รมช.คลัง เผยแผนการเดินหน้าแจกเงินดิจิทัล 10000 บาท (หรือประมาณ 276 เหรียญสหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้กับประชาชนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นั้นมีความล่าช้าจากกรอบเวลาเดิม และอาจล่วงเลยถึงไตรมาส 2 ของปี 67
นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนการของรัฐบาลไทยที่จะแจกจ่ายเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาท (หรือประมาณ 276 ดอลลาร์) ให้กับประชาชนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นั้นล่าช้าออก เนื่องจากต้องใช้เวลามากขึ้นในการพัฒนาระบบที่ปลอดภัย ซึ่งการเลื่อนออกไปเป็นสิ่งจำเป็น
นายจุลพันธุ์ยืนยันว่า การแจกเงินดิจิทัลดังกล่าวจะยังคงเกิดขึ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2567
ขณะที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากประชาชนที่ได้รับเงินดิจิทัลดังกล่าวนี้จะสามารถช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชาชน และผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นได้ 5% ในปีหน้า โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากรายได้ภาษีที่สูงขึ้นบางส่วน
อย่างไรก็ตาม มีการหยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงระดับหนี้สาธารณะของประเทศที่มีอยู่ เนื่องจากต้องใช้เม็ดเงินเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณของโครงการนี้อยู่ที่ 5.6 แสนล้านบาท และยังคงมีการหารือเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้การแจกเงินดิจิทัลซึ่ง แต่เดิมวางแผนไว้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่พลเมืองไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
ด้านรสนา โรสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นคำร้องเพื่อตรวจสอบโครงการแจกเงินบาทดิจิทัล โดยกล่าวหาว่าอาจเป็นอันตราย
“โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เทียบได้กับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งส่งผลให้รัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนถูกจำคุก” โรสิตตระกูล กล่าว
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคน รวมถึงอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการนี้ต่อเศรษฐกิจ