องค์กรใหญ่เร่งสะสมบิทคอยน์! นักวิเคราะห์ชี้กระแส FOMO อาจผลักดันการนำ BTC มาใช้ระลอกใหม่ในปี 2568
นักลงทุนและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งเริ่มมองบิทคอยน์ (BTC) เป็นสินทรัพย์สำรองที่มีคุณค่าในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้น
นักวิเคราะห์นามแฝง Medivh คาดการณ์ว่า การนำบิทคอยน์มาใช้ในองค์กรจะขยายตัวในปี 2568 จากกระแส "FOMO" ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
องค์กรคลื่นลูกใหม่ปรับกลยุทธ์ธุรกิจนำบิทคอยน์มาใช้
ในขณะที่ BTC พยายามรักษาระดับ 100,000 ดอลลาร์ บริษัทอย่าง KULR Technology Group ได้ประกาศซื้อบิทคอยน์มูลค่า 21 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 6 มกราคม 2568 ซึ่งถือเป็นการซื้อครั้งที่สองในระยะเวลาเพียงสองสัปดาห์ ทำให้ยอดสะสมของบริษัทอยู่ที่ 430 BTC ขณะที่บริษัทอื่น เช่น Acurx Pharmaceuticals (ACXP), Hoth Therapeutics (HOTH), SOS Limited (SOS) และ LQR House (YHC) ก็อนุมัติแผนการลงทุนใน Bitcoin เพื่อเป็นสินทรัพย์สำรองและยอมรับการชำระเงินด้วยคริปโต
FOMO จุดกระแสผลักดันกลยุทธ์
ตั้งแต่ MicroStrategy ใช้ BTC เป็นสินทรัพย์สำรองในปี 2563 บริษัทอื่นๆ เช่น Metaplanet และ MARA Holdings ก็เดินรอยตาม และพบว่ามูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ แต่สำหรับบางบริษัทเช่น Acurx และ SOS ที่ราคาหุ้นลดลง ซึ่งความสำเร็จไม่ได้มาจากการถือบิทคอยน์เพียงอย่างเดียว ทว่าการใช้ BTC เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญ
เหตุผลเบื้องหลังการนำบิทคอยน์มาใช้
Michael Mo ซีอีโอของ KULR Technology อธิบายว่าบิทคอยน์มีศักยภาพในการปกป้ององค์กรจากปัจจัยเสี่ยง เช่น ภาวะเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนทางการเมือง เขายังชี้ว่า BTC เป็นตัวเลือกสำคัญในช่วงเศรษฐกิจโลกตกต่ำ โดยเฉพาะในปี 2568 ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจกระทบการลงทุนในวงกว้าง
BTC กับความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์
นอกจากประโยชน์ในแง่การเงินบิทคอยน์ยังตอบโจทย์ในมิติการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยเฉพาะกรณีรัสเซียที่ใช้คริปโตเพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์เตือนว่า การตัดสินใจลงทุนในบิทคอยน์ในระดับองค์กรใหญ่ อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของตลาดการเงินในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะที่กระแส FOMO ยังเป็นตัวเร่งสำคัญสำหรับการเติบโตของ BTC ในฐานะสินทรัพย์ทางเลือกที่แข็งแกร่งในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่