xs
xsm
sm
md
lg

ธปท.เพิ่มธุรกรรมดิจิทัลเข้า D-SIBs ตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ธปท. ทบทวนแนวทางการระบุและการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบในประเทศ Domestic systemically important banks: D-SIBs เพิ่ม การทําธุรกรรมดิจิทัลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อให้ เหมาะสม โดยคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงิน (financial landscape) ในระยะข้างหน้า ล่าสุดมีธนาคารพาณิชย์ที่เข้าเกณฑ์ 6 แห่ง

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ไดย้กระดับการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญ ต่อระบบในประเทศ (Domestic systemically important banks: D-SIBs) ให้มีความมั่นคงและมี ความสามารถในการรองรับความเสียหายจากการดําเนินการได้มากขึ้นมาตั้งแต่ปี 2560 โดยได้กําหนดแนว ทางการระบุและการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบในประเทศ โดยมีกรอบการชี้วัด 4 ด้าน คือ ขนาด ความเชื่อมโยง การทดแทนกันได้และโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน และความซับซ้อน และกําหนดให้มกี ารทบทวนแนวทางดังกล่าวเป็นประจําทุก 3 ปี นั้น

ธปท. ได้ปรับปรุงแนวทางการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีความสําคัญต่อระบบในประเทศ โดยเพิ่ม ปัจจัยพิจารณาภายใต้กรอบการชี้วัดเดิม เช่น (1) ด้านความเชื่อมโยงทางอ้อมระหว่างธนาคารพาณิชย์ผ่านการ ให้สินเชื่อหรือลงทุนกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญต่อระบบการเงิน (systemically important corporation)1 รายเดียวกัน และ (2) ด้านการทดแทนกันได้ โดยพิจารณาถึงการเป็นแหล่งเงินทุนสําคัญให้กับ ธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย และระดับความสําคัญในการให้บริการทาง การเงินพื้นฐานผ่าน mobile banking ซึ่งหากบริการดังกล่าวหยุดชะงักจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ในวงกว้างด้วย

ทั้งนี้ การปรับแนวทางการประเมินครั้งนี้ เพื่อให้สามารถสะท้อนถึงความสําคัญต่อระบบได้อย่าง เหมาะสม โดยคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงิน (financial landscape) ในระยะข้างหน้า และความสําคัญของการทําธุรกรรมดิจิทัลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งความสําคัญเชิงระบบในมิติอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยแนวทางการประเมินใหม่จะเริ่มใช้สําหรับการประเมิน D-SIBs ประจําปี 2567 เป็นต้นไป

“เกณฑ์ D-SIBs ได้ดำเนินการใช้มาแล้วตั้งแต่ ปี 2560 ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์ที่เข้าเกณฑ์ อยู่ 6 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์ และในปี 2564 ได้มีการควบรยมของธนาคารพาณิชย์ 2 แห่งคือ ธนาคารธนชิต และธนาคารทหารไทย หลังจากการควบรวม ทำให้ธนาคาร ttb เข้าเกณฑ์ D-SIBs อีก 1 แห่ง ส่งผลให้เพิ่มการกำกับดูแล D-SIBs เป็น 6 แห่ง”

ล่าสุดธปท.ได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์รายละเอียด การทําธุรกรรมดิจิทัลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เข้ามากำกับ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชนฺในปัจุบัน เพราะได้มีการทำธุรกรรมดิจิทัลเพิ่มขึว้นจำนวนมากขึ้น 3 เท่า และประเทศไทยมีการใช้โมบายแบงก์กิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก จึงมีการปรับเกณฑ์กำกับ เช่น เงินกองทุนปกติธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการดำรงเงินกองทุนขั้นที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 4.5 % และต้องบวกเกณฑ์ D-SIBs อีก 1 % เพื่อความเหมาะสมและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิต อย่างไรก็ตามปัจจุบันเท่าที่ดูเกณฑ์การกำกับดูแลเพิ่มเติม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวเลย


กำลังโหลดความคิดเห็น