“อิออนฯ” เผยกำไรไตรมาส3ลด จากการเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการตั้งสำรองหนี้สูงที่เพิ่มขึ้น โบรกฯเชื่อ นโยบายเข้มงวด กดผลงานรายได้-กำไร ยังแนะนำทยอยสะสม รอรับการเติบโตในไตรมาสสุดท้าย แม้อานิสงส์จาก e-Receipt อาจไม่เป็นตามคาด
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (AEONTS) นำส่งงบการเงินไตรมาส3/66 สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. 66 โดยสรุปได้ดังนี้ ภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/66 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 2/66 เป็นผลจากการลงทุนภาครัฐ และการอุปโภคภาครัฐ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณ แม้มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
ทำให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 โดยคาดว่าจะขยายตัวช่วงร้อยละ 2.5 ต่ำกว่าคาดการณ์ระยะแรก แม้ปัจจัยสนับสนุนมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเพียง 0.5% และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ลดลงเล็กน้อยก่อนหน้าส่วนหนี้สินครัวเรือนในประเทศต่อ GDP อยู่ในระดับสูงจากร้อยละ 90.70 ในไตรมาสแรกมาอยู่ที่ร้อยละ 90.90
ทำให้ผลประกอบการไตรมาสที่ 3/66 บริษัทฯ มียอดการให้สินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน เป็นผลจากมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น และการทำการตลาดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งจากสภาวะทางเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น
เข้มงวดปล่อยสินเชื่อ
โดยในไตรมาส3/66 และงวด 9 เดือนปี 2566 บริษัทมีรายได้จากงบการเงินรวม 5,405 ล้านบาท และ 16,541 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งรายได้ในไตรมาส3/66 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 5 เนื่องจากในไตรมาสนี้ไม่มีรายได้จากการขายลูกหนี้ที่ตัดจำหน่ายแล้ว
ขณะที่เมื่อเทียบกับงวด 9 เดือนของปีก่อน รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ของบัตรเครดิต ที่เติบโตขึ้นร้อยละ 5 สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงต่ำกว่าสถานการณ์ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด และมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ โดยการคัดสรรการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเช่าซื้ออย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ พบว่า ยอดการให้สินเชื่อบัตรเครดิตในงวด 9 เดือนปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 68 ของยอดการให้สินเชื่อโดยรวม ทำให้ AEONTS มีรายได้จากการให้สินเชื่อบัตรเครดิตในไตรมาส3/66 จำนวน 1,989 ล้านบาท ส่งผลให้งวด 9 เดือนปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เป็น 5,908 ล้านบาท และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของรายได้รวม ซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องของยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตมาจากการเติบโตของการใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้า
ส่วนสินเชื่อเงินกู้ ในงวด 9 เดือนของปีบัญชี 2566 ยอดการให้บริกำรสินเชื่อเงินกู้คิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดการให้สินเชื่อรวม โดยมีรายได้จากงบการเงินรวมไตรมาส3/66 จำนวน 2,411 ล้านบาท และ 7,500 ล้านบาท สำหรับงวด 9 เดือนปี2566 ซึ่งลดลงร้อยละ 4 จากงวดเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ รายได้สินเชื่อเงินกู้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ของรายได้รวม อย่างไรก็ตาม AEONTS ได้ขยายช่องทางการบริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้ามากขึ้น และยังเป็นกำรลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท ทำให้สมาชิกบัตรสามารถทำธุรกรรมสินเชื่อเงินสดหมุนเวียนได้หลากหลายช่องทาง ส่งผลให้การถอนเงินสดโดยไม่ใช้บัตร (Cardless Withdrawal) รวมคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่ำ ร้อยละ 97 ของจำนวนยอดสินเชื่อเงินกู้
สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และรถยนต์มือสองในประเทศไทย และธุรกิจในต่างประเทศ AEONTS ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือและอื่นๆ ในงวด 9 เดือนของปีบัญชี 2566 มีสัดส่วนร้อยละ 6 ของยอดปล่อยสินเชื่อ ทำให้บริษัทมีรายได้ในส่วนนี้ช่วงไตรมาส3/66 จำนวน 249 ล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ส่วนนงวด 9 เดือนปี 2566 มีรายได้จำนวน 737 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5 จากงวดเดียวกันปีก่อน
