ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของการหลอกลวงทางการเงิน โดย Autorité des Marchés Financiers (AMF) รายงานว่าการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียทางการเงินประมาณ 500 ล้านยูโรต่อปี
เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเปิิดเผยว่า กำลังเพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการหลอกลวงเหล่านี้ร่วมกับสำนักงานอัยการกรุงปารีส, Autorité de Contrôle Prudentiel et de Résolution (ACPR) และ Direction Générale de la Concurrence, de la Consommation et de la Répression des Fraudes (DGCCRF)
แม้ว่าจำนวนข้อร้องเรียนที่รายงานจะลดลง แต่ AMF ระบุว่าขนาดของการฉ้อโกงโดยรวมยังคงมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการหลอกลวงที่ขับเคลื่อนโดยโซเชียลมีเดีย, อินฟลูเอนเซอร์ และการขโมยข้อมูลประจำตัวยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฉ้อโกงใช้วิดีโอ deepfake, บทความข่าวปลอม และการแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐบาลเพื่อหลอกลวงประชาชน
การสืบสวนข้อมูลเชิงลึกของ AMF
การหลอกลวงทางการเงินในฝรั่งเศสได้ขยายออกไปนอกเหนือจากแผนการฉ้อโกงแบบดั้งเดิม โดยมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในสินทรัพย์คริปโตมากขึ้น ขณะที่สำนักงานอัยการกรุงปารีสประมาณการว่ามีการสูญเสียประมาณ 500 ล้านยูโรต่อปีจากการหลอกลวงเหล่านี้ โดยพบว่าการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2566 ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสูญเสียเหล่านี้
AMF รายงานว่าเหยื่อของการหลอกลวงทางการเงินสูญเสียเงินเฉลี่ย 29,000 ยูโรภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยบัญชีออมทรัพย์มีความเสียหายเฉลี่ยสูงถึง 69,000 ยูโร โดยการสำรวจในเดือนกันยายน 2567 โดย BVA Xsight ที่ดำเนินการให้กับ AMF พบว่า 3.2% ของผู้ใหญ่ชาวฝรั่งเศสตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงการลงทุนทางการเงิน ซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าจากปี 2564 ขณะที่ข้อมูลระบุว่ากลุ่มผู้ที่เป็นเหยื่อเป้าหมาย จะเป็นเพศชาย ช่วงอายุต่ำกว่า 35 ปีที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษโดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ถูกขับเคลื่อนด้วยการหลอกล่อด้วยความโลภ จากความมั่งคั่งในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างรวดเร็วและความมั่นใจที่ผิดพลาดในการลงทุนของตนเอง ผู้ฉ้อโกงใช้ประโยชน์จากกลุ่มเป้าหมายนี้ โดยใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและสัญญาผลตอบแทนที่ไม่สมจริง
แนวโน้มที่น่ากังวลอย่างหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของการหลอกลวงการขโมยข้อมูลประจำตัว ผู้ฉ้อโกงแอบอ้างเป็นสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย, AMF และแม้แต่หน่วยงานรัฐบาล บางครั้งพวกเขาใช้วิดีโอ deepfake ที่สร้างโดย AI และบทความข่าวปลอมที่มีคนดังรับรองแพลตฟอร์มคริปโตที่ฉ้อโกง ผู้ฉ้อโกงยังพัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนเพื่อกดดันเหยื่อ รวมถึงที่ปรึกษาปลอมที่อ้างว่าป้องกันการฉ้อโกงแต่กลับอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาต
ทั้งนี้ปรากฏการณ์ของ "เล่ห์เหลี่ยมการฉ้อโกง" ซึ่งเหยื่อของการหลอกลวงที่ถูกผู้ฉ้อโกงที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เสนอให้กู้คืนเงินที่สูญหายก็กลายเป็นเรื่องปกติ เหยื่อถูกขอให้จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ภายใต้ข้ออ้างของค่าธรรมเนียมทางกฎหมายหรือค่าธรรมเนียมการบริหาร ซึ่งทำให้การสูญเสียของพวกเขาเพิ่มขึ้น
การยกระดับกฎระเบียบ เสริมภูมิต้านทานความเสี่ยงให้กับประชาชน
เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสได้ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอย่างจริงจัง เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของการหลอกลวงทางการเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 โดย AMF และ ACPR ได้ขึ้นบัญชีดำแพลตฟอร์มการลงทุนและผู้เข้าร่วมตลาดที่ไม่ได้รับอนุญาตเกือบ 5,000 ราย นอกจากนี้ พวกเขายังทำงานเพื่อบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ฉ้อโกง 350 แห่ง
ความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ ส่วน J2 ของสำนักงานอัยการกรุงปารีสได้ยึดทรัพย์สินทางอาญามูลค่ากว่า 645 ล้านยูโรตั้งแต่ปี 2563 รวมถึง 268 ล้านยูโรในปี 2567 เพียงปีเดียว
แคมเปญการรับรู้ของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญต่อกลยุทธ์ของ AMF ในการป้องกันการหลอกลวง ในปี 2567 โดย AMF และ DGCCRF ได้เปิดตัวการริเริ่มหลายอย่างที่มุ่งเป้าไปที่นักลงทุนรุ่นใหม่ผ่านโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยังมุ่งเป้าไปที่อินฟลูเอนเซอร์ที่โปรโมตแพลตฟอร์มการลงทุนที่ไม่ได้รับอนุญาตมากขึ้น ซึ่ง DGCCRF ได้ตรวจสอบผู้ดำเนินการ 30 รายในปี 2567 และออกคำสั่งหยุดและยุติการดำเนินการให้กับอินฟลูเอนเซอร์ 10 รายที่โปรโมตบริการฉ้อโกง แปดรายปฏิบัติตามทันที ขณะที่กระบวนการทางกฎหมายยังคงดำเนินต่อไปกับอีกสองราย
AMF แนะนำให้ประชาชนระมัดระวังและหลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง และผลตอบแทนสูงในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งคำแนะนำทั้งหมด ประชาชนสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของ AMF