xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดผล Reciprocal Tariff -เสี่ยงฉุด GDP วูบ 1.0% -ลุ้นผลการเจรจาสหรัฐฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินจากกรณีในวันที่ 2 เม.ย. 2568 สหรัฐฯ ประกาศปรับเพิ่มภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับทุกชาติ รวมถึงประเทศไทยที่โดนภาษีในอัตรา 37% (ขยับจากเดิม 36%) มากกว่าที่คาดไว้ที่อัตรา 10% อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่คู่ค้าอื่นๆ ถูกปรับขึ้นภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ในอัตราที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 นั้น ผลกระทบต่อการค้าของไทย (ยังไม่ได้รวมผลจากการเจรจา) ส่งออกไทยปี 2568 มีแนวโน้มหดตัวลงมาอยู่ที่ -0.5% จากประมาณการเดิมที่ 2.5%

สำหรับผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย: การลงทุนเอกชนจะมีความล่าช้าออกไป และการบริโภคครัวเรือนได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

*คาดกดจีดีหด%-กดดันกนง.ลดดบ.เร็วขึ้น**
และในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบในเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย และคาดว่าขนาดผลกระทบดังกล่าวอยู่ที่ 1.0% ของ GDP ส่งผลให้ GDP ปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวลดลงจาก 2.4% มาอยู่ที่ 1.4% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ขณะที่นโยบายการเงินการคลังอาจจะต้องผ่อนคลายมากกว่าที่ประเมิน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับลดเร็วขึ้นในเดือนเม.ย. และปรับลดเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยอีก 1 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 รวมถึงมาตรการการคลังที่จะออกมาเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว ท่ามกลางข้อจำกัดพื้นที่การคลังที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ภาครัฐควรเร่งสร้างความชัดเจนทั้งข้อเสนอการเจรจาผ่อนปรนเงื่อนไขทางการค้ากับสหรัฐฯ รวมถึงกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ตลอดจนการประเมินผลกระทบและแนวทางเยียวยาภายใต้กรณีต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนและความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจและครัวเรือน
กำลังโหลดความคิดเห็น