ที่ปรึกษาประธานาธิบดีไนจีเรียเผย ยังไม่มีการตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับการปรับไบแนนซ์มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากข้อกล่าวหามีส่วนในการสนันสนุนกลุ่มธุรกิจผิดกฏหมายผ่องถ่าย ฟอกเงินมากกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับไนจีเรีย ฟากไบแนนซ์เพิกเฉยต่อข้อกล่าวหา และไม่ขอเจรจาจ่ายเงินค่าปรับหากสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เดินหน้ากระบวนการยุติธรรมตัดสิน
บาโย โอนานูก้า ที่ปรึกษาประธานาธิบดีไนจีเรีย ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไนจีเรีย ออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับการเรียกเก็บปรับมูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ต่อไบแนนซ์ ซึ่งเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยโอนานูกา ระบุว่า การนำเสนอข่าวก่อนหน้านี้ของสำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษ เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ตามรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่น People's Gazette ระบุว่า สำนักข่าวบีบีซี ได้บิดเบือนคำพูดของเขา โดยผิดไปจากข้อมูลที่ถูกต้องและเนื้อหาการนำเสนอไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของข้อมูลเนื้อหาที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง โดยขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ หรือขั้นตอนใดๆในการเปรียบเทียบปรับไบแนนซ์
"เรายังไม่ได้ระบุว่าไบแนนซ์ทำผิดในเงื่อนไขกฏเกณฑ์ข้อบังคับใดที่จำเพาะเจาะจง ซึ่งอยู่ในกระบวนการรวบรวมหลักฐาน ซึ่งหากมีความผิดจริงมูลค่าของค่าปรับกว่าในความผิดดังกล่าวอาจสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์" โอนานูก้า กล่าว
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการลงโทษไบแนนซ์มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์นั้น Peoples Gazette ระบุว่าไบแนนซ์ไม่ทราบและไม่ได้รับแจ้ง นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าทางไบแนนซ์ ไม่ต้องการเจรจากับรัฐบาลไนจีเรีย และยินยอมที่จะจ่ายค่าปรับมูลค่าสูงในจำนวนดังกล่าว โดยต้องการในการดำเนินการตามกระบวนการของกฏหมายของศาล
คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่การแลกเปลี่ยน crypto เผชิญกับการตรวจสอบกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นในไนจีเรีย โดยมีหลายแพลตฟอร์มได้ถูกแบนเมื่อเร็ว ๆ นี้เพื่อปกป้องสกุลเงินประจำชาติของประเทศคือ naira ของไนจีเรียโดยไบแนนซ์ได้ดำเนินการถอด naira ออกจากบริการแบบ peer-to-peer (P2P) เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ ท่ามกลางการปราบปรามการแลกเปลี่ยนคริปโตซึ่งมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นหลังจากราคาบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นทะลุ 60000 ดอลล่าร์ต่อ BTC
อย่างไรก็ตามคุณลักษณะ P2P ช่วยให้ผู้ใช้ ผู้ซื้อ และผู้ขายซื้อขายได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว ได้รับความนิยมในไนจีเรียในปี 2564 หลังจากการสั่งห้ามของรัฐบาลในอุตสาหกรรมคริปโตที่เฟื่องฟูอย่างมากในช่วงการบริหารของอดีตประธานาธิบดี มูฮามาดู บูฮารี่
ขณะเดียวกัน จากกรณีดังกล่าว ทำให้ไบแนนซ์ต้องตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เพิ่มขึ้นในไนจีเรีย โดยผ่านทางธนาคารกลางไนจีเรีย หรือ CBN ขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฏหมายทางการเงิน แสดงความกังวลเกี่ยวกับ “เป็นช่องทางผ่านของเม็ดเงินที่น่าสงสัย” ของเงินทุนจำนวนมาก ผ่านกลุ่มแลกเปลี่ยนของไนจีเรียในปี 2566 โดยโอเลยามี่ คาโดโซ่ ผู้ว่าการแบงก์ชาติไนจีเรีย เน้นย้ำว่ามีมีเงินกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ได้ไหลออกจากไนจีเรียผ่านทางไบแนนซ์ในปี 2566 โดยมีการปกปิดชื่อผู้ใช้งาน ทั้งแหล่งต้นตอการส่งเงินและปลายทางของผู้รับเงิน ซึ่งเข้าข่ายลักษณะต้องสงสัย ว่ามีการฟอกเงิน หรือเกี่ยวโยงกับกลุ่มอาชญากรรมกลุ่มธุรกิจที่ผิดกฏหมาย
ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่าสำนักงานที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติยังได้ จับกุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของไบแนนซ์ 2 คนในอาบูจา เมืองหลวงของไนจีเรีย ในขณะที่ประเทศกำลังพยายามปราบปรามการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลเพื่อควบคุมการเก็งกำไรเกี่ยวกับ naira
โดยในเดือนธันวาคม ปี 2566 ทาง แบงก์ชาติไนจีเรีย ได้ประกาศยกเลิกการห้ามธนาคารที่มีส่วนร่วมในธุรกรรมคริปโตเป็นเวลา 2 ปี และออกแนวทางในการควบคุมผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ ไนจีเรียเป็นประเทศที่ 2 ที่เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในปี 2565 ซึ่งมีการลงนามการรับรองของ Africa Stablecoin Consortium นอกจากนี้ยังได้เปิดตัวเหรียญ stablecoin cNGN ที่ตรึง naira ไว้ในแซนด์บ็อกซ์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ CBN ในเดือนกุมภาพันธ์