ไบแนนซ์ ออกโรงชี้แจงผ่านหนังสือด่วน หลังเกิดประเด็นร้อนจากการโอนเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาท ของหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งเชื่อมโยงกับ The iCON GROUP เข้ามายัง Binance Hot Wallet หลังเกิดกระแสสังคมสงสัยที่มาของเงินถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
ไบแนนซ์ระบุว่า "เบื้องต้นฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานโดยตรงกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งได้รับการชี้แจงว่าในขณะนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสืบสวน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไบแนนซ์ดำเนินงานโดยให้ความสำคัญในการต่อสู้กับการฉ้อโกงและต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ผ่านการประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" ฝ่ายสืบสวนของไบแนนซ์ ระบุ
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าหลังจากนี้จะมีการอายัดบัญชีและเหรียญ USDT มูลค่ากว่า 8,223 ล้านบาทใน Binance Hot Wallet ซึ่งเกี่ยวข้องกับ The iCON GROUP เพื่อตรวจสอบตามกระบวนการทางกฏหมายหรือไม่ แม้ว่าทางไปแนนซ์จะยืนยันว่า "ประสานงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย" แต่เนื่องจากขอบเขตการบังคับใช้กฏหมายของไทยอาจมีข้อจำกัดเฉพาะในราชอาณาจักร ทำให้การอายัดทรัพย์นอกราชอาณาจักรของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทย ไม่สามารถทำได้โดยตรง เนื่องจากอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไทยจำกัดอยู่ภายในราชอาณาจักร
อ่านข่าวประกอบ >>> "เอกภพ สายไหมฯ" แฉเส้นเงินคริปโต The iCON "โค้ชแล็ป" มือขวา "บอสพอล" โอน USDT ออกกว่า 8,223 ล้านบาท ก่อนถูกจับ 1 ชั่วโมง
อ่านข่าวประกอบ >>> เพจดังแฉ! the icon จ่ายส่วยคริปโตให้นักการเมืองดังฉ่ำกว่าหมื่นล้าน ฟอกเงินผ่าน USDT
อย่างไรก็ตาม หากมีการสืบสวนพบว่าทรัพย์สินที่ต้องสงสัยอยู่ในต่างประเทศ หน่วยงานไทยสามารถขอความร่วมมือจากประเทศที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือด้านกฎหมายในระดับนานาชาติ (MLAT) เพื่อให้อายัดหรือยึดทรัพย์สินที่อยู่นอกอาณาเขตของไทย
ทั้งนี้การขอความร่วมมือเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและกฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ และจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายของทั้งสองประเทศ อีกทั้ง ไบแนนซ์เอง ก็อยู่นอกเหนือการบังคับใช้กฏหมายของไทย ณ ปัจจุบัน Binance (ไบแนนซ์) ยังไม่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Exchange) ในประเทศไทยจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้ในกรณีที่ยังไม่มีใบอนุญาตอย่างเป็นทางการการดำเนินงานของไบแนน์ในประเทศไทย หรือเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทย จึงอาจถูกจำกัดทางกฏหมาย หรือ ล่าช้าเพิกเฉยได้
อย่างไรก็ดี ทางสำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำผู้ลงทุนในไทยควรใช้แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. เพื่อความปลอดภัยทางกฎหมาย