xs
xsm
sm
md
lg

“รุ่ง มัลลิกะมาส-กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ลูกหม้อ-นักเรียนทุนธปท. 2 ตัวเต็งผู้ว่าแบงก์ชาติคนที่ 22

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศวันเปิดรับสมัครผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 22 ใน วันที่ 13 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายน 2568 แทนนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ที่จะหมดวาระ ในวันที่ 30 กันยายน 2568 หลังปิดรับสมัครคณะกรรมการฯ จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครก่อนที่มีการคัดเลือกหรือ Shortlist ผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ ในวันที่ 24 มิถุนายน เพื่อให้ผู้สมัครได้แสดงวิสัยทัศน์แก่คณะกรรมการฯ และวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 คณะกรรมการฯ จะพิจารณาเสนอชื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนใหม่ หรือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง อย่างน้อย 2 ชื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีขั้นตอนต่อไป ตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 กำหนดว่ากระทรวงการคลังต้องจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อเสนอชื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อนผู้ว่าฯคนปัจจุบันครบวาระภายใน 90 วัน

สำหรับตัวเต็งที่เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติก่อนประกาศรับสมัครมี 3-4 รายชื่อ

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการธปท. ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมธนารักษ์

ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์อดีตผู้บริหารงานธนาคาร และผู้ก่อตั้ง บ.อบาคัส ดิจิทัล

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb)

ทั้ง 5 ชื่อ ได้เปิดออกมาเป็นกระแสอย่างต่อเนื่อง โดยกระแสสลับกันไปมาขึ้นแท่นตัวเต็งตั้งแต่ก่อนเปิดรับสมัคร สำหรับคนที่ปฏิเสธ ออกมาแล้วคือ ปิติ ตัณฑเกษม (ปิ๊ก) ซึ่งตอนแรกถือว่าเป็นตัวเต็งอันดับ 1 หลายคนอาจจะมองว่าเป็นม้ามืดมาจากไหน และที่สำคัญปิติ ได้เคยเป็นหนึ่งในที่ปรึกษา พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา อดีตนายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ แต่หลังจาก นายทักษิณ ชินวัตร กลับมาประเทศไทย มีการเปิดตัวตามหน้าสื่อและถูกเชิญในวงเสวนาหลายเวที ผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการร่าง Speech คือ ปิติ ตัณฑเกษม ที่ลือกันว่า คุณแม่ได้สนิทสนมกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ หลังบ้านของทักษิณ ชินวัตรและผู้มีบารมีมากที่สุดในพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลชุดนี้ หลังจากนั้นก็มีรายชื่อที่สลับกันเป็นตัวเต็งกันไปมา

เปิด 3 ตัวเต็ง ผู้ว่าแบงก์ชาติ คนที่ 22


1. ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส(โปษยานนท์ ) รองผู้ว่าการธปท. ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ดร.รุ่ง รองผู้ว่าธปท. ดีกรีขึ้นชั้นเหนือคู่แข่งอย่างไม่ต้องสงสัย มีดีเอ็นเอแบงก์ชาติอย่างเต็มตัว จบเอกเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง และเข้ายากแห่งหนึ่งในสหรัฐ และระดับปริญาตรีเศรษฐศาสตร์จาก Harvard ด้วยประสบการณ์ใน ธปท. ยาวนานกว่า 20 ปี ดูแลด้านนโยบายการเงิน สถาบันการเงิน และบริหาร เรียกว่าครบทุกด้านของธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายตลาดการเงิน มีบทบาทในการกำหนด นโยบายเศรษฐกิจการเงิน ทั้งในภาวะปกติ และช่วงวิกฤต และมีผลงานขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่เด่นชัด ขับเคลื่อน นโยบายการเงิน ยุค เศรษฐกิจดิจิทัล การผลักดัน ภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย ให้สอดรับกับ เศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การพัฒนาธนาคารไร้สาขาหรือ Virtual Bank, ระบบ Your Data, และการยกระดับ NaCGA (ระบบค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ) เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อง่ายขึ้น

นอกจากการเติบโตในสายงาน ธปท.ได้อย่างรวดเร็ว ยังผ่านงานสายยุทธศาสตร์ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย มาแล้ว เป็นที่รู้จักจากนักเศรษฐกร และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ และเป็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) นับว่าผ่านงานกำกับดูแลทั้งสถาบันการเงินรัฐละเอกชนมา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธปท.คนปัจจุบันรวมทั้งพนักงาน อีกทั้งบุคคลแวดวงนักธุรกิจ สถาบันการเงินอีกจำนวนมาก เพราะถ้านับจากดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธปท. ผู้หญิงคนแรกที่เป็นลูกหม้อเก่าจากธปท. ก็ยังไม่มีคนในธปท.ได้ขึ้นดำรงแหน่งนี้อีกเลย จึงเป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง

ผู้ว่าคนที่ 22 ทำไมต้องเป็นคนจากแบงก์ชาติ? เป็นช่วงที่รัฐบาลต้องวัดใจและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน หลังจากที่ได้นายสมชัย สัจจพงษ์ นั่งประธานกรรมการ แบงก์ชาติ คงจะปฏิเสธฺไม่ได้ว่าเป็นคนของรัฐบาล เพราะมีการยื้อยุดฉุดกระชากเกิดดราม่า กันระหว่างแบงก์ชาติกับกระทรวงการคลัง ดังนั้นตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติคนที่ 22 นี้ หากรัฐบาลจะให้มีความโปร่งใส สง่างาม และดำรงซึ่งบทบาทของผู้ว่าแบงก์ชาติตาม พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น “ต้องเป็นกลางและความเป็นอิสระ” อีกทั้งความต่อเนื่องของนโยบายที่ต้องการคนเก่ง กล้าตัดสินใจ กล้าพูดและกล้าทำเพื่อประเทศชาติ ครั้งนี้น่าจับตาลูกหม้อหรือตัวแทนจากแบงก์ชาติอย่าง ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส

ดร.รุ่ง นับว่ามีสายเลือดนักเศรษฐศาสตร์ นักบริหารตลาดเงินตลาดทุน โดยตรง เธอเป็นบุตรสาวของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.โกวิทย์ โปษยานนท์ ผ่านงานทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ ตำแหน่งทั้งในราชการ องค์กรอิสระ และ เอกชน โดยล้วนเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งสิ้น เข้ารับราชการเป็นข้าราชการประจำ ของกระทรวงการคลัง และขึ้นดำรงตำแหน่ง อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง, อธิบดีกรมสรรพสามิต , อธิบดีกรมสรรพากร ตามลำดับ หลังจากเกษียณอายุราชการจึงได้เข้ารับดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการบริหารอีกหลายตำแหน่งหลายบริษัทเรียกว่า ดร.รุ่งมีสายเลือดจากกระทรวงการคลังเช่นกัน

2 . ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และอุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

ดร.กอบศักดิ์ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จากวิทยาลัยวิลเลียมส์ในปี 1991 และปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ในปี 1997 จากการได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทำงานที่ธปท.เป็นเวลา 14 ปี จนขึ้นอยู่ระดับผู้บริหารฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน สายนโยบายการเงิน และส่วนเศรษฐกิจมหภาค ถูกยืมตัวไปที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี 2008–2009 ในตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิจัยตลาดทุน ในปี 2010ได้ลาออกจากแบงก์ชาติ เข้าร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพ ด้านธนาคารระหว่างประเทศ และเข้าสู่แวดวงการเมือง จนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดแรกของ พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และอุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นับว่าดีกรีและประสบการณ์นั้นไม่ธรรมดา ผ่านมาครบ นักเรียนทุนแบงก์ชาติ บริหารภาครัฐเอกชน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน รวมทั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในแวดวงการเมืองอีกด้วย นับว่าเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่น่าจับตามมอง

3.ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมธนารักษ์
ดร.เอกนิติ จบปริญญาเอกจากแคลร์มอนต์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากอิลลินอยส์ อธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งพิจารณาจากประสบการณ์และความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่มาแรง ซึ่งเอกนิติ ได้เคยกล่าวกับผู้ส่อข่าวถึงกรณีที่ลงสมัครผู้ว่าธปท.หรือไม่? เอกนิติ ตอบว่าในรอบนี้ยังไม่มีใครทาบทามให้ลงสมัครเลย ดังนั้นจึงต้องจับตาและวัดใจว่าเอกนิติ จะลงสมัครรอบนี้หรือไม่ เพราะอย่างลืมว่า นามสกุล “นิติทัณฑ์ประภาศ” ได้สแลงหูและขางตา สร้างรอยแผลและความเจ็บปวดให้กับ “ทักษิณ ชินวัตร “ สมัยที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติคำวินิจฉัยกลาง 8 ต่อ 7 เสียง ให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดในคดีซุกหุ้น เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 และ นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อยู่ในกลุ่มเสียงข้างน้อยลงความเห็นว่ามีความผิด

หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง ทั้งปฏิวัติรัฐประหาร อยู่หลายปี จนการเลือกตั้งล่าสุดพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล การโหวตแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน “ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ” สมาชิกวุฒิสภาในสมัยนั้น ได้”งดออกเสียง”ในการโหวตรับนายกรัฐมนตรี เป็นการตอกย้ำความเจ็บลึกลงไปอีก จนหลายฝ่ายมองว่าอนาคตของ เอกนิติ คงไปไม่ได้ไกล ไต่บรรไดไปไม่ถึงขั้นสูงสุด”ปลัดกระทรวงการคลงั” ก็ตกลงมาแล้ว จากเดิมที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงแซงหน้าทุกคน ความหวังที่จะขึ้นแท่นปลัดกระทรวงคลังคงยากหากพรรคเพื่อไทยยังคงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เห็นได้จากการลดบทบาทบริหารกรมจากสรรพากร มาเป็น สรรพสามิต และล่าสุดอยู่กรมธนารักษ์ การที่เอกนิติ จะเปลี่ยนเส้นทางการเติบโตมาลงในตำแหน่ง ผ่าการธปท. ก็คงต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจะพิจารณา เพราะดีกรีและประสบการณ์ก็ไม่ได้โดดเด่นไปมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ

4. ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ อดีตผู้บริหารงานธนาคาร และผู้ก่อตั้ง บ.อบาคัส ดิจิทัล

ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์จาก MIT จบปริญาตรีปริญาตรีคณิตศาสตร์ จาก Harvard เริ่มต้นจากทำงานที่สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เคยทำงาน IMF เคยเป็นหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์ความเสี่ยง นั่งแทนผู้บริหารงานธนาคารชั้นนำของไทย และยังเป็นผู้ก่อตั้ง บ.อบาคัส ดิจิทัล ถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่บุกเบิกการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลโดยขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

แต่ด้วยนามสกุล”อมรวิวัฒน์ ”เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลังคนปัจจุบัน เป็นบุตรสาวของพลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จากนามสกุล “อมรวิวัฒน์” ทำให้คนนำไปเชื่อมโยงความเป็นเครือญาติกับคนในพรรครัฐบาล และยังพบส.ส.ในพรรคเพื่อไทยพยายามโปรโมท เพื่อผลักดัน สร้างบทบาท จนเป็นปรากฎการณ์ให้พูดถึงอย่างวงกว้างในขณะนี้ ซึ่งต้องจับตาว่าสุดท้ายแล้วคนที่ใกล้ชิด ที่มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจะเข้ามาคุมบังเหียน “แบงก์ชาติ”ได้หรือไม่

5.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ อดีตรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB)

ประวัติการทำงาน เคยดำรงตำแหน่ง Chief Economist และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และรองคณบดี และรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการชื่อดังที่มีผลงานวิชาการมากมาย

6.ดร.สันติธาร เสถียรไทย ปัจจุบันเป็น Future Economy Advisor สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ประวัติการทำงาน เคยดำรงตำแหน่งประธานทีมเศรษฐกิจ (Group Chief Economist) และกรรมการผู้จัดการของ Sea Group เคยเป็นผู้บริหารสูงสุดของทีมเศรษฐกิจเอเชียที่ธนาคาร Credit Suisse และปัจจุบันเป็นกรรมการ กนง. มีเส้นทางคล้ายกับผู้ว่าฯคนปัจจุบันที่เข้ามาเป็นกรรมการ กนง. ก่อนที่จะมาเป็น ผู้ว่าธปท.


กำลังโหลดความคิดเห็น