การบริโภคขยายตัวหนุน "ซีพี ออลล์" กำไรไตรมาสแรกทะลุ 6,319 ล้านบาท บริษัทวางเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 700 แห่ง ด้านโบรกฯเชื่อไตรมาสเติบโตต่อเนื่อง ดันทั้งปีกำไรโต 28% แม้ยังไม่เห็นการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ มองว่านโยบายของรัฐในครึ่งปีหลัง ส่งผลเชิงบวกหนุนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้สูงขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1 ปี 2567 โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 6,319 ล้านบาท โดยมีรายได้รวมในไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 241,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 8.5%
ทั้งนี้ สาเหตุมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ตามการบริโภคภายในประเทศที่ยังมีการขยายตัว ซึ่งขับเคลื่อนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ และการท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงต้นปีที่สร้างบรรยากาศที่ดีในการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้กลยุทธ์ 020 ของแต่ละหน่วยธุรกิจยังคงเป็นปัจจัยเสริมในการเติบโตของรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ขณะที่ กำไรขั้นต้นในไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทมีกำไรขั้นต้นจากการขายและบริการเท่ากับ 52,223 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจเพิ่มขึ้น รวมถึงความสำเร็จในกลยุทธ์ด้านสินค้า ซึ่งไม่เพียงส่งมอบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังนำเสนอสินค้าที่แตกต่าง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรอีกด้วย ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในงบการเงินรวมของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.3% จาก 21.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขณะเดียวกันบริษัทมีต้นทุนในการจัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารเท่ากับ 46,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ค่าใช้จ่ายกลุ่มต้นทุนในการจัดจำหน่ายมีจำนวน 38,548 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% ในขณะที่กลุ่มค่าใช้จ่ายในการบริหารมีจำนวน 7,993 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยประเภทค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลักๆ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน ค่าบริหารร้านสาขา ในขณะที่ค่าไฟเริ่มปรับตัวลดลงจากค่าไฟต่อหน่วยที่ปรับลดลง ทั้งนี้แต่ละกลุ่มธุรกิจยังคงมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและมีประสิทธิภาพ
ขณะภาพรวมผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเปิดร้านสาขาใหม่รวมทั้งสิ้น 185 สาขา ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทมีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 14,730 สาขา แบ่งเป็น1. ร้านสาขาบริษัท 7,985 สาขา (ประมาณ 51%) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 149 สาขา ในไตรมาสนี้ 2. ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 7,245 สาขา (ประมาณ 49%) ร้านเปิดใหม่สุทธิ 36 สาขา ในไตรมาสนี้
โดยร้านสาขาส่วนใหญ่ยังเป็นร้านที่ตั้งเป็นเอกเทศ ซึ่งประมาณ 86% ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.
ขณะเดียวกันในไตรมาส 1 ปี 2567 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 105,861 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในไตรมาสนี้มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน เท่ากับ 82.619 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณ 85 บาท ในขณะที่จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 972 คน
สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือ ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มาตรการของรัฐก็มีส่วนช่วยสนับสนุนเช่นกัน ซึ่งธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้ใช้แผนกลยุทธ์ที่สอดรับกับสถานการณ์ตลอดเวลา โดยคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ
โดยนำเสนอสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา ประกอบกับรายได้จากการขายสินค้าส่วนเพิ่มผ่านกลยุทธ์ 020 อาทิ 7-Delivery และ All Online ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาวะปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนประมาณ 11% ของรายได้จากการขายสินค้ารวม
ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 2567 สัดส่วนของรายได้จากการขาย 75.2% มาจากสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และ 29.8% มาจากสินค้าอุปโภค ซึ่งสัดส่วนรายได้ในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มและกลุ่มสินค้าอุปโภคนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับปี 2566 โดยบริษัทยังคงมุ่งเน้นที่จะเป็นจุดหมายปลายทางที่ 1 ในใจลูกค้าเมื่อนึกถึงอาหารและเครื่องดื่ม ตามสโลแกน 'หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา' และ 'หิวเมื่อไหร่ก็สั่งเลย' สำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกที่และทุกเวลา
นอกจากนี้ในไตรมาส 1 ปี 2567 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีกำไรขั้นต้นจำนวน 30,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,950 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.9% โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับ 28.7% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2566 ที่อัตราส่วน 27.9% สาเหตุหลักมาจากกรปรับกลยุทธ์ด้านสินค้าตามที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงให้ความสำคัญต่อการบริหารอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าโดยพยายามเพิ่มสัดส่วนสินค้ากลุ่มที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันธุรกิจร้านสะดวกชื้อยังมีรายได้อื่นอีกจำนวน 6,236 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 518 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้จากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของสาขา รายได้ค่าสิทธิ และที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิในการบริหารร้าน 7-Eleven และอื่นๆ
ทั้งนี้ CPALL คาดการณ์แนวโน้มธุรกิจร้านสะดวกซื้อในปี 2567 ว่า บริษัทวางแผนที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการ ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งรวมถึงการขยายเครือข่ายร้านสาขาต่อเนื่องไปตามการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวและทำเลที่มีศักยภาพอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ด้าน นางสาวจิราพรรณ ทองตัน หัวหน้านักลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) กล่าวถึงแนวโน้มยอดขายต่อสาขา (SSSG) ในไตรมาส 2/67 ว่ายังคงเติบโตต่อเนื่อง สะท้อนจากภาพ Quarter-to-date (QTD) ที่ยังเติบโตได้ดีอยู่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ที่เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับอากาศที่ร้อน ทำให้ช่วยหนุนการบริโภคดีต่อเนื่อง ทั้งในร้านค้าสะดวกซื้อ 7-11, แม็คโคร (Makro) และ โลตัส (Lotus's)
โดยมองว่าหากไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เชื่อว่าการอุปโภค บริโภคต่างๆ ยังคงเติบโตต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปีนี้ หรือสามารถสร้างยอดขายในระดับที่น่าพอใจได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากไตรมาสแรก SSSG โตระดับ 5%
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการ ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งรวมถึงการขยายเครือข่ายร้านสาขาต่อเนื่องไปตามการขยายตัวของชุมชน โดยยังคงแผนเปิดสาขาใหม่ในปีนี้ที่ 700 สาขา จากสิ้นไตรมาส 1/67 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เปิดร้านสาขาใหม่รวมทั้งสิ้น 185 สาขา ส่งผลบริษัทฯ มีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 14,730 สาขา
ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมีแผนการเปิดสาขาใหม่ในประเทศกัมพูชา อีก 10 สาขา ส่วนในสปป.ลาว คาดเปิดในจำนวนหลักหน่วย จากไตรมาส 1/67 มีสาขาอยู่ที่ 84 สาขา และ 4 สาขา ตามลำดับ โดยบริษัทฯ คาดว่าจะใช้งบลงทุนปีนี้ประมาณ 12,000 - 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการเปิดร้านสาขาใหม่ 3,800 - 4,000 ล้านบาท , การปรับปรุงร้านเดิม 2,900 - 3,500 ล้านบาท , โครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า 4,000 - 4,100 ล้านบาท และลงทุนระบบไอทีที่ใช้ภายในองค์กร 1,300 - 1,400 ล้านบาท
บล.กรุงศรี ประเมิน CPALL และแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 80 บาท/หุ้น โดยมอง neutral ต่องานประชุม เพราะข้อมูลที่ได้รับไม่ต่างจากที่คาดไว้ จึงยังคงคาดกำไรทั้งปี 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 28% จากยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 8% (อิง SSSG ร้านสะดวกซื้อ +5%) และ อัตรากำไรขั้นต้น +30 bps ( vs 1Q24 SSSG +4.9%/GPM +70bps y-y) ทั้งนี้โมเมนตั้มไตรมาส2/67 คาดกำไรยังดีต่อเนื่อง ทำให้ CPALL เป็นหุ้นเด่นสุดในกลุ่มค้าปลีก
โดยผู้บริหารมองว่า ภาพรวมการใช้จ่ายของกลุ่มร้านสะดวกซื้อจะดูดีขึ้นแล้วตามการท่องเที่ยวและการบริโภค โดยยอดขายต่อร้านต่อวันมาใกล้ช่วงพีคก่อนโควิดแล้ว 8.26 หมื่นบาท (vs 4Q19 ที่ 8.29 หมื่นบ./ร้าน/วัน)อย่างไรก็ดี ผู้บริหารยังห่วงต่อกำลังซื้อโดยรวม จึงยังไม่ให้น้ำหนักว่าการบริโภคจะฟื้นตัว แต่เชื่อว่าโมเมนตัม 2QTD ยังดีต่อเนื่องทั้ง SSSG +4-5%และคาด GPM ยังทรงตัวสูงใกล้ๆ 1Q24ที่ 28.7% ส่วนหนึ่งมาจาก inflation pull และส่วนผสมการขายสินค้ามาร์จิ้นต่ำอย่างบุหรี่ลดลง
ด้าน บล.ดาโอ ประเมินธุรกิจคงคำแนะนำ “ซื้อ” และมีการปรับราคาเป้าหมายปี 2024E ขึ้นเป็น 84.00 บาท (จากเดิมที่ 80.00บาท) อิง 2024E PER ที่ 34x (-0.3SD below 5-yr avg. PER) เนื่องจากมีมุมมองเป็นบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ โดยบริษัทยังคงเป้าขยายสาขาในไทยที่อย่างน้อย 700 สาขาในปี 2024E และต่อเนื่องในปีต่อๆไปจนกว่าจะครบ 2 หมื่นสาขา โดยปัจจุบัน ณ สิ้น 1Q24 มีสาขาทั้งหมด 14,730 (+185 QoQ) สาขาในไทย 84 (+2) สาขาในกัมพูชาและ 4 (+1) สาขาในลาว
และคาด GPM ของ CVSจะทรงตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับใน 1Q24 รวมถึงรายได้ที่ขยายตัวได้ แม้ไม่มีผลกระทบของ low baseแล้ว และผู้บริหารให้ guidance สำหรับ 2Q24E จะได้ผลบวกจากอากาศที่ร้อนขึ้นเมื่อเทียบกับใน2Q23 แม้คาดเห็น SG&A ที่จะขยายตัวต่อเนื่องแต่น้อยกว่าการโตของยอดขาย
ทำให้ปรับประมาณการกำไร 2024E/25E ขึ้น +10%/+7% อยู่ที่ 2.3 และ 2.7 หมื่นล้านบาท โต +23%/19%YoY โดยกำไร 1Q24 คิดเป็น 28% ของประมาณการใหม่ จาก GPM จะทรงตัวสูงได้ และรายได้ยังคงเติบโตต่อเนื่องใน 2Q24E ทำให้เรามองแนวโน้ม 2Q24E รายได้ธุรกิจ CVS ขยายตัว QoQ จากปัจจัยทางฤดูกาล รวมถึงค้าปลีกฟื้นตัวต่อเนื่องจะช่วยหนุนกำไร2024E
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาราคาหุ้น outperform SETได้ในช่วง1 และ 3 เดือนที่ผ่านมาที่ +8% และ +15% ตามลำดับ จากกำไร1Q24 ที่ออกมาดีกว่าคาดมาก และคาดผลการดำเนินยังจะเติบโตดีต่อ ทำให้เรามีการปรับประมาณการและราคาเป้าหมายขึ้น
ดังน้้น จึงมีมุมมองเป็นบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ประจำไตรมาส 1Q24 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้คือบริษัทยังคงเป้าขยายสาขาในไทยที่อย่างน้อย 700 สาขาในปี 2024E และต่อเนื่องในปีต่อๆไปจนกว่าจะครบ 2 หมื่นสาขา โดยปัจจุบัน ณ สิ้น 1Q24 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 14,730 (เพิ่ม +185สาขา QoQ) สาขาในไทย 84 (+2 สาขา QoQ) สาขาในกัมพูชาและ 4 (+1 สาขา QoQ) สาขาในลาว
อีกทั้งคาด GPM ของ CVS จะทรงตัวสูงได้ในระดับใกล้เคียงกับใน 1Q24 โดยหลักยังมาจากสินค้ากลุ่มRTE ที่เติบโตได้ดี ทำให้ GPM สินค้ากลุ่ม Food เพิ่มขึ้นเป็น 27.1% (จาก 26.4% ใน 1Q23) และกลุ่ม Personal care ที่เติบโตและสัดส่วนที่ลดลงของยอดขายบุหรี่ หนุน GPM กลุ่ม Non-food ให้เพิ่มขึ้นเป็น 28.5% (จาก 27.3% ใน 1Q23)
นอกจากนี้รายได้ที่ขยายตัวได้จากการขยายสาขาต่อเนื่องและการพยายามผลักดันยอดขายสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น แม้ไม่มีผลกระทบของ low base แล้วและสุดท้ายแนวโน้ม 2Q24E จะได้ผลบวกจากอากาศที่ร้อนขึ้นเมื่อเทียบกับใน 2Q23 แม้คาดเห็น SG&A ที่จะขยายตัวต่อเนื่อง แต่มองว่าจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการโตของยอดขาย โดยใน 1Q24 มี SG&A/sales อยู่ที่ 26.0% (-110 bps YoY และ -30 bps QoQ)
ดังนั้น จึงทำให้ปรับประมาณการกำไรสุทธิ 2024E/25E ขึน้ +10%/+7% เป็ น 2.3 และ 2.7 หมื่นล้านบาท เติบโต +23%/19% YoY เราปรับประมาณการกำไร 2024E/25E ขึ้น +10%/+7% อยู่ที่ 2.3และ 2.7หมื่นล้านบาท เติบโต +23%/19% เทียบปีก่อน (จากเดิมที่ 2.1 และ 2.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ) โดยกำไร1Q24 ที่ออกมาคิดเป็น 28% ของประมาณการทั้งปีใหม่ จาก guidance ของผู้บริหารที่มองว่าGPM จะทรงตัวสูงได้ และรายได้ยังคงเติบโตต่อเนื่องใน 2Q24E ทำให้มองแนวโน้ม 2Q24Eรายได้ธุรกิจ CVS ขยายตัวเทียบไตรมาสก่อน จากปัจจัยทางฤดูกาล รวมถึงการขยายสาขาของ CVS ที่ 700 สาขาต่อปีและค้าปลีกฟื้นตัวต่อเนื่องจะช่วยหนุนผลการดำเนินงาน 2024E
ดังนั้นคงคงคำแนะนำ “ซื้อ” และมีการปรับราคาเป้าหมายปี 2024E ขึ้นเป็น 84.00 บาท (จากเดิมที่80.00 บาท)อิง 2024E PER ที่34x (หรือเท่ากับ -0.3SD below 5-yr avg. PER) ตามประมาณการที่ปรับขึ้น โดยมองว่ากำไรจะสามารถเติบโตได้โดดเด่นจากปัจจัยภายใน แม้ยังไม่เห็นการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ นอกจากนี้ยังมองว่านโยบายของรัฐใน 2H24E จะส่งผลกระทบเชิงบวกหนุนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้สูงขึ้น ขณะที่ปัจจุบันราคาหุ้นเทรดอยู่ที่ 2024E PER ที่ 24 เท่าหรือต่ำกว่า -1SD