xs
xsm
sm
md
lg

ยูโอบีเผยผลสำรวจธุรกิจไทยเล็งขยายไปตปท.-ลงทุนด้านESG-เตรียมโซลูชั่นตอบโจทย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO และ Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
กล่าวว่า ภาพรวมสินเชื่อของธนาคารในช่วงที่เหลือของปียังคงเติบโตได้ โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน(Sustainable) ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารและกลุ่มยูโอบีที่สนับสนุนธุรกิจให้เปลี่ยนถ่ายสู่ความยั่งยืน โดยจากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2567 ในประเทศไทย ที่ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บรหิารของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ถึงความเชื่อมั่นและแนวโน้มทางธุรกิจในอุตสาหกรรม พบว่า แม้กว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่่ได้นำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้จากแรงจูงใจหลักๆ 3 ประการได้แก่ การปรับปรุงภาพลักษณ์ของธุรกิจ(ร้อยละ 56) การดึงดูดนักท่องเที่ยว(ร้อยละ 50) และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ(ร้อยละ46)

ทั้งนี้ จากแนวโน้มดังกล่าว ยูโอบีจึงได้จัดทำกรอบการบริหารทางการเงินเพื่อความยั่งยืนทั้งในส่วนของธนาคารและลูกค้า รวมถึงการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน(Transition Finance)เพื่อช่วยธุรกิจในการเดินทางไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน โดยโครงการสำคัญภายใต้กรอบเหล่านี้ ได้แก่ โซลูชั่น U-Drive ,U-Solar และ U-Energy นอกจากนี้ ยังมี UOB Sustainability Compass ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีในทุกอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยในปี 2566 ธนาคารได้ขยายการให้สินเชื่อที่ยั่งยืนเป็นมูลค่า 33.1 พันล้านบาท และประมาณร้อยละ 25ของสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติเป็นสินเชื่อสีเขียว

"ทั้งในส่วนของยูโอบีกรุ๊ป และยูโอบีประเทศไทยให้ความสำคัญในการเรื่องของ ESG มาตลอด เป้าหมายของเราก็คือเป็น Net Zero ในปีค.ศ. 2050 โดยจะเน้นกลุ่มเรียลเอสเตท,น้ำม้น-ก๊าซ,Invrastructure ,เหล็ก และพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และมีสัดส่วนสูงในพอร์ตของธนาคาร ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการจะตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนถ่ายสู่ความยั่งยืน แต่มีอยู่ถึง 5 ใน 10 ที่ยังไม่พร้อมจะนำ Sustainable มาใช้ จากสาเหตุเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงขาดแรงจูงใจจากภาครัฐ และขาดการตื่นตัวจากองค์กร ดังนั้น ธนาคารในส่วนจึงต้องเริ่มจากกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ลงไปสู่ Supply Chain ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง-เล็ก ที่ธนาคารมีโซลูชั่นไว้รองรับอยู่แล้ว"

นางวีระอนงค์กล่าวอีกว่า อีกกลยุทธของธนาคารก็คือธุรกิจการค้าข้ามพรมแดน โดยจากผลการสำรวจ Business Outlook Study ของธนาคาร พบว่า ธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับการขยายการเติบโตระหว่างประเทศ โดยเกือบร้อยละ 90 มีเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปต่างประเทศใน 3 ปีข้างหน้า โดยมีจุดหมายส่วนใหญ่ที่อาเซียนและจีนแผนดินใหญ่ โดยเฉพาะเวียดนาม จากเหตุผลที่ต้องการหารายได้เพิ่ม ,แสวงหากำไร และสร้่างภาพลักษณ์ระดับให้กับบริษัท ขณะที่การขยายการเติบโตในต่างประเทศของธุรกิจกำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น การขาดแคลนบุคลากรภายในประเทศ การเข้าถึงฐานลูกค้าในต่างประเทศที่จำกัด และการขาดการสนับสนุนด้านกฎมาย กฎระเบียบ และการปฏิบัติตามข้อกำหนด

จากความท้าทายดังกล่าว หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDIA)ที่ธนาคารยูโอบีได้จัดตั้งตั้งแต่ปี 2554 สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ โดยได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2562 โดยหน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยรวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย และหนุน 210 บริษัทไปลงทุนในต่างประเทศ

และท้ายที่สุดในเรื่องของดืจิทัลยังเป็นอีกหนึ่งที่ธุรกิจไทยให้ความสนใจ จากผลการสำรวจ เกือบร้อยละ 40 ได้นำโซลูชันดิจิทัลมาใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน และเกือบ 4 ใน 5 ของธุรกิจจะลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น 10-25% ซึ่งยูโอบีตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ผ่านการจัดการห่วงโซ่อุปทานทางการเงินดิจิทัล(FSCM)ฟีเจอร์ใหม่บนบริการธนาคารดิจิทัลสำกหรับลูกค้าธุรกิจช่วยให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถช่วยธุรกิจบริหารจัดการคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ

"เมื่อมองไปในอนาคต การค้าข้ามพรมแดน การเงินที่ยั่งยืน และการจัดการซัพพลายเชนที่เป็นดิจิทัล เป็นพื้นที่หลักที่ธุรกิจกำลังมองหาการสนับสนุน เราได้ลงทุนในนวัตกรรมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมืตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา"
กำลังโหลดความคิดเห็น