หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินทั่วโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (7 ก.ย.) ว่า ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อประสานมาตรการที่จะช่วยหยุดยั้งไม่ให้คริปโตเคอร์เรนซีบ่อนทำลายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินมหภาค
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นในบางกรณีเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารของ Financial Stability Board (FSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความเสี่ยงของ G20 และ IMF
นอกจากนี้เอกสารยังระบุด้วยว่า ประโยชน์ที่อ้างว่าได้จากคริปโตเคอร์เรนซี เช่น การชำระเงินข้ามพรมแดนที่เร็วและถูกกว่า และการรวมการเงินที่เพิ่มขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นจริง
"การยอมรับคริปโตเคอร์เรนซีอย่างแพร่หลายอาจบ่อนทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน หลีกเลี่ยงมาตรการจัดการกระแสเงินทุน เพิ่มความเสี่ยงทางการเงิน เบี่ยงเบนทรัพยากรที่พร้อมให้สำหรับการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง และบั่นทอนเสถียรภาพทางการเงินของโลก" เอกสารระบุ
อย่างไรก็ดีเอกสารดังกล่าวกำหนดกรอบเวลาสำหรับสมาชิกของ IMF และ G20 เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะล่าสุดเพื่อกำกับดูแลคริปโตจาก FSB และ IOSCO ซึ่งเป็นกลุ่มกำกับดูแลหลักทรัพย์ระดับโลก
อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นวิวัฒนาการครั้งใหม่ของแนวคิดด้านกฎระเบียบ หลังจากหลายปีที่มีมุมมองว่าภาคนี้ไม่เป็นภัยคุกคามใด ๆ แต่ทัศนคติก็เริ่มเปลี่ยนไปหลังจากการล่มสลายของ FTX เนื่องจากตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้าที่พุ่งทะยานขึ้นไปสู่จุดสูงสุด ก่อนที่จะดิ่งลงสู่จุดวิกฤติ ซึ่งทำให้ตลาดปั่นป่วนและทำให้นักลงทุนขาดทุน
"การตอบสนองเชิงนโยบายและกฎระเบียบที่ครอบคลุมสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดการกับความเสี่ยงของคริปโตเคอร์เรนซีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินมหภาค" เอกสารซึ่งจะนำเสนอต่อผู้นำ G20 ในการประชุมสุดยอดที่นิวเดลีในเดือนนี้ ระบุ
ด้านสหภาพยุโรปได้อนุมัติชุดกฎระเบียบที่ครอบคลุมสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีแห่งแรกของโลก แต่มีแนวทางที่ไม่เป็นเอกภาพในที่อื่นสำหรับภาคที่ไร้พรมแดนซึ่งการฉ้อโกงและการกำกับดูแลเสถียรภาพด้านราคาที่มีความผันผวน
นอกจากนี้ในเอกสารระบุว่า องค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่ รัฐบาลหลีกเลี่ยงการขาดดุลจำนวนมากซึ่งอาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่บั่นทอนสกุลเงินเฟียตและสนับสนุนการทดแทนเช่นคริปโตเคอร์เรนซี ขณะเดียวกัน ในแผนแม่บทดังกล่าวยังมีการเสนอความเห็นเรื่องข้อกำหนดด้านภาษีของคริปโตเคอร์เรนซีด้วย เช่นเดียวกับกฎหมายที่มีอยู่ที่ใช้กับภาคอุตฯนี้