xs
xsm
sm
md
lg

ตอกฝาโลง “ไอ้โม่งปั่น Bitkub” เผยมูลค่าที่แท้จริง “บ่อนยุคดิจิทัล”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สนธิ” ตอกย้ำ “บิทคับ” สภาพเป็นแค่บ่อนยุคดิจิทัล เมื่อการเข้าซื้อหุ้นโดย “แอสเฟียร์” เผยให้เห็นราคาจริงเหลือแค่ 145 บาทต่อหุ้น จากที่เคยเสนอขายให้ ธ.ไทยพาณิชย์หุ้นละเกือบ 800 บาท โชคดีที่ดีลล่ม ไม่เช่นนั้นจะละลายเงินทิ้งกว่า 1.4 หมื่นล้าน แต่น่าจะมี “ไอ้โม่ง” ได้ผลประโยชน์จากการปั่นราคาบิทคับในช่วงการดีลซื้อขาย

ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการ ได้กล่าวถึงการขายหุ้น Bitkub หรือ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ของ “นายท๊อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ให้กับบริษัทแอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ตามข่าวที่ปรากฏเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า เป็นหลักฐานอันหนึ่งที่บ่งชี้ว่ามีการปั่นราคา และมีความไม่ชอลมาพากลในการเสนอขาย Bitkub ให้ SCBX หรือธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปีก่อน

ทั้งนี้ รายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ กับ สื่อในเครือผู้จัดการ น่าจะเป็นสื่อมวลชนเจ้าเดียวที่นำเสนอความไม่ชอบมาพากลและความผิดปกติของข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการ Bitkub หรือ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ของ “นายท๊อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ในนาม บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) โดยดีลดังกล่าวนั้นมีในตอนแรกช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ตามที่มีการเปิดเผยออกมานั้น SCB จะซื้อหุ้น Bitkub จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า


โดยตอนแรกที่แถลงว่าจะเข้าซื้อหุ้นใหญ่ในกิจการของ Bitkub ทาง SCB ระบุว่า “SCB เป็นสถาบันทางการเงินที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานกว่า 114 ปี นอกจากนี้ยังมียุทธศาสