กลุ่มโรงพยาบาลคึกคักอีกครั้ง รับผลมาตรการรัฐหนุน ทั้งฟรีวีซ่า และยกระดับ 30 บาท รวมถึง รพ.ประกันสังคมได้ผลบวกจากการปรับขึ้นค่าหัว คาดไตรมาส 3 ผลประกอบการส่วนใหญ่จะเติบโตขึ้นทั้งเทียบปีก่อนและไตรมาสก่อน สะท้อนถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่ง จากทั้งจำนวนผู้ป่วย และ intensityของเคส ขณะการบริหารจัดการต้นทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดันผลงานสดใส โบรกฯ ประสานเสียง “เพิ่มน้ำหนัก” การลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ ยกให้ BDMS-BH- BCH- CHG เด่น
กลุ่มโรงพยาบาลคึกคักอีกครั้ง รับผลมาตรการรัฐหนุน ทั้งฟรีวีซ่า และยกระดับ 30 บาท รวมถึง รพ.ประกันสังคมได้ผลบวกจากการปรับขึ้นค่าหัว คาดไตรมาส 3 ละไตรมาสก่อน สะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่ง จากทั้งจำนวนผู้ป่วย และ intensityของเคส และกลุ่ม รพ.ประกันสังคมได้ผลบวกจากการปรับขึ้นค่าหัว ขณะการบริหารจัดการต้นทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนุนผลงานสดใส โบรกฯ ประสานเสียง “เพิ่มน้ำหนัก” การลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ ยกให้ BDMS-BH- BCH- CHG
หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลคึกคักอีกครั้ง จากก่อนหน้าที่สดใสขึ้นยกแผง เพราะสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีเหมาจ่ายให้แก่ สถานพยาบาลคู่สัญญาในอัตรา 1,808 บาท ต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนต่อปี เพิ่ม 10.2% จาก 1,640 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2566 เป็นต้นมา กลายเป็นแรงหนุน หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้ธุรกิจของโรงพยาบาลส่วนใหญ่กลับไปอยู่ระดับก่อนโควิดระบาดแล้ว โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้คนไข้ต่างชาติกลับเข้ามา
ล่าสุด มาตรการฟรีวีซ่าและการยกระดับมาตรการ 30 บาทที่รัฐออกเป็นนโยบายเร่งด่วน ในช่วงเวลาของไตรมาส 3 ที่ระบาดของหลายๆ โรคช่วงฤดูฝน ปัจจัยเหล่านี้จะหนุนให้โรงพยาบาลได้รับอานิสงส์เต็ม ๆ ดังนั้นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายสำนัก มองหุ้นกลุ่มนี้จะมีผลประกอบการไตรมาส 3 แข็งแกร่งและจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดในรอบปีนี้ของกลุ่มโรงพยาบาล
บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) หรือ บล.เคจีไอฯมองหุ้น Healthcare Sector ให้คำแนะนำ "Overweight" เพราะไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดรออยู่ข้างหน้า ทั้งนี้จากผลประกอบการไตรมาส 2 ปี66 กำไรสุทธิรวมของ 6 บริษัทในกลุ่มอยู่ที่ 5.3 พันล้านบาท ลดลง 10.7% เทียบปีก่อนและลดลง 5.5% เทียบไตรมาสก่อน
โดยบริษัทในกลุ่มโรงพยาบาลที่ บล.เคจีไอฯ ศึกษาอยู่มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนดังนี้คือ BCH งวดนี้อยู่ที่ 284 ล้าน บาท ลดลง 75.1% ,BDMS กำไรอยู่ที่ 3.06 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.0% , BH กำไรอยู่ที่ 1.74 พันล้าน เพิ่มขึ้น 49.9% , CHG อยู่ที่ 206 ล้านบาท ลดลง 76.5% , EKH กำไร 26 ล้านบาท ลดลง 46.5% แต่หากไม่รวมรายการพิเศษ 45 ล้านบาท จากการปรับมูลค่ายุติธรรม (fair value) ของ The Klinique Medical Center (KLINIQ.BK/KLINIQ TB) กำไรปกติของ EKH จะอยู่ที่ 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.4% และ LPH ไตรมาส 2 ปีนี้อ่อนแอมาก โดยอยู่ที่ 6 ล้านบาท เท่านั้นหรือลดลง 92.0%
ทั้งนี้ คาดว่าผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะแข็งแกร่งในไตรมาส 3 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดในรอบปีนี้ของกลุ่มโรงพยาบาล หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ผ่านไปแล้ว ซึ่งธุรกิจของโรงพยาบาลส่วนใหญ่กลับไปอยู่ระดับก่อนโควิดระบาดแล้ว โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ BH ได้อานิสงส์มากที่สุดจากประเด็นนี้ โดยกำไรสุทธิในไตรมาส 2 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1.75 พันล้านบาท เพราะรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนถึง 66% บล.เคจีไอฯ คาดว่ากำไรของ BH จะทำสถิติสูงสุดใหม่ในไตรมาส 3 จากการที่จำนวนผู้ป่วย และintensity เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งคู่ในช่วง high season
ขณะที่โรงพยาบาลใหญ่มีแนวโน้มแข็งแกร่งในครึ่งปีหลัง บล.เคจีไอฯ มองบวกมากขึ้นกับแนวโน้มของโรงพยาบาลใหญ่ในช่วงสองไตรมาสข้างหน้า เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ,รายได้ต่อบิลมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เพราะการรักษาพยา บาลมีความซับซ้อนมากขึ้นหลังสถานการณ์โรคระบาด, มีplatform ที่แข็งแกร่งสำหรับการรักษาที่หลากหลาย และได้อานิสงส์จากการใช้งานสินทรัพย์
ส่วนโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กจะได้อานิสงส์จากปัจจัยฤดูกาลในไตมาส 3 ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กจะดูไม่โดดเด่นเท่าโรงพยาบาลใหญ่ แต่ผลประกอบการก็น่าจะดีขึ้นเทียบครึ่งปีแรกต่องวดครึ่งปีหลัง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ บล.เคจีไอฯ คาดว่าไตรมาส 3 จะเป็นไตรมาสที่ผลประกอบการของโรงพยาบาลส่วนใหญ่แข็งแกร่งที่สุด โดยจะโตทั้งเทียบปีก่อนและไตรมาสก่อน สะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของทั้งจำนวนผู้ป่วย และ intensityของเคส รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น บล.เคจีไอฯ ยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่ Overweight โดยเลือก BDMS และ BH เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มนี้ และประเมินราคาเป้าหมาย DCF ปี2023 ที่ 36.50 บาท และ 300 บาท ตามลำดับ
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย ) หรือ บล.หยวนต้าฯ แนะนำ "Overweight" หุ้นกลุ่ม - HEALTHCARE เพราะคาดผลประกอบการกลุ่ม รพ.ในครึ่งปีหลังเติบโตทั้งเทียบครึ่งปีและเทียบปีก่อน เป็นการเติบโตจากฐานรายได้เดียวกันกับปีก่อน ซึ่งรายได้เกี่ยวกับโควิด-19 เริ่มลดลง ขณะที่กลุ่มลูกค้าเงินสดกลับมาจาก Pent up demand และการกลับมาของคนไข้ต่างชาติ ขณะที่กลุ่ม รพ.ประกันสังคมได้ผลบวกจากการปรับขึ้นค่าหัว จึงมีมุมมองนโยบายรัฐบาล ทั้งเร่งด่วน และระยะกลางถึงยาวเป็นบวกต่อกลุ่ม รพ. อาทิ มาตรการฟรีวีซ่า และยกระดับมาตรการ 30 บาทเป็นต้น
ดังนั้น บล.หยวนต้าฯ ปรับน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม รพ. จากเดิม“เท่ากับตลาด” เป็น“มากกว่าตลาด” เพราะมองว่าตลาดรับรู้ผลประกอบการที่อ่อนแอในครึ่งปีแรกไปแล้ว ขณะที่คาดผลประกอบการส่วนใหญ่จะกลับมาเติบโตเมื่อเทียบปีก่อนและครึ่งปีหลัง ขณะในปี 2567 จะเป็นการปรับฐานกำไรสู่ระดับปกติซึ่งคาดกำไรกลับมาเติบโตจากปีก่อน 10%
โดย เลือก BDMS (TP@ 37.40)เป็น Top pick รพ.ขนาดใหญ่ ด้วยแนวโน้มกำไรในครึ่งปีหลังที่คาดเติบโตดีต่อเนื่อง รับผลบวกจากการกลับมาของกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติและ บล.หยวนต้าฯ เลือก EKH (TP@ 10.80) เป็น Top pick รพ.ขนาดเล็ก คาดครึ่งปีหลัง กำไรฟื้นเด่น ทั้งจากฟื้นตัวของกลุ่มคนไข้ปกติ โดยเฉพาะศูนย์กุมารเวช ที่อัตราการครองเตียงในไตรมาส 3 ปี 66 ขึ้นไปสูงถึง 110% และการกลับมาของคนไข้จีนที่เดินทางมารักษา IVF
บล.กรุงศรี พัฒนสิน หรือ บล.กรุงศรี ฯ แนะนำ "POSITIVE" หุ้นกลุ่ม HEALTHCARE SECTOR เพราะรายได้โรงพยาบาลจะกลับสู่ฤดูกาลปกติโดยไตรมาส 2 จะเป็นไตรมาสที่น้อยที่สุดในรอบปีเพราะการแพร่ระบาดของโรคน้อยในฤดูร้อน และจำนวนผู้ป่วยต่างลดลงในช่วงเทศกาลรอมฎอน รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับโรคตามฤดูกาล (เลสิค, เสริมความงาม, ศัลยกรรมพลาสติก) และโควิด-19 จะช่วยบรรเทาผลกระทบในไตรมาส แต่ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 จะสูงที่สุด เพราะมีการระบาดหลายโรค, ผู้ป่วย ต่างชาติกลับมาใช้บริการ และรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจาก SSO ปรับ ขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัว แพทย์จบใหม่ลาออกจำนวนมากขึ้นสวนทางกับการขยายโรงพยาบาลจะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ และการ แข่งขันจะเข้มข้นขึ้นในอนาคต บล.กรุงศรี เลือก BDMS เป็นหุ้นเด่นในแง่ของการกระจายธุรกิจและแนวโน้มการเติบโต
สำหรับการที่ไตรมาส 2 รายได้จะต่ำที่สุดของปีเพราะช่วงหน้าร้อนมีการระบาดของโรคน้อย รายได้จากเลสิค และศัลยกรรมเสริมความงาม สนับสนุนจากวันหยุดนักขัตฤกษ์และรายได้โควิด-19 จะช่วยบรรเทาผลกระทบ แต่ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด ขณะไตรมาส 3 รายได้จะสูงสุดของปี เนื่องจากการระบาดของหลายๆ โรคในช่วงฤดูฝน (ต่อมทอนซิลอักเสบ, ไข้หวัดใหญ่, มือเท้าปาก, ไข้เลือดออก, ตาแดง) จากสถิติพบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะ ต่ำที่สุดในไตรมาส 2 และสูงที่สุดในไตรมาส 3, ผู้ป่วยชาวตะวันออกกลาง และตลาดใหม่ ๆ(ซาอุดิ อาระเบีย และลิเบีย) เดินทางมาใช้บริการมากขึ้น รวมถึงลูกค้าจีนมาใช้บริการ IVF เพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลเมืองปักกิ่งอนุญาตให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยว IVF รวมใน ประกันขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เชื่อหุ้นกลุ่มหลักที่จะได้อานิสงส์จาก ประเด็นนี้คือ EKH, PR9, BDMS ฯลฯ รวมทั้งจะรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากการที่ SSO ขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัว หรือเพิ่มขึ้น 10% เป็น 1,808 บาท/คน/ปีเริ่ม 1 พ.ค. ซึ่ง BCH และ CHG จะได้อานิสงส์มากที่สุด เพราะขยายโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง คาดจำนวนเตียงจดทะเบียนของโรงพยาบาลจะเพิ่มขึ้น 2,485 เตียง เป็น170,048 เตียง (รัฐ:เอกชน 78:21) ภายในปี 68 และหลังจากนั้นจะเพิ่มอีก 1,529 เตียง นอกจากนี้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ยังขยายศูนย์โรคเฉพาะทาง (COE) เพื่อให้ครอบคลุมโรคซับซ้อนซึ่งมีอัตรากำไรขึ้นต้นสูง และวิถีชีวิต (IVF, wellness, เสริมความงาม, ศัลยกรรมพลาสติก และการดูแลผู้สูงอายุ) นอกจากนี้ จำนวนผู้ป่วย โรคมะเร็งและโรคไตเพิ่มขึ้น และสปสช.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ มีส่วนสนับสนุนให้โรงพยาบาลศูนย์โรคเฉพาะทางสองสาขานี้
อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนแพทย์ เพราะมีรายงานว่าแพทย์จบใหม่ 900 คน (จากทั้งหมด 2,759 คน) ลาออกในครึ่งแรกปี 66 ซึ่งสูง กว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 454 คน อาจทำให้แผนการขยายโรงพยาบาลสะดุด ประเทศไทยมีความต้องการแพทย์ปีละ 2,055 คน แต่มีแพทย์ใหม่เพียง 1,800-1,900 คนเท่านั้น หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ และการแข่งขันเข้มข้นขึ้น