ขณะที่รายได้อื่นๆของบริษัทในไตรมาส3/66 อยู่ที่ 755 ล้านบาท และ 2,395 ล้านบาทในงวด 9 เดือนปี 2566 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากรายได้หนี้สูญรับคืน 1,360 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากงวดเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงบริษัทฯมีประสิทธิผลของการจัดเก็บหนี้ที่ดีขึ้น ส่วนไตรมาส3/66 บริษัทไม่มีรายได้จากการขายลูกหนี้ โดย AEONTS มีค่าใช้จ่ายในงวดไตรมาส3/66 และงวด 9 เดือนปี 2566 อยู่ที่ 4,524 ล้านบาท และ 13,733 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนปี 2566 จำนวน 2,165 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 8.66 บาท ส่วนไตรมาส3/66 บริษัทมีกำไรสุทธิ 706 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16 จากไตรมาสก่อน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.82 บาท
ขณะที่บริษัทลุกในต่างประเทศ (กัมพูชา พม่า ลาว) มีรายได้และกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนปี 2566 จำนวน 5,883 ล้านบาท และ 160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 272
เป็นผลให้สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 บริษัทฯ มีสินทรัพย์จากงบการเงินรวม 94,333 ล้านบาท ทรงตัวเมื่อเทียบกับสินทรัพย์จำนวน 95,207 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 ก.พ.66 ทั้งนี้ สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อลูกหนี้การค้าสุทธิ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 99.5 ของสินทรัพย์รวม และทำให้ลูกหนี้การค้าในงวด 9 เดือนปี 2566 อยู่ที่ 93,894 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 เนื่องจากบริษัทดำเนินนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง แม้ยอดการใช้บัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ณ วันที่ 30 พ.ย. 66 บริษัทได้ตั้งสำรองเผื่อผลขาดทุนจำนวน 9,488 ล้านบาท ทำให้การด้อยค่าทางด้านเครดิต (ECL) ตาม TFRS9 บริษัทฯ มี NPL Stage 3 ร้อยละ 6.23 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 6.18 ของไตรมาสก่อน แม้จำนวนลูกหนี้การค้าใน Stage 3 จะทรงตัวจากไตรมาสก่อน
แต่เนื่องจากการหดตัวของลูกหนี้การค้าเดิม จึงส่งผลให้อัตราหนี้เสียยังคงไม่ลดลงในทันที โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบริษัท (NPL Coverage ratio) อยู่ที่ร้อยละ 162 ของงบการเงินรวม ลดลงจากร้อยละ 174 จากไตรมาสก่อน แต่ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ ณ วันที่ 30 พ.ย. 66 บริษัทมีหนี้สินจากงบการเงินรวม 70,014 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3 จากสิ้นปีบัญชีก่อน โดยมีเงินกู้ยืมทั้งระยะยาวและระยะสั้นรวม 64,883 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2
นอกจากนี้ มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนคงเหลือ 8,100 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนแบบ committed อีก 3,000 ล้านบาท กับสถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศ และเงินสด 3,159 ล้านบาท ซึ่งเพียงต่อการดำเนินงานของบริษัท
และเป็นผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E ratio) เท่ากับ 2.9 เท่าลดลงจาก 3.1 เท่า ณ วันที่ 28 ก.พ. 66 โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม สำหรับงวด 9 เดือนปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 12.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ
มาตรการคุ้มเข้มกดดันกำไร
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินทิศทางธุรกิจของ AEONTS ว่า คงคำแนะนำ “ถือ” และราคาเป้าหมาย 170.00 บาท อิง FY24E PBV ที่ 1.7x (-1 SD below 5-yraverage PBV) โดยบริษัทรายงานกำไรปกติ (ไม่รวมกำไรจากการขายหนี้เสีย) 3QFY24 ที่ 706 ล้านบาทลดลง -12% YoY แต่ทรงตัว +5% QoQ เป็นไปตามตลาดคาด
