นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เหลือ 3.1% จากเดิม 3.9% จากข้อมูลจริงไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าคาดมากและการส่งออกสินค้าที่หดตัวแรงต่อเนื่อง แต่ยังมีแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยฟื้นตัวดีตามประมาณการ 30 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางที่เร่งตัวและเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่งผลให้ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่อง ช่วยลดความเปราะบางในตลาดแรงงาน
สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน การลงทุนภาคเอกชนที่จะขยายตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการอนุมัติการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) และการส่งออกที่จะกลับมาฟื้นตัว
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะมีแนวโน้มเร่งขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 1.7% และ 2% ในปี 2566 และปี 2567 ตามลำดับ เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวที่ 1.4% และ 1.5% ในปีนี้และปีหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ SCB EIC คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินช่วงปลายเดือน ก.ย. สู่จุดสูงสุดของวัฏจักรดอกเบี้ย (Terminal rate) รอบนี้ที่ 2.5% ตามเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อที่ยังมีแรงกดดันจากราคาพลังงานและอาหารที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงจะกลับเป็นบวกได้ ช่วยสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวจากการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน
**ศก.จีนยังเสี่ยง-ภัยแล้งหนัก**
มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูง (Uncertain) จากแรงกดดันสำคัญ เช่น (1) เศรษฐกิจจีนเติบโตชะลอลง กระทบการส่งออกไทยบางกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดจีนสูง และเป็นส่วนหนึ่งของ Supply chain จีน รวมถึงผลกระทบต่อ FDI จากจีนอาจชะลอลงบ้าง และอาจกระทบกำลังซื้อจากจีนในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยบาง Segments และ (2) วิกฤตภัยแล้ง ในกรณีฐานภัยแล้งจะเกิดรุนแรงที่สุดในรอบ 41 ปี ในหลายพื้นที่ โดยประเมินว่า ภัยแล้งในกรณีฐานจะทำให้ GDP ไทยลดลง -0.14 pp ในปี 2566 และ -0.36 pp ในปี 2567 และเงินเฟ้อสูงขึ้น +0.18 pp ในปี 2566 และ +0.45 pp ในปี 2567
"เราห่วงเศรษฐกิจจีนมากกว่าเศรษฐกิจโลก เพราะเศรษฐกิจจีนมีความใกล้ชิดกับเรามาก ตอนนี้คนซื้อของจีนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเรามาก เราจะเห็นได้จากเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยแทน ซึ่งกว่าจะเห็นผลที่จะช่วยกลับมาให้ส่งออกไทยดีขึ้นคงอีก 3-4 ปีข้างหน้า ดังนั้น การส่งเสริมให้การลงทุนในประเทศเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ"
**ห่วงมาตรการกระตุ้นระยะสั้น-สร้างความเปราะบางระยะยาว**
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล หากออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายครั้งใหญ่ เช่น Digital wallet เศรษฐกิจไทยปีหน้าอาจขยายตัวได้เกิน 5% ชั่วคราว แต่ต้องแลกด้วยต้นทุนการคลังในระยะยาว เม็ดเงินกระตุ้นการใช้จ่ายครั้งใหญ่หลายแสนล้านบาทสามารถนำมาใช้ยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย เพื่อหาเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากแผลเป็นหลังวิกฤตโควิด รวมถึงการปรับห่วงโซ่อุปทานโลกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การใช้เม็ดเงินภาครัฐจำนวนมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจะบั่นทอนความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ส่งผลให้หนี้สาธารณะสูงเกินเพดานหนี้ที่ 70% ของ GDP เร็วขึ้นประมาณ 2 ปี ซึ่งอาจจะกระทบพื้นที่การคลังเพื่อรองรับความไม่แน่นอนข้างหน้าและเสถียรภาพการคลังของประเทศได้
SCB EIC มองนโยบายเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าควรให้ความสำคัญกับ (1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมการแข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลจริงของ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าฯ และผลักดันให้ไทยเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจไทยได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นและเพิ่มความสำคัญบนห่วงโซ่อุปทานโลก
และ (2) การส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน ผ่านการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระบบภาษีที่บิดเบือนแรงจูงใจของภาคธุรกิจและครัวเรือน
"ปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ เห็นได้จากไส้ในของจีดีพีที่ดีก็ดีกว่าคาดมาก อย่างการบริโภคเอกชนโตถึง 6.1% ส่วนที่แย่ก็แย่กว่าที่คาดมากอย่างส่งออก ทำให้การฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมที่มีอยู่แล้วจะมากขึ้น ดังนั้น การกระตุ้นระยะสั้นไม่สำคัญเท่าการปรับโครงสร้างเพื่อการเติบโตระยะยาว อย่าง นโยบายของรัฐบาลที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง คือกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งหากสามารถทำได้จริงจากเม็ดเงินที่ใช้กว่า 5 แสนล้านบาท จะดันจีดีพีปีหน้าไปแตะ 5-6% ได้เลย แต่จะเป็นในระยะสั้นแล้วจะตกลงมาที่เดิม แต่ผลในระยะยาวคือหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น และทำให้เกิดความเปราะบางต่อโครงสร้างโดยรวมในระยะยาว"
สำหรับมุมมองปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเร่งขึ้นที่ 3.5% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 37.7 ล้านคน การลงทุนภาคเอกชนที่จะขยายตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการอนุมัติการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) และการส่งออกที่จะกลับมาฟื้นตัว
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะมีแนวโน้มเร่งขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 1.7% และ 2% ในปี 2566 และปี 2567 ตามลำดับ เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวที่ 1.4% และ 1.5% ในปีนี้และปีหน้า ตามลำดับ ทั้งนี้ SCB EIC คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินช่วงปลายเดือน ก.ย. สู่จุดสูงสุดของวัฏจักรดอกเบี้ย (Terminal rate) รอบนี้ที่ 2.5% ตามเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อที่ยังมีแรงกดดันจากราคาพลังงานและอาหารที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงจะกลับเป็นบวกได้ ช่วยสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวจากการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน
**ศก.จีนยังเสี่ยง-ภัยแล้งหนัก**
มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูง (Uncertain) จากแรงกดดันสำคัญ เช่น (1) เศรษฐกิจจีนเติบโตชะลอลง กระทบการส่งออกไทยบางกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดจีนสูง และเป็นส่วนหนึ่งของ Supply chain จีน รวมถึงผลกระทบต่อ FDI จากจีนอาจชะลอลงบ้าง และอาจกระทบกำลังซื้อจากจีนในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยบาง Segments และ (2) วิกฤตภัยแล้ง ในกรณีฐานภัยแล้งจะเกิดรุนแรงที่สุดในรอบ 41 ปี ในหลายพื้นที่ โดยประเมินว่า ภัยแล้งในกรณีฐานจะทำให้ GDP ไทยลดลง -0.14 pp ในปี 2566 และ -0.36 pp ในปี 2567 และเงินเฟ้อสูงขึ้น +0.18 pp ในปี 2566 และ +0.45 pp ในปี 2567
"เราห่วงเศรษฐกิจจีนมากกว่าเศรษฐกิจโลก เพราะเศรษฐกิจจีนมีความใกล้ชิดกับเรามาก ตอนนี้คนซื้อของจีนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเรามาก เราจะเห็นได้จากเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยแทน ซึ่งกว่าจะเห็นผลที่จะช่วยกลับมาให้ส่งออกไทยดีขึ้นคงอีก 3-4 ปีข้างหน้า ดังนั้น การส่งเสริมให้การลงทุนในประเทศเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ"
**ห่วงมาตรการกระตุ้นระยะสั้น-สร้างความเปราะบางระยะยาว**
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล หากออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายครั้งใหญ่ เช่น Digital wallet เศรษฐกิจไทยปีหน้าอาจขยายตัวได้เกิน 5% ชั่วคราว แต่ต้องแลกด้วยต้นทุนการคลังในระยะยาว เม็ดเงินกระตุ้นการใช้จ่ายครั้งใหญ่หลายแสนล้านบาทสามารถนำมาใช้ยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย เพื่อหาเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากแผลเป็นหลังวิกฤตโควิด รวมถึงการปรับห่วงโซ่อุปทานโลกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การใช้เม็ดเงินภาครัฐจำนวนมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจะบั่นทอนความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ส่งผลให้หนี้สาธารณะสูงเกินเพดานหนี้ที่ 70% ของ GDP เร็วขึ้นประมาณ 2 ปี ซึ่งอาจจะกระทบพื้นที่การคลังเพื่อรองรับความไม่แน่นอนข้างหน้าและเสถียรภาพการคลังของประเทศได้
SCB EIC มองนโยบายเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าควรให้ความสำคัญกับ (1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมการแข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิผลจริงของ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าฯ และผลักดันให้ไทยเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจไทยได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นและเพิ่มความสำคัญบนห่วงโซ่อุปทานโลก
และ (2) การส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน ผ่านการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระบบภาษีที่บิดเบือนแรงจูงใจของภาคธุรกิจและครัวเรือน
"ปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ เห็นได้จากไส้ในของจีดีพีที่ดีก็ดีกว่าคาดมาก อย่างการบริโภคเอกชนโตถึง 6.1% ส่วนที่แย่ก็แย่กว่าที่คาดมากอย่างส่งออก ทำให้การฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมที่มีอยู่แล้วจะมากขึ้น ดังนั้น การกระตุ้นระยะสั้นไม่สำคัญเท่าการปรับโครงสร้างเพื่อการเติบโตระยะยาว อย่าง นโยบายของรัฐบาลที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง คือกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งหากสามารถทำได้จริงจากเม็ดเงินที่ใช้กว่า 5 แสนล้านบาท จะดันจีดีพีปีหน้าไปแตะ 5-6% ได้เลย แต่จะเป็นในระยะสั้นแล้วจะตกลงมาที่เดิม แต่ผลในระยะยาวคือหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น และทำให้เกิดความเปราะบางต่อโครงสร้างโดยรวมในระยะยาว"