xs
xsm
sm
md
lg

Funding Societies รับวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 จาก HSBC

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





Funding Societies รับวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 จาก HSBC เพื่อขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ MSME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้อยู่ภายใต้กองทุน “ASEAN Growth Fund” ของ HSBC ซึ่งเป็นเม็ดเงินรวมกว่า 3.4 พันล้านบาท ตั้งแต่การเริ่มเป็นพันธมิตรกับ Funding Societies เมื่อปี พ.ศ.2565


นายเคลวิน เตียว ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม Funding Societies กล่าวว่าunding Societies | Modalku (Funding Societies) แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็ก (MSME) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศการลงนามวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 กับธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ภายใต้กองทุน “อาเซียน โกรท ฟันด์ (ASEAN Growth Fund)” อันเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในอาเซียน โดยธุรกรรมนี้มีมูลค่ารวมกว่า 3.4 พันล้านบาท (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งประกอบด้วยวงเงินสินเชื่อประจำปีสองรายการที่เคยมอบให้ Funding Societies ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของธนาคารเอชเอสบีซี ในการสนับสนุน MSME ผ่านแพลตฟอร์มการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ.2565

ธุรกรรมนี้เป็นหนึ่งในวงเงินสินเชื่อที่ค้ำประกันด้วยทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุดของธนาคารเอชเอสบีซี ซึ่งมอบให้ผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับธุรกิจ SME บนแพลตฟอร์มดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสนับสนุนนี้จะช่วยให้ Funding Societies สามารถขยายบริการสินเชื่อไปยัง MSME ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากธนาคารระดับโลกอย่างธนาคารเอชเอสบีซี เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรวมถึง Funding Societies และในสถานการณ์ที่ MSME ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยสูงในรอบสองทศวรรษ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก การสนับสนุนในครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถสำรวจแนวทางการจัดหาเงินทุนเพื่อสร้างการเติบโต และเสริมสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับ MSME ในภูมิภาคนี้ ซึ่งยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในหลากหลายมิติ”

ภายใต้กลยุทธ์กองทุนการเติบโตในอาเซียน ธุรกรรมนี้เน้นแนวทาง Scalable solution ซึ่งจะช่วยให้ Funding Societies ที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ SME แบบดิจิทัล สามารถระดมทุนเพิ่มเติมทั้งในรูปแบบของทุนและการกู้ยืมผ่านช่องทางที่หลากหลาย นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะทำหน้าที่เป็นธนาคารที่จัดโครงสร้าง ผู้ให้กู้ ธนาคารบัญชี คู่สัญญาด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตัวแทนการเงิน และผู้ดูแล ในการจัดหาโซลูชันทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจของ Funding Societies ในภูมิภาคนี้

“ในส่วนของประเทศไทย Funding Societies มองเห็นโอกาสสำคัญในการตอบสนองความต้องการด้านการเงินของธุรกิจ SME เรามุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานในตลาดไทย โดยมีเป้าหมายการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อที่ 30% ภายในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสนับสนุน SME ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำเป็นเพื่อการขยายตัวและการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน” นายเคลวิน กล่าวเสริม

นายฮาริช เวนกาตีเซน หัวหน้ากลุ่มลูกค้าองค์กรและธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี สิงคโปร์ กล่าวว่า “ในฐานะที่ Funding Societies เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับ MSME ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 ซึ่งรวมเป็นเม็ดเงินสินเชื่อสะสมแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่า 3.4 พันล้านบาท) สินเชื่อนี้จะช่วยสนับสนุนการจัดหาเงินทุนแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสังคมในภูมิภาคอาเซียน เราหวังว่าจะสามารถสนับสนุน Funding Societies ต่อไปในขณะที่พวกเขาขยายธุรกิจ และช่วยเหลือ MSME ในภูมิภาคนี้ผ่านกองทุนการเติบโตในอาเซียนของธนาคารเอชเอสบีซี”

“กองทุนอาเซียน โกรท ฟันด์ (ASEAN Growth Fund) อันเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในอาเซียน ของธนาคารเอชเอสบีซีเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2567 เพื่อช่วยให้ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ ซึ่งสนับสนุนอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค สามารถขยายขนาดธุรกิจในตลาดต่างประเทศ สร้างความเติบโตในพอร์ตสินทรัพย์ และพัฒนาตามช่วงอายุการเติบโตขององค์กร นอกจากนี้ ร่วมกับกองทุนสำหรับธุรกิจในภาคเศรษฐกิจใหม่และหนี้จากการร่วมลงทุน ( New Economy and Venture Debt Fund) โดย ธนาคารเอชเอสบีซี สิงคโปร์ยังมีโซลูชันการเงินที่หลากหลายสำหรับธุรกิจในภาคเศรษฐกิจใหม่ในทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ”

การประกาศนี้มีขึ้นหลังจากการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ล่าสุด ใน Funding Societies โดยได้รับการสนับสนุนจาก Maybank ในเดือนกันยายน

ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2558 Funding Societies ได้ให้เงินทุนสนับสนุนธุรกิจมากกว่า 140,000 ล้านบาท (4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจมากกว่า 100,000 แห่ง ในประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการชำระเงินที่มีมูลค่ารวม (GTV) เป็นประจำปีถึง 48.8 พันล้านบาท (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ตลาดการชำระเงินในปลายปี 2565

*ในประเทศไทย Funding Societies ดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนที่ต่างกันคือ FS Siam Co., Ltd. ได้รับความเห็นชอบการระดมทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ FS Capital Co., Ltd. เชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมโดยตรงแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โครงสร้างนี้ช่วยให้ Funding Societies สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินที่หลากหลายภายในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพวน 86.29% และ 75.36% ส่วนโครงการแนวราบคิดเป็นสัดส่วน 13.71% และ 24.64% ของรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และสินค้า ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 ปี 2567 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยเผชิญกับความท้าทายหลายปัจจัย เช่น มาตรการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่จำกัดการเข้าถึงของผู้บริโภค หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่ม ทำให้ต้นทุนอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นและการแข่งขันในตลาดเข้มข้นขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวก เช่น การลดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนสำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ความต้องการบ้านระดับลักชัวรี และตลาดเช่าที่ฟื้นตัวจากการกลับมาของชาวต่างชาติได้ช่วยกระตุ้นตลาด

"บริษัทมีการปรับกลยุทธ์ด้วยการพัฒนาโครงการ Branded Residence เพิ่มโครงการแบบ Mixed Use เช่น โครงการ LANDMARK AT MRTA STATION ซึ่งมีกระแสตอบรับที่ดีมียอดจองและยอดรอโอนจำนวนมาก พร้อมทั้งขยายโครงการแนวราบสู่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย รวมถึงการเจาะกลุ่มนักลงทุนในตลาดเช่า ซึ่งคาดว่าจะเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในระยะต่อไป เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตของผลงานอย่างมั่นคงและยั่งยืน"

พร้อมกันนี้ บริษัทมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบ พัฒนาเทคนิคการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงานในการผลิต เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าและสุขภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน ที่ทำให้เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อาคาร จะลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 40% รวมถึงการใช้พลังงานทางเลือกและอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน สอดคล้องกับนโยบาย “ธุรกิจสีเขียว” อสังหาฯ ที่ช่วยลดการปล่อย CO2 ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับการก่อสร้างอาคารในอนาคต สู่แนวทางการพัฒนาอาคารอย่างยั่งยืน และเชื่อมั่นว่าอาคารประหยัดพลังงานจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นเมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดการเช่าและขายอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างดี และนับจากวันนี้ทุกโครงการที่บริษัทพัฒนาจะต้องได้รับใบรับรอง EDGE มาตรฐานอาคารสีเขียวจาก IFC

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) จะมีการเติบโตของชนชั้นกลางและการเข้าถึงบริการธนาคารที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกิจกรรมทางการค้าและธุรกิจ แต่ภูมิภาคนี้ยังคงมีช่องว่างในการเข้าถึงสินเชื่อสูงถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของการขาดแคลนการจัดหาเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลก หากพิจารณาในมุมมองที่กว้างขึ้น พบว่า 99.9% ขององค์กรต่างๆ เป็น MSME ซึ่งมีส่วนในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของแต่ละประเทศอยู่ระหว่าง 35% ถึง 69% ในขณะที่ประเทศไทยมีองค์กร MSME มากกว่า 3 ล้านแห่ง คิดเป็น 99.5% ของวิสาหกิจทั้งหมด และมีส่วนในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ 35%


กำลังโหลดความคิดเห็น