xs
xsm
sm
md
lg

อินเดียเร่งผลักดันกรอบการกำกับดูแลคริปโตระหว่างประเทศ รับนโยบายกลุ่มประเทศ BRICS

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อินเดียกำลังผลักดันความร่วมมือระดับโลก เพื่อกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล โดยยอมรับความท้าทายที่เกิดจากการขาดกรอบเวลาที่ชัดเจนสำหรับกฎระเบียบที่ครอบคลุม โดยการขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายความร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างประเทศกลุ่ม BRICS

จากการเปิดเผยของ cryptonews ระบุว่า อินเดียเดินหน้าจุดยืนต่อกฎระเบียบด้านสกุลเงินดิจิทัลซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความพยายามในการรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรม การคุ้มครองนักลงทุน และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

โดยในแถลงการณ์ล่าสุด ลก สัทธา รัฐบาลยอมรับถึงความท้าทายในการควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลเสมือน (VDA) แม้ขาดความร่วมมือระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีการเก็บภาษีจากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลและมาตรการต่อต้านการฟอกเงินแล้ว แต่การขาดกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมและการพัฒนาเชิงรุกยังคงเป็นปัญหา เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะไร้พรมแดน และอินเดียยังมีข้อจำกัดอื่นๆหลายด้าน

อย่างไรก็ดีแม้จะยังไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการนำแนวทางดังกล่าวมาใช้อินเดียได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลกเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและโอกาสในภาคส่วนคริปโตนี้

แนวทางของรัฐบาลอินเดียต่อ VDA อาศัยกฎหมายและนโยบายที่มีอยู่หลายฉบับ

ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ธุรกรรม VDA อยู่ภายใต้ขอบเขตของพระราชบัญญัติป้องกันการฟอกเงิน (PMLA) ซึ่งทำให้หน่วยงานสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาและการเคลื่อนย้ายของเงินที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลได้

นอกจากนี้ รายได้จาก VDA ยังต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2504

ขณะที่กรอบกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติบริษัท พ.ศ. 2556 ควบคุมด้านต่างๆ ของระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการเหล่านี้จะจำเป็น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ VDA ก่อขึ้นได้

ทั้งนี้รัฐบาลยอมรับว่าสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอยู่นอกเหนือขอบเขตประเทศ ทำให้ยากต่อการควบคุมผ่านกรอบการทำงานในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่งผลให้อินเดียเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับโลกเพื่อป้องกันการตัดสินใจด้านกฎระเบียบที่ก่อให้เกิดการเก็งกำไร ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของกฎเกณฑ์ในเขตอำนาจศาลต่างๆ

ขณะที่ในช่วงที่อินเดียเป็นประธาน G20 ในปี 2566 อินเดียมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการอภิปรายเรื่องคริปโตในระดับโลก ซึ่งการนำเสนอเอกสารแผนงาน IMF-FSB และแผนงาน G20 ว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ แสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนของการดำเนินการระหว่างประเทศที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสอดประสานตามแนวทางความร่วมมือของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ หรือ กลุ่มประเทศ BRICS อันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เป็นกลุ่มประเทศที่ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ทางการพัฒนาเพื่อลดการกดดันจากสหรัฐและประเทศกลุ่ม EU

ความคิดริเริ่มเหล่านี้ได้วางรากฐานสำหรับกฎระเบียบที่คำนึงถึงความเสี่ยง โดยเร่งรัดให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจเกิดใหม่ ปรับนโยบายของตนให้สอดคล้องกัน และพัฒนามาตรการป้องกันความไม่มั่นคงทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ยอมรับว่ายังไม่พร้อมที่จะกำหนดกรอบเวลาสำหรับกรอบการกำกับดูแลภายในประเทศที่ครอบคลุม

ความท้าทายในการพัฒนาภาคส่วนคริปโต

แม้ว่าอินเดียจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ทั่วโลก แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคส่วนนี้ได้เผยให้เห็นจุดอ่อนที่สำคัญ โดยความกังวลเร่งด่วนประการหนึ่งคือการคุ้มครองนักลงทุน ลักษณะข้ามพรมแดนของ VDA จำกัดประสิทธิภาพของการป้องกันในประเทศเพียงอย่างเดียว ทำให้นักลงทุนเสี่ยงต่อการฉ้อโกงและความเสี่ยงอื่นๆ

การตอบสนองของรัฐบาลต่อความท้าทายดังกล่าวใน 2 ประการ

1.รัฐบาลพยายามที่จะทำให้นวัตกรรมในพื้นที่ของสกุลเงินดิจิทัลไม่ถูกปิดกั้น

2.รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้องนักลงทุนโดยไม่ทำลายเสถียรภาพทางการเงิน

วัตถุประสงค์ทั้งสองนี้ไม่สามารถประสานกันได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงและคาดเดายากเช่นสกุลเงินดิจิทัล ขณะเดียวกัน การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางของอินเดียต่อ VDA