xs
xsm
sm
md
lg

ทำไม! "ฝั่งพระนคร" ขึ้นชั้นซีบีดีเจริญแซงหน้า "ฝั่งธนบุรี"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


การก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูสย่านพระราม 4 มูลค่าหลายแสนล้านบาท ที่มีความรุดหน้าไปมาก
คงไม่มีใครจะปฏิเสธ หรือเถียงได้ว่า ฝั่งพระนคร ซึ่งหมายถึงกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย คือ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

ขณะที่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งหมายถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ก็ใช่ว่าจะไม่มีความ ‘เจริญรุ่งเรือง’

แต่เพื่อให้เห็นภาพ อิงข้อมูล (ไม่ดรามา) ก็ต้อง “วัดด้วยขนาด” ร่องรอยประวัติศาสตร์ความเจริญที่เกิดขึ้นมา ถึงจะพอเทียบเคียง เทียบชั้นได้ว่า ฝั่งพระนคร หรือฝั่งธนบุรี พื้นที่ไหนมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปยิ่งๆ ขึ้น เริ่มจาก…

• ฝั่งธนบุรี มีการพัฒนามากในช่วงที่เป็นกรุงธนบุรีแต่สั้นมากเพียง 15 ปี (พ.ศ. 2310-2325)
• ฝั่งพระนคร เป็นพื้นที่เมืองชั้นในมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 จนถึงปัจจุบัน)
• ฝั่งพระนคร เป็นย่านการค้าแห่งแรกของรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มจากแถวสำเพ็ง เยาวราช (แหล่งการค้าที่สำคัญจนถึงปัจจุบัน)
• จากย่านการค้า จึงพัฒนามาเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน
• ส่วนฝั่งธนบุรี กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์
• สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีน้อยมาก ทำให้การเปลี่ยนแปลงในฝั่งธนบุรีเกิดขึ้นเพียงบางทำเลเท่านั้น
• ถนนเส้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร ที่เชื่อมด้านเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตกอยู่ในฝั่งพระนคร เช่น ถนนวิภาวดี-รังสิต ถนนพหลโยธิน และมีถนนที่เชื่อมต่อกับถนนเหล่านี้ เช่น ถนนพระรามที่ 4 สุขุมวิท รัชดาภิเษก ลาดพร้าว รามอินทรา ทำให้การกระจายความเจริญเกิดขึ้นในฝั่งพระนครแบบต่อเนื่อง และใหญ่ขึ้นมาก มีผลให้ที่ดินถูกนำมาพัฒนาและมีราคาสูงขึ้นอย่างมากอย่างที่กล่าวไว้

• ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดให้บริการในฝั่งธนบุรี เซ็นทรัล วงเวียนใหญ่ เปิดบริการพ.ศ.2524 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโรบินสัน และแพลตฟอร์มในปัจจุบัน
• ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดให้บริการในฝั่งพระนคร หลังจากฝั่งธนบุรี คือ เดอะมอลล์ รามคำแหง 1-2 เปิดบริการ พ.ศ.2526 และ 2529 ตามลำดับ
• ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เปิดบริการในฝั่งพระนครก่อน เซ็นทรัล ลาดพร้าว เปิดบริการปี พ.ศ.2525 (เป็นห้างดังจนถึงปัจจุบัน) ต่อมาเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ พ.ศ.2532 ที่นักท่องเที่ยวมาชอปปิ้ง เซ็นทรัล รามอินทรา พ.ศ.2536 เซ็นทรัล บางนา พ.ศ.2536 ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ พ.ศ.2537
• ศูนย์การค้าในฝั่งธนบุรีมีแห่งแรก คือ เดอะมอลล์ ธนบุรี เปิดบริการปี พ.ศ.2532 ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค พ.ศ.2536 เดอะมอลล์ บางแค พ.ศ.2537 เซ็นทรัลปิ่นเกล้า พ.ศ.2538 (ไม่พูดถึงพาต้า ที่ปัจจุบันปิดให้บริการ)