โดยเป็นผลของ 1) credit cost ที่เพิ่มเป็น 8.1% เพื่อตัดจำหน่ายหนี้สูญเพิ่มขึ้น และรักษาระดับ NPL ให้ทรงตัวที่ 6.2% และ 2) สินเชื่อทรงตัว -1% YoY, -1% QoQ จากการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ทำให้คงกำไรปกติ FY24E ที่ 2.4 พันล้านบาท ลดลง -30% YoY จากสินเชื่อที่ทรงตัว +3% YoY,ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มเป็น credit cost 9.5% เพื่อรองรับการตัดจำหน่ายหนี้สูญ และ NPL ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ราคาหุ้นใกล้เคียง SET ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากความคาดหวังต่อผลการดำเนินงานที่จะดีขึ้นใน4QFY24E จากการขายหนี้ และได้ผลบวก e-Receipt อย่างไรก็ตามแนะนำเพียง “ถือ” จากcredit cost 4QFY24E ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น/ทรงตัวสูงจาก NPL formation ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง +3% YoY,+12% QoQ,
ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายโครงการ e-Receipt ที่อาจน้อยกว่าคาด เป็นผลของฐานลูกหนี้ส่วนใหญ่ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่เลือกใช้ digital wallet ได้จำนวนร้านค้าที่เข้าร่วม eReceipt น้อยกว่าปีก่อน และเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีอย่างเด่นชัด
นอกจากนี้ สินเชื่อที่อาจจะขยายตัวต่ำคาด จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อควบคุม NPL และการควบคุมธุรกิจที่เข้มงวดขึ้น ทั้งการเพิ่มminimum payment, บังคับใช้ responsible lending และ persistent debt
ด้าน บล. ทรีนีตี้ จำกัด ประเมินว่า คงคำแนะนำ "ถือ" และราคาเป้าหมาย 170.00 บาท อิง FY2024E PBV ที่ 1.7 เท่า (-1 SD below 5-yr average PBV) โดยประเมินกำไรปกติ (ไม่รวมกำไรจากการขายหนี้เสีย) Q3FY24E ที่ 708 ล้านบาท ลดลง -12% YoY แต่ทรงตัว +5% QoQ ต่ำกว่าที่คาดเดิม จาก credit cost และ NPL ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 1) สินเชื่อที่ทรงตัว YoY/QoQ ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ, 2) cost of fund เพิ่มเป็น 3.8% และ 3) credit cost ที่สูง 8.4% จากการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เพิ่ม เพื่อรักษาระดับ NPL ให้ทรงตัว 6.3%
ทำให้คงกำไรปกติ FY2024E ที่ 2.44 พันล้านบาท (-30% YoY) จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายสำรอง เพื่อตัดจำหน่ายหนี้สูญมากขึ้น ขณะที่สินเชื่อจะทรงตัวจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อควบคุม NPL
ส่วนราคาหุ้น underperform SET -13% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และใกล้เคียง SET ในช่วง 1 และ 3 เดือน ซึ่งสะท้อนผลการดำเนินงานที่ยังไม่กลับมาดีขึ้นในเร็ววันแล้ว ทำให้คงแนะนำ "ถือ" จากผลการดำเนินงานที่จะเริ่มกลับมาดีขึ้นใน 4QFY24E จากรับรู้กำไรการขายหนี้
อย่างไรก็ตามประเมินว่าบริษัทจะได้ผลบวกโครงการ e-Receipt น้อยจากฐานลูกหนี้ส่วนใหญ่ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถเลือกใช้ digital wallet ได้, สินเชื่อที่มีโอกาสขยายตัวต่ำกว่าคาด จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อควบคุม NPL ไม่ให้สูง และกดดันจากความกังวลต่อการควบคุมที่เพิ่มขึ้นในปี 2024 ทั้งเริ่มปรับเพิ่มอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำขึ้นเป็น 8% (เดิม 5%) และบังคับใช้ responsible lending ใน ม.ค. 2024 รวมทั้ง persistent debt ใน เม.ย. 2024 ที่ประเมินว่ามีโอกาสที่ลูกหนี้จะเข้าร่วมโครงการคาดประมาณ 2-5%
ด้าน บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า AEONTS รายงานกำไร3Q66 ลดลง 36% y-y และ 16.1% q-q จากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง ตามการหดตัวของสินเชื่อ รายได้ขายลูกหนี้ตัดจำหน่ายลดลง การตั้งสำรองสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นด้วย และรายได้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมลดลง ถึงแม้ว่าการตั้งสำรอง และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม
ทั้งนี้ สินเชื่อของ AEONTS ใน 3Q66 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ถึงแม้ว่าสินเชื่อเช่าซื้อยังคงเติบโตได้ดี5.6% q-q แต่การหดตัวลงของสินเชื่อเงินกู้ยืม และสินเชื่อบัตรเครดิตทำให้สินเชื่อไม่ เติบโต นอกจากนี้ NPL ของ AEONTS ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอยุ่ โดยเพิ่มขึ้นเป็น 6.23%จากไตรมาสก่อนที่มี NPL อยู่ 6.18%
อย่างไรก็ ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของ NPL นั้นลดลงจากไตรมาสก่อนอย่างมีนัยสำคัญทำให้AEONTS ลดระดับการตั้งสำรองลงในไตรมาสนี้ เป็นเหตุให้ปรับประมาณการกำไรปี66 ลงเหลือ 2.9 พันล้านบาท ลดลง24.3% y-y แต่ยังคงประมาณการปันผลไว้ที่ 5.50 บาท/หุ้น จึงปรับไปใช้ราคาพื้นฐานปี67 ที่ 159 บาท แนะนำ “ทยอยซื้อ”