xs
xsm
sm
md
lg

สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตล์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประวัติความเป็นมา

พื้นที่ของอิสราเอลในปัจจุบัน สมัยก่อนเป็นพื้นที่ของปาเลสไตล์ ที่อยู่มาหลาย 100 ปี ซึ่งการที่อิสราเอลมาตั้งรกรากบนพื้นที่ตามพันธสัญญา ทำให้ชาวปาเลสไตล์เป็นผู้ไร้รัฐ และต้องอพยพออกจากพื้นเดิมของตัวเอง ที่มีชื่อใหม่ว่าอิสราเอล ซึ่งชาวปาเลสไตล์ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทำให้ชาติอาหรับในพื้นที่ใกล้เคียงไม่พอใจและประกาศสงครามกับอิสราเอลไปด้วย

ความไม่เป็นธรรม

เกิดหลายเหตุการณ์กับชาวยิว ที่รู้สึกไม่เป็นธรรม เพราะมีศาสนาที่แตกต่างกัน อย่างเหตุการณ์การตัดสินคดีที่ไม่เป็นธรรมต่อคนที่มีเชื้อสายยิว ทำให้มองว่าสังคมยุโรปเนี่ยมีอคติกับชาวยิวค่อนข้างยาวนาน

แนวคิดชาวยิว

แนวความคิดที่ว่าชาวยิวจะต้องมีดินแดน/รัฐเป็นของตนเอง ซึ่งมันก็คือดินแดนพันธสัญญา ตามคำสอนของศาสนายิว ทำให้ชาวยิวเริ่มคิดถึงการมีรัฐเป็นของตนเอง หลังจากนั้นมีข้อตกลงว่าดินแดนพันธสัญญาของชาวยิวก็คือดินแดนส่วนนึงของปาเลสไตล์จะถูกตัดออกมาให้ชาวยิว ซึ่งในขณะชาวยิวก็ได้กระจายตัวอยู่ทั่วยุโรป มีเพียง 3% ที่อยู่ในพื้นที่พันธสัญญาจริงๆ

จุดเริ่มต้นของการย้ายพื้นที่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่1: อังกฤษได้เข้ามาดูแลพื้นที่ส่วนนี้

ขณะนั้นเองชาวยิวทั่วยุโรปก็กำลังจะย้ายถิ่นฐานเข้าไปในพื้นที่พันธสัญญา แต่ถูกกีดกันจากอังกฤษ เนื่องจากกลัวปัญหาตามมา ถ้ารับชาวยิวเข้ามาในพื้นที่ดูแลของตนเอง

สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2: การย้ายถิ่นฐานเริ่มกลับมาถูกกดดันจากชาวยิวทั่วโลก เพื่อจะได้เข้ามาสถาปนาพื้นที่ตรงนั้นเป็นของตนเอง ย้ำว่าต้องเป็นพื้นที่ตรงนั้นเท่านั้น ขณะนั้นเองสหประชาชาติก็ได้รับบทบาทให้มาดูแลพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาชาวยิวจำนวนมากก็ได้หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ บุคคลกลุ่มแรกส่วนมากเป็นปัญญาชน เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ

จุดเริ่มต้นการแบ่งพื้นที่

หลังจากที่ชาวยิวได้หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่อิสราเอลในปัจจุบันทำให้สหประชาชาติก็ได้แบ่งพื้นที่เป็นรัฐอิสราเอล และอีก 2 ส่วน คือ Gaza และ West bank เป็นพื้นที่ของชาวปาเลสไตล์ เหมือน 2 ชาติอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ชนวนของเหตุคือการชักธงอิสราเอลขึ้นสู่เสา ในพื้นที่ของชาวปาเลสไตล์ ทำให้เกิดความไม่พอใจ ทั้งรัฐอาหรับใกล้เคียงและชาวปาเลสไตล์ อีกทั้งการที่สหประชาชาติรับรองอิสราเอลในฐานะรัฐเกิดใหม่กับฝั่งสันนิบาตรอาหรับที่ต่อต้าน เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความขัดแย้ง


ความขัดแย้งได้ถือกำเนิดขึ้น

1949: ความขัดแย้งครั้งที่1 เริ่มต้นขึ้น ซึ่งสันนิบาตอาหรับ (เลบานอน ซีเรีย จอแดน อียิปต์) ประกาศสงครามกับอิสราเอล ซึ่งความขัดแย้งครั้งนี้กินเวลา 10 เดือน จบที่อิสราเอลชนะ ทำให้ชาวปาเลสไตล์ต้องอพยพออกนอกพื้นที่

1952 : ความขัดแย้งครั้งที่ 2 อียิปต์เกิดปัญหาความขัดแย้งภายใน อีกทั้งยังเกิดการประกาศยึดคลองสุเอชจากต่างชาติ ซึ่งอียิปต์ในขณะนั้นไม่ยอม และพร้อมรบ สะท้อนว่าอียิปต์จะไม่อยู่ใต้ใครอีกต่อไป การประกาศในรูปแบบนี้ทำให้อียิปต์ขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกอาหรับโดยสมบูรณ์แบบ เกิดศึกการแย่งคลองสุเอช เกิดการรุกรานอียิปต์จากอังกฤษ,ฝรั่งเศส(ศึกทางเหนือ),อิสราเอล(ตะวันออก)

สถานการณ์ได้พลิกผันเข้าข้างอียิปต์:สหรัฐเข้ามาเป็นมือที่3 ว่าถ้ารุกรานอียิปต์จะไม่เข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลของอังกฤษ (ปอน์ด) ทำให้3ชาติติองถอนทัพ หันไปซื้ออาวุธกับชาติโซเวียต ซึ่งได้รับอาวุธสงครามใหม่ๆ เช่น เครื่องบิน mig 21, รถถัง (อิสราเอล=รัฐยิวเกิดใหม่)

5 มิถุนายน 1967 :ความขัดแย้งครั้งที่3 โดยอิสราเอลขนเครื่องบินเต็มกำลังพร้อมอาวุธเข้าไปทำลายฐานทัพของอียิปต์ ซึ่งส่วนมากจะทำลายเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ เพื่อลดแสนยานุภาพของมัน อีกทั้งฝั่งตะวันออก อิสราเอลทำลายฐานทัพอากาศของจอแดน ซีเรีย (พันธมิตรอียิปต์) กาซ่า ,west bank และยึดที่ราบสูง Golan เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ (พื้นที่อธิปไตยของซีเรีย) มีการจับตัวประกัน 1 ล้านคน บทสรุปอิสราเอลได้พื้นที่มากกว่าเดิม 3 เท่าของพื้นที่เดิม ซึ่งสันนิบาตรอาหรับแพ้ สูญเสียคาบสมุทร Sinai และที่ราบสูง Golan

หนทางสร้างสันติภาพ

อิสราเอลต้องคืนคาบสมุทรไซนายให้อียิปต์และที่ราบสูงโกลันให้ซีเรีย แต่ขณะนั้นอียิปต์และซีเรียพร้อมทำสงครามเพื่อชิงพื้นที่เดิมคืน ขณะที่อิสราเอลก็กำลังระดมพลเพื่อป้องกันการทำสงคราม (จะไม่เปิดสงครามก่อน) ต่อมาอียิปต์และซีเรียเปิดสงครามชิงคืนพื้นที่ใส่อิสราเอลก่อนเลย ซึ่งทางอียิปต์และซีเรียได้อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่จากสหภาพโซเวียต ทางสหรัฐเลยเติมอาวุธใหม่ให้กับอิสราเอลเหมือนกัน

สุดท้ายสหประชาชาติต้องเข้ามาช่วยในการยุติความขัดแย้งในครั้งนี้ สันติภาพในครั้งนั้นทำให้รัฐอิสราเอลมั่นคงขึ้น แต่ชาวปาเลสไตล์ยังคงเป็นคนไร้รัฐเหมือนเดิม

Oslo accord

ปี 1993 จุดประสงค์คือให้ 2 ประเทศ (อิสราเอลและปาเลสไตล์:PLO) กำหนดเขตแดนของตนเอง และการปกครองตามที่ตกลงกันไว้ ต่อมาก็มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างจอแดนและอิสราเอล ถึงแม้จะมีขบวนการสันติภาพต่างๆ แต่แต่ละฝั่งก็ไม่ยอม ไม่พอใจ เพราะว่าต้องการดินแดนที่เป็นของตนเองจริงๆ

ชาวปาเลสไตล์ต้องการเดินหน้าในการเอาพื้นที่ชนวนgaza และwest bank ดังกล่าวกลับคืนมา ดูได้จากการเลือกตั้งรัฐบาลของปาเลสไตล์ ซึ่งได้เลือกกลุ่ม hamaz เข้ามาสู่อำนาจ ความขัดแย้งยังคงเดินหน้าอยู่เหมือนเดิม

เหตุการณ์ในตะวันออกกลางกับการลงทุน

สำหรับประเด็นความขัดแย้งในรอบนี้ของอิสราเอลและกลุ่มฮามาส สะท้อนภาพสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ยังตึงเครียด และบานปลายมากขึ้น ซึ่งเห็นจากหลายประเทศเริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว โดยในระยะสั้นจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกดีดตัวแรง โดยน้ำมันดิบ Brent กลับมาทะลุระดับ 90 เหรียญต่อบาร์เรล อีกครั้ง เช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับขึ้นใกล้ระดับ 2,000 เหรียญต่อออนซ์ ซึ่งทำให้เกิดแรงขายลดเสี่ยงในตลาดหุ้นทั่วโลก

โดยล่าสุดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ พยายามเข้ามาเจรจาเพื่อลดความร้อนแรงของสถานการณ์ดังกล่าว โดยเราเชื่อว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้แม้ยังคงดำเนินต่อไป แต่ผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในช่วงถัดไปจะน้อยลงไปเรื่อยๆ คล้ายกับกรณีการปะทะกันระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งแม้เหตุการณ์ยังดำเนินต่อไป แต่ปัจจุบันตลาดแทบจะไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้เลย ซึ่งคาดจะเกิดขึ้นกับเหตุการณ์อิสราเอล และฮามาสเช่นกัน ดังนั้นเรามองเป็นโอกาสสะสมหุ้นที่พื้นฐานดี กำไรเติบโต และ Valuation อยู่ในระดับที่น่าดึงดูดมากขึ้น

โหลดแอปฯ '𝗟𝗶𝗯𝗲𝗿𝗮𝘁𝗼𝗿' และสมัครเปิดบัญชีได้ที่นี่เลยนะคะ https://liberator.onelink.me/xlnX/9n98dj7c

#หุ้นไทย #TFEX #การเงิน #การลงทุน #Liberator #LiberatorResearch #War

บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลก-0151-01 และการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ใบอนุญาตเลขที่ ส1-0151-01
#โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน
𝗘𝗾𝘂𝗮𝗹𝗶𝘁𝘆 𝗳𝗼𝗿 𝗮𝗹𝗹.

กำลังโหลดความคิดเห็น