ถนนวิทยุ ย่านธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯ ที่มีอาคารสำนักงานเกรด A ที่ตั้งธนาคารชั้นนำ และโครงการคอนโดฯ ระดับลักชัวรีจำนวนมาก
• วกมามาเชิงพาณิชย์ จะพบว่าอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ที่เป็นอาคารสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ เกิดขึ้นที่ฝั่งพระนครในเขต CBD ก่อนที่จะขยายไปตามถนนเส้นทางหลักที่เชื่อมกับ CBD เช่น พระรามที่ 4  สุขุมวิท พญาไท และพหลโยธิน รวมไปถึงรัชดาภิเษก
• พื้นที่อาคารสำนักงานในฝั่งพระนคร จึงมีขนาดพื้นที่มากกว่าฝั่งธนบุรีมากแบบเทียบกันไม่ได้
อาคารสำนักงานที่จะเปิดบริการในอนาคตกว่า 2 ล้านตารางเมตรทั้งหมด 100% อยู่ในฝั่งพระนคร (มีโครงการคอนโดมิเนียม คอนโดฯ ราคาแพง บ้าน โรงแรม อพาร์ตเมนต์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย)

• หรือแม้แต่เรื่องระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น เส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในฝั่งพระนคร เปิดบริการปี พ.ศ.2542
• ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เส้นทางแรกของกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในฝั่งพระนคร เปิดบริการปี พ.ศ.2547
• สถานีรถไฟฟ้าสถานีแรกของฝั่งธนบุรีเปิดบริการปี พ.ศ.2552 (ตามหลังมา 5 ปี)
ปี พ.ศ.2552 ฝั่งธนบุรีมีสถานีแรก (สถานีกรุงธนบุรี) ในขณะที่ปี พ.ศ.2552 ฝั่งพระนครมีสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 33 สถานี (BTS + MRT)
• ปัจจุบัน จำนวนสถานีรถไฟฟ้าในฝั่งธนบุรียังน้อยกว่าฝั่งพระนครมาก (เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง)
• เส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตยังอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่า
• ทางขึ้นลงทางพิเศษในฝั่งธนบุรียังน้อยกว่า

• ศักยภาพของที่ดิน ตามข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ก่อนหน้านี้มากกว่า 20 ปี พื้นที่ฝั่งพระนครก็สูงกว่าฝั่งธนบุรี
• ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กำหนดข้อกำหนดต่างๆ ตามศักยภาพของพื้นที่ตามความเป็นจริง
• ข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ยิ่งส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 20-30 ปี
• ราคาที่ดินในฝั่งพระนครจึงสูงกว่า เพราะศักยภาพที่ดินมากกว่า ทั้งในความเป็นจริง และตามข้อกำหนดในผังเมืองรวม

ไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต มูลค่า 54
• การเปลี่ยนแปลงของทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครจึงเป็นไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
• แต่การเปลี่ยนแปลงในฝั่งธนบุรีมีความเป็นไปได้ที่จะมากขึ้นในอนาคต
• ทำให้ศักยภาพโดยรวมของฝั่งธนบุรียังคงน้อยกว่าฝั่งพระนคร ที่จังหวัดปริมณฑลที่เชื่อมต่อยังมีศักยภาพมากกว่าฝั่งธนบุรี
• ศูนย์กลางการเดินทางรูปแบบต่างๆ ยังอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่า ทั้งสถานีขนส่ง สถานีรถไฟทางไกล  สถานีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต สนามบิน ท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่
• เส้นทางรถไฟความเร็วสูงอยู่ในฝั่งพระนครมากกว่าฝั่งธนบุรี

จะว่าไปแล้ว ฝั่งพระนครรวมศูนย์ความเจริญทั้งหมด แต่ก็ไม่ใช่ว่าฝั่งธนบุรีจะไม่ถูกพัฒนาในอนาคต (อันนี้ไม่ได้ให้เกิดเรื่องดรามา)  เพราะมีความพยายามจากกรุงเทพฯ ที่จะยกระดับให้ย่านธนบุรี กลายเป็นมินิซีบีดี เพราะมีโครงการใหญ่ ห้างดังระดับโลก อย่าง "ไอคอน สยาม" แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของไทย มีโรงแรมหรู โครงการคอนโดมิเนียม และรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่มาเติมเต็มเรื่องของการเดินทาง

แต่ยังมีคำถามว่า ในเส้นเจริญนคร มีการก่อสร้างกระทรวงมหาดไทย แห่งใหม่ แม้จะจุดพลุเรื่องดีมานด์ในการจับจ่ายใช้สอย เรื่องการมีที่อยู่อาศัย แต่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ!!
กำลังโหลดความคิดเห็น