xs
xsm
sm
md
lg

"จุลพันธ์" ปรับ 3 เงื่อนไขแจกเงินดิจิทัล 10000 บาท ชี้เกณฑ์มีเงินฝาก 1 แสนบาท นับเป็น "คนรวย"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
"จุลพันธ์" รมว.ช่วยคลังชงเงื่อนไข 3 เกณฑ์แจกเงินดิจิทัลใหม่ แยก "คนจน-คนรวย" เตรียมสรุปเสนอคณะกรรมาธิการชุดใหญ่สัปดาห์หน้า

วันนี้ (26 ต.ค.2566) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท หลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตว่า ที่ประชุมได้มีการข้อสรุปเงื่อนไขบางประเด็นเพื่อให้เม็ดเงินเข้าถึงประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง โดยพบว่ายังมีข้อขัดแย้งในสิทธิ์ของประชาชนในหลากหลายฐานะ อาชีพ รายได้ ซึ่งทางที่ประชุมเตรียมที่จะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธาน กำหนดรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

สำหรับมติที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน คือ กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยมีข้อเสนอในการกำหนดกลุ่มผู้ที่จะได้รับสิทธิ โดยจะมีการกำหนดในการคัดกรองคตุณสมบัติประชาชนบางเงื่อนไขที่จัดเป็น "กลุ่มคนรวย" ออกจากการได้รับสิทธิ์ดังกล่าว ใน 3 แนวทาง คือ

1.ตัดสิทธิ์ที่มีรายได้/เงินเดือนๆละ 25,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชีตั้งแต่ 1 แสนบาท (จะเหลือผู้ที่ได้รับสิทธิ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท)

2.ตัดสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้เกินเดือนละ 50,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชีตั้งแต่ 5 แสนบาท (จะทำให้เหลือผู้ได้รับสิทธิเพียง 49 ล้านคน และใช้งบประมาณเพียง 4.9 แสนล้านบาท)

3.จ่ายเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 15-16 ล้านคน ใช้งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท

โดยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็นเกณฑ์การพิจารณาตัดออกเป็นกลุ่มแรก เนื่องจากไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง และถือว่าเป็น "คนรวย" ซึ่งมีความพร้อมทางสังคมมากกว่า

ทั้งนี้ 3 แนวทางดังกล่าว จะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานตัดสินใจอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

ส่วนเกณฑ์รัศมีการใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอ ซึ่งไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะมีการกระจุดตัวของเม็ดเงิน และยังมีร้านค้าเพียงพอให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย โดยระบบการขึ้นเงินของร้านค้าจะต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่อยู่ในระบบภาษีที่ประชุมมีความเห็นตรงกัน

ด้านระบบการยืนยันตัวตนที่จะนำมาใช้นั้น ที่ประชุมความเห็นตรงกันจะต้องดำเนินการตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้กับผู้ที่เคยได้ใช้สิทธิโครงการของรัฐผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ต้องยืนยันตัวตน ส่วนผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการต้องยืนยันตัวตน

ส่วนร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ จะมีการเปิดให้ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค เป็นต้น เข้ายื่นแสดงความต้องการตามลำดับไป

สำหรับการดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นของโครงการที่จะใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 นั้น อาจจะให้โครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดำเนินการได้ล่าช้า ตามที่ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณมีผลบังคับใช้ล่าช้า จึงเป็นไปได้ว่าโครงการเติมเงินดิจิทัล จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567


กำลังโหลดความคิดเห็น