นายนิธิ วชิรโกวิทย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการด้านการเงินและบริหารสภาพคล่อง ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมการชำระเงินผ่านช่องทางอิเลคทรอนิคส์ในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค โดยธนาคารเอชเอสบีซีคาดการณ์ว่า การชำระเงินแบบเรียลไทม์ทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 16.7% ระหว่างปี 2566-2571 หรือมีจำนวนการชำระเงินแบบเรียลไทม์ทั่วโลกจะแตะ 575,000 ล้านครั้งในปี 2571 โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความสะดวกและง่ายในการใช้งาน ผ่านเบอร์โทรศัพท์หรือเลขบัตรประชาชน ,ค่าใช้จ่ายน้อยหรือแทบไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริโภค และการรองรับการใช้งานชำระเงินระหว่างประเทศ เช่น การใช้พร้อมเพย์ในการชำระสินค้าในฮ่องกง ที่ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นธนาคารหลักในฮ่องกง
ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในอัตราสูง รวมถึงประเทศไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการเบิกถอนเงินสดผ่านเคาน์เตอร์-ATM ลดลง 12% และยอดการใช้เช็คที่ลดลง 35%ในรอบ 5 ปี ขณะที่ยอดชำระผ่านพร้อมเพย์ ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ 651 รายการต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยโอน 1.5-2 ครั้งต่อวัน เพิ่มขึ้น 4.8 เท่านับจากปี 2562 ที่มียอดธุรกรรม 135 รายการต่อคนต่อปี และยอดโอนต่อครั้งจาก 990 บาทต่อรายการ มาอยู่ที่ 480 บาทต่อรายการ สะท้อนให้เห็นถึงความแพร่หลายที่เพิ่มขึ้นมากของการโอนเงิน๋านช่องทางอิเลคทรอนิกส์ คือมีวงเงินลดลง ความถี่ในการโอนมากขึ้น
ทั้งนี้ เอสเอชบีซีเห็นสอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว และความพร้อมที่จะตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าทั้งธุรกิจ และลูกค้ารายย่อย โดยมองถึงแนวโน้มใน 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.ความเป็น Global International Bank ที่เครือข่ายเชื่อมโยงถึง 58 ประเทศทั่วโลก-ให้บริการการชำระเงินแบบเรียลไทม์ครอบคลุม 16 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่อำนวยความสะดวกทั้งในเรื่องของการลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินให้กับธุรกิจ รวมถึงการรับ-ส่งข้อมูล Realtime ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องและต้นทุนได้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น และการชำระเงินระหว่างพรมแดนที่จะมีปริมาณมากขึ้น
ขณะที่ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นธนาคารที่ผู้นำด้านการชำระเงินอันดับ 1 ของโลก โดยมีการทำธุรกรรมด้านการชำระเงินต่อปีถึง 4,500 ล้านครั้ง คิดเป็นมูลค่ากว่า 600 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ มี HSBC Global Payments Solutions หรือฝ่ายจัดการด้านการเงินและบริหารสภาพคล่อง มีจุดเด่นใน 3 ด้านได้แก่ การให้บริการทั้งฝั่งขารับและฝั่งขาจ่ายได้ในธนาคารเดียวเพื่อบริหารจัดการกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง Real time payment หรือการให้บริการการชำระเงินแบบเรียลไทม์ และ API ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเพื่อจะช่วยให้การชำระเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มเอสเอชบีซีทั่วโลกมีแผนงานการลงทุนด้านระบบไอทีจำนวนรวม 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯใน 5 ปีซึ่งจะสิ้นสุดแผนในปลายปีนี้ โดยให้ความสำคัญใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.ความเพียงพอในการรองรับธุรกรรม (Capacity) 2.มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า และ 3.ความปลอดภัยและการป้องกันการทุจริต โดยในระยะข้างหน้า
โดยภาคธุรกิจที่ธนาคารเห็นการเติบโตของการใช้การชำระเงินผ่านข่องทางดิจิทัล ได้แก่ ธุรกิจในเศรษฐกิจใหม่(New Economy) และเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เช่น อีคอมเมิร์ซ, Last-mile delivery (ธุรกิจการจัดส่งขั้นสุดท้ายก่อนที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า) และธุรกิจจัดส่งอาหาร เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ต้องการการชำระเงินแบบเรียลไทม์ทั้งการรับและการจ่ายเงิน รวมถึง ธุรกิจประกันก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความต้องการการชำระเงินแบบเรียลไทม์สูง เพื่อใช้ในการรับและจ่ายค่าเบี้ยประกัน และยงังเห็นโอกาสในธุรกิจทีเกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนและ supply chain ที่เกี่ยวข้อง อีกด้วย