่งในกลุ่มNew Products และยังจัดขึ้นที่COTTO LiFE ดอนเมือง
ประกอบด้วยCOTTO BATHROOM พลิกโฉมประสบการณ์ใช้ห้องน้ำยุคใหม่พร้อมด้วยหลากหลายโมเดลกลุ่มSmart Edition อาทิ กลุ่มสุขภัณฑ์KLIRR COLLECTIONSmart Edition ด้วยนวัตกรรมระบบชำระด้วยเทคโนโลยีแรงดันอากาศ Hydro KEEN Flushing System และRefrigeratorMirror ชุดกระจกเงาพร้อมตู้แช่เครื่องสำอางค์และอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญ

อย่างCOTTO THE SURFACE ซึ่งออกแบบมาให้ตอบโจทย์กับการใช้งานในพื้นที่หลากหลายรูปแบบ FlowelPureTECH วัสดุปิดผิวนวัตกรรมญี่ปุ่นช่วยดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์, ดูดซับสารระเหยอันตรายได้อีกทั้งยังช่วยปรับสมดุลอากาศในบ้าน เพื่อยกระดับการอยู่อาศัยในทุกๆ วันรวมถึงการเปิดตัวครั้งแรก! กับCOTTO WINDOW AND DOOR สินค้าประตูหน้าต่างกลุ่มแรกทำจากAluminumมีความทนทานและโดดเด่นด้วยดีไซน์เฉพาะตัวผสานเข้ากับพื้นที่แบบmixed-use ได้อย่างกลมกลืน


“จุดแข็งความเชี่ยวชาญของCOTTO คือการเป็นผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายในประเทศไทยที่ควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตด้วยตนเอง
ตั้งแต่การค้นคว้าวัสดุทางเลือก ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อมอบทางเลือกสร้างสรรค์ให้กับนักออกแบบ พร้อมลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยในกระบวนการผลิตของเราได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากวัสดุชีวมวล เช่น กาบมะพร้าวเปลือกข้าวโพด แทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันสินค้าCOTTO ที่ผลิตจากโรงงานทุกชิ้นมีการระบุCarbonFootprint of Products (CFP) อย่างชัดเจนและในอนาคตบริษัทยังมีแผนพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถยื่นขอฉลากCarbonReduction of Products (CRP) แสดงถึงการพัฒนาอีกขั้นที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าปริมาณการปล่อยคาร์บอนลดลงจากกระบวนการเดิมอย่างแท้จริงยกตัวอย่างกลุ่มสินค้าที่ได้รับฉลากCRP แล้ว อาทิMosaic & Exterior Tiles เป็นต้น” นายขจรศักดิ์ กล่าวว่า

ที่สำคัญCOTTOยังให้ความสำคัญกับมิติด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคไม่แพ้ด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามแนวทางESG จะเห็นได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญต่อการเลือกวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับวัสดุปิดผิวทางเลือกใหม่ อย่างClay Decor หรือStone Decor ที่มีคุณสมบัติบางเบา เหมาะกับการติดตั้งบนผนังและช่วยลดความเสี่ยงจากการตกหล่นหรือแรงกระแทกที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจนนำไปสู่การบาดเจ็บได้

“และแม้ว่าในปี2568 ไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายและโอกาสแต่โดยภาพรวมคาดว่าจะกลับมาทยอยฟื้นตัวได้ดีซึ่งCOTTO ยังคงมั่นใจว่าไม่กระทบการเติบโตทั้งในด้านกำลังการผลิตและยอดจำหน่ายทั้งในประเทศตลอดจนการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ พร้อมวางกลยุทธ์ ด้วยการปรับทิศทางของแบรนด์ที่เป็นมากกว่าการกระเบื้อง-สุขภัณฑ์ แต่คือการเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆสู่ไลน์การผลิต “วัสดุตกแต่ง” แห่งโลกอนาคตเพื่อเชื่อมต่อไอเดียกับกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่สร้างสมดุลระหว่างความงามของดีไซน์ ฟังก์ชันซึ่งคาดว่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขยายตลาด รวมถึงการผลักดันEcosystem ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับแบรนด์COTTOให้แข็งแกร่งในฐานะผู้นำวัสดุตกแต่งครบวงจรและเป็ฯมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งอนาคต
” นายขจรศักดิ์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น