xs
xsm
sm
md
lg

ครม.มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569-2572)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อานวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569-2572) (แผนการคลังระยะปานกลาง) เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของรัฐ รวมทั้งแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ตามความที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง) ที่กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐมีหน้าที่จัดทำแผนการคลังระยะปานกลางให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง

สาหรับเป้าหมายของแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้ รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในระยะปานกลาง เพื่อฟื้นฟูสภาพทางการคลังให้กลับสู่สภาวะที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต ภายใต้แนวคิด Restoring โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการคลังที่สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง เพื่อลดระดับ งการขาดดุลให้กลับสู่ระดับปกติ (Fiscal Consolidation) โดยการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้อย่างเหมาะสมผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการจัดเก็บรายได้ การขยายฐานภาษี ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายอย่างคุ้มค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ควบคู่ไปกับการให้ความสาคัญกับการเพิ่มรายจ่ายลงทุน เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงการพิจารณาลำดับความสำคัญที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ตลอดจนการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างยั่งยืนในเชิงรุกและการรักษาวินัยในการชาระหนี้ รวมทั้งคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดขนาดการขาดดุลและควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเพิ่มพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) สาหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านต่างๆ ของประเทศ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ เป้าหมายการคลังในระยะยาว รัฐบาลจะมุ่งสู่การดำเนินนโยบายการคลังอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการได้ ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศเข้าสู่จุดดุลยภาพ (Fiscal Equilibrium) ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาวได้ โดยไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการคลัง รวมถึงเสริมสร้างความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อตอบสนอง ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น เหมาะสม และทันการณ์

สานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร.0-2273-9020 ต่อ 3563
NN
ปีงบประมาณ
2568
2568
2569
2569
2570
2570
2571
2571
25
25722
รายได้((ล้านบาท))
2,887,000
2,920,600
3,096,400
3,244,100
3,389,700
รายจ่าย ((ล้านบาท))
3,752,700
3,780,600
3,855,000
3,966,000
4,093,000
ดุลการคลัง((ล้านบาท))
(865,700)
(860,000)
(758,600)
(721,900)
(703,300)
ดุลการคลังต่อ GDP (GDP (ร้อยละ))
(4.5)
(4.3)
(3.6)
(3.3)
(3.1)
หนี้สาธารณะ ((ล้านบาท)
12,605,834
13,461,963
14,242,312
14,983,098
15,642,927
หนี้สาธารณะต่อ GDPGDP((ร้อยละ)
65.6
67.3
68.5
69.2
69.3แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 25699-25722)
ดาเนินการตาม พ.ร..บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ... 2561
(MMEDIUMEDIUM--TTERMERMFFISCALISCALFFRAMEWORKRAMEWORK: : MTFFMTFF)
ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 25672567
?
?ใช้ประกอบการวางแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
?
?ใช้เป็นแผนแม่บทหลักสาหรับการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของรัฐ
การดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลางจะยึดหลักเป้าหมายการคลัง ปรับลดขนาดการขาดดุลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


กำลังโหลดความคิดเห็น