KBank Private Banking เปิดมุมมองผลกระทบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองมากที่สุดด้วยหลายเหตุผล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายจากผู้นำคนใหม่ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองนี้สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงและอาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น ในด้านของเศรษฐกิจที่นโยบายของสองผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน โดย โดนัลด์ ทรัมป์ เน้นนโยบายการลดภาษี การลดข้อบังคับทางธุรกิจ และเการเจรจาทางการค้าที่ยุติธรรมและเป็นมิตรต่อธุรกิจ ซึ่งนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตของภาคธุรกิจในประเทศและการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น ในขณะที่ความตึงเครียดทางการค้ากับประเทศอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนระหว่างประเทศ ในขณะที่ กามลา แฮร์ริส มีนโยบายไม่แตกต่างจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน มากนัก โดยยังคงเน้นนโยบายการลงทุนในพลังงานสะอาด การเพิ่มภาษีคนรวย และการเสริมสร้างระบบสวัสดิการสังคม โดยนโยบายเหล่านี้อาจนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ในระยะสั้นอาจสร้างความไม่แน่นอนและความผันผวนในตลาดการลงทุน
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงภาพรวมการลงทุนในตลาดช่วงระหว่างก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ผ่านมา จะพบว่าตลาดหุ้นผันผวนสูงทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่การฟื้นตัวของตลาดหลังการเลือกตั้งมักเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากมีปัจจัยจากนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน และสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าภาพรวมการลงทุนของตลาดจะอยู่ในทิศทางบวก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศ ยังคงแข็งแกร่ง แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรก แต่หลังจากสถานการณ์เงินเฟ้ออ่อนตัวดีขึ้น พร้อมทั้งถ้อยแถลงจากประธาน FED ล่าสุดมีการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ โดยที่ตลาดคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้ท้าชิงจากฝั่งเดโมแครต ส่งผลให้การแข่งขันของทั้งสองพรรคกลับมาสูสีกัน และยากที่จะคาดเดาว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ทำให้เกิดความผันผวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับในอดีต แนวทางการกระจายการลงทุนและจัดการด้านความเสี่ยงจึงถือเป็นหลักสำคัญในสภาวะตลาดเช่นในปัจจุบัน
ดังนั้น KBank Private Banking แนะนำให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนตามหลักการ Risk-Based Asset Allocation โดยแบ่งเงินลงทุน 50-70% ของพอร์ตลงทุนในกองทุน ALL ROADS Series ไม่ว่าจะเป็น K-ALLRD-UI-A(A), K-ALLGR-UI-A(A) และ K-ALLEN-UI-A(A) ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ช่วยให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนพร้อมทั้งจำกัดความเสียหายในทุกสภาวะตลาด และยังมาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ขณะเดียวกันในช่วงตลาดผันผวน ลดสัดส่วนการลงทุน ถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กองทุนสามารถจัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในสภาพตลาดที่หลากหลาย โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
นอกเหนือจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนต้องติดตาม ยังมีสิ่งอื่นที่นักลงทุนต้องจับตาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็นความกังวลต่อเรื่อง Recession ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือยังเป็น Soft Landing ตามที่เคยคาดไว้ การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่จะลดครั้งละ 0.25% ในเดือนกันยายน พฤศจิกายน และธันวาคมในปีนี้ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่ 3.75% และคงอยู่ในระดับสูง (Higher for longer) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงได้ในทุกสถานการณ์