xs
xsm
sm
md
lg

ผลการวิเคราะห์ช่วง 25 ปี เผยความสามารถในการฟื้นตัวของหุ้นนอกตลาด แม้จะเผชิญวิกฤตการณ์ใหญ่หลายครั้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



งานวิจัยชิ้นใหม่จากชโรเดอร์ส แคปปิตอล แสดงให้เห็นว่า หุ้นนอกตลาด (private equity) สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา นิลส์ โรด ประธานเจ้าหน้าที่สารสนเทศ (CIO) ของชโรเดอร์ส แคปปิตอล เปิดเผยถึงเหตุผลเบื้องหลังการฟื้นตัวได้ดีและถอดบทเรียนสำหรับการจัดสรรการลงทุนในหุ้นนอกตลาดในอนาคต

หุ้นนอกตลาดมักสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเกิดภาวะวิกฤตของตลาดทุนครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา โดยมอบผลตอบแทนที่ดีกว่าถึง 2 เท่าในช่วงที่เกิดวิกฤตต่างๆ เช่น การล่มสลายของตลาดดอตคอม วิกฤตการเงินโลก วิกฤตยูโรโซน การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงเมื่อไม่นานนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจ การวิจัยพบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนดังต่อไปนี้

- หุ้นนอกตลาดทั่วโลกสร้างผลกำไรได้มากกว่าดัชนีรวม MSCI ACWI ในทุกครั้งที่เกิดวิกฤตรุนแรง โดยมีผลตอบแทนเกินกว่าดัชนีเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 8%

- เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรกับดัชนีผลตอบแทนรวมในตลาด S&P 500 แล้ว พบว่าหุ้นนอกตลาดทั่วโลกยังคงทำผลงานได้ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงวิกฤตทั้ง 5 ครั้งที่กล่าวมา โดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 4%

- ผลขาดทุนสูงสุดรายไตรมาส (Maximum Quarterly Drawdown) ตลอดระยะเวลาห้าช่วงวิกฤตที่กล่าวมาเฉลี่ยอยู่ที่ -18% เมื่อเทียบกับการลดลงของมูลค่าดัชนีรวม MSCI ACWI ซึ่งอยู่ที่ -31%

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของหุ้นนอกตลาดถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยเชิงโครงสร้าง ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงกับภาคส่วนนั้นๆ

ในสภาพแวดล้อมการออกจากการลงทุนในปัจจุบัน การกระจายผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นสิ่งที่บรรดานักลงทุนนิติบุคคล (LP) ให้ความสนใจมาก การกระจายผลตอบแทนจากการลงทุนในปัจจุบันอยู่ที่เกือบ 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยในระยะยาว เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตการล่มสลายของดอตคอมและวิกฤตการเงินโลกที่ผลตอบแทนอยู่ที่เพียง 5%

ความปั่นป่วนของตลาดที่เกิดเป็นวงกว้างขึ้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความท้าทายสำหรับนักลงทุนและธุรกิจ ในขณะที่หุ้นนอกตลาดยังคงสามารถทำผลกำไรได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งแบบที่เทียบกับผลกำไรขาดทุนจริง (absolute return) กับแบบที่เทียบกับดัชนีของตลาด (relative return)

หากต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โปรดดูรายงานความสามารถในการฟื้นตัวของหุ้นนอกตลาดฉบับเต็ม


กำลังโหลดความคิดเห็น