xs
xsm
sm
md
lg

Krungthai GLOBAL MARKETS เผยค่าบาทเปิดที่ 33.91 แกว่งตัว Sideways รอผลประชุม BOJ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (24 ม.ค.) ที่ระดับ 33.99 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันที่ผ่านมา และมองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.80-34.15 บาท/ดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways (แกว่งตัวในกรอบ 33.92-34.06 บาทต่อดอลลาร์) โดยเงินบาทมีจังหวะแข็งค่าขึ้นเข้าใกล้โซน 33.90 บาทต่อดอลลาร์ ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยิลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาเรียกร้องให้บรรดาธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในการกล่าวสุนทรพจน์ในงาน World Economic Forum ซึ่งแม้อาจจะไม่ได้มีการกล่าวถึงเฟดโดยตรง แต่อาจสะท้อนว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงต้องการให้เฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ย เหมือนที่เคยกดดันเฟดในช่วงรัฐบาล Trump 1.0 โดยสุนทรพจน์ดังกล่าวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ที่ออกมาแย่กว่าคาด ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เป็น 62%

นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ (XAUUSD) ตามจังหวะการปรับตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยิลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทยังคงไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลุดโซน 33.90 บาทต่อดอลลาร์ หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างรอทยอยเพิ่มสถานะ Long USD ในจังหวะเงินดอลลาร์ย่อตัวลง เพื่อรับมือความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 อีกทั้งผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ก่อนรับรู้ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันนี้ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เงินเยนญี่ปุ่นพลิกกลับมาอ่อนค่าลงเหนือโซน 156 เยนต่อดอลลาร์อีกครั้ง

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดและบรรดานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า BOJ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมกราคมนี้ 25bps สู่ระดับ 0.50% (เรามองว่า BOJ อาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% แต่ส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า BOJ อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนมกราคมของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งจะเริ่มทยอยรับรู้จากข้อมูลฝั่งญี่ปุ่น ยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากผลการประชุม BOJ รวมถึงรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 อย่างใกล้ชิด พร้อมรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้น หรืออย่างน้อยอาจแกว่งตัวในกรอบ Sideways เมื่อประเมินตามกลยุทธ์ Trend Following ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาอ่อนค่าลงชัดเจนเหนือโซน 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์

ส่วนในช่วงระหว่างวันนี้ เรามองว่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในลักษณะ Sideways ในช่วงก่อนตลาดรับรู้ผลการประชุม BOJ และถ้อยแถลงของผู้ว่าฯ BOJ โดยเงินบาทเสี่ยงผันผวนสูงขึ้น ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ

โดยเรามองว่า หากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด หรือขึ้นดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ตามที่ตลาดกำลังคาดหวังอยู่ อาจกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) กลับมาอ่อนค่าลงทดสอบโซน 158 เยนต่อดอลลาร์ได้อีกครั้ง และในกรณีดังกล่าว สัญญาณจากกลยุทธ์ Trend-Following จะสะท้อนว่า เงินเยนญี่ปุ่นเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้

ทว่า หาก BOJ ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด อีกทั้งยังส่งสัญญาณชัดเจนพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ อาจช่วยหนุนเงินเยนญี่ปุ่นได้ ซึ่งต้องจับตาว่า เงินเยนญี่ปุ่นจะสามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับ 155 เยนต่อดอลลาร์ แถวเส้นค่าเฉลี่ย EMA-50 วัน ได้หรือไม่ เพราะการแข็งค่าดังกล่าวอาจเปิดโอกาสให้เงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นต่อทดสอบโซนแนวรับ EMA-200 วัน หรือแถว 152-153 เยนต่อดอลลาร์

การเคลื่อนไหวผันผวนของเงินเยนญี่ปุ่นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อทิศทางของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมเงินเยนญี่ปุ่น (JPYTHB) ซึ่งจะส่งผลต่อเงินบาทได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เรามองว่าผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะในส่วนของดัชนี PMI ฝั่งสหรัฐฯ ที่จะทยอยรับรู้ในช่วง 21.45 น. ตามเวลาประเทศไทย เนื่องจากรายงานดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดได้

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดและบรรดานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า BOJ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมกราคมนี้ 25bps สู่ระดับ 0.50% (เรามองว่า BOJ อาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% แต่ส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า BOJ อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนมกราคม ของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งจะเริ่มทยอยรับรู้จากข้อมูลฝั่งญี่ปุ่น ยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากผลการประชุม BOJ รวมถึงรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 อย่างใกล้ชิด พร้อมรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้น หรืออย่างน้อยก็อาจแกว่งตัวในกรอบ Sideways เมื่อประเมินตามกลยุทธ์ Trend Following ตราบใดที่เงินบาทไม่ได้กลับมาอ่อนค่าลงชัดเจน เหนือโซน 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์

ส่วนในช่วงระหว่างวันนี้ เรามองว่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในลักษณะ Sideways ในช่วงก่อนตลาดรับรู้ผลการประชุม BOJ และถ้อยแถลงของผู้ว่าฯ BOJ โดยเงินบาทเสี่ยงผันผวนสูงขึ้น ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ

โดยเรามองว่า หากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด หรือขึ้นดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ตามที่ตลาดกำลังคาดหวังอยู่ อาจกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) กลับมาอ่อนค่าลงทดสอบโซน 158 เยนต่อดอลลาร์ได้อีกครั้ง และในกรณีดังกล่าว สัญญาณจากกลยุทธ์ Trend-Following จะสะท้อนว่า เงินเยนญี่ปุ่นเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้

ทว่า หาก BOJ ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด อีกทั้งยังส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็อาจช่วยหนุนเงินเยนญี่ปุ่น ได้ ซึ่งต้องจับตาว่า เงินเยนญี่ปุ่นจะสามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับ 155 เยนต่อดอลลาร์ แถวเส้นค่าเฉลี่ย EMA-50 วัน ได้หรือไม่ เพราะการแข็งค่าดังกล่าว อาจเปิดโอกาสให้เงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นต่อ ทดสอบโซนแนวรับ EMA-200 วัน หรือแถว 152-153 เยนต่อดอลลาร์

การเคลื่อนไหวผันผวนของเงินเยนญี่ปุ่นดังกล่าว ก็จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมเงินเยนญี่ปุ่น (JPYTHB) ซึ่งจะส่งผลต่อเงินบาทได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะในส่วนของดัชนี PMI ฝั่งสหรัฐฯ ที่จะทยอยรับรู้ในช่วง 21.45 น. ตามเวลาประเทศไทย เนื่องจากรายงานดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดได้
กำลังโหลดความคิดเห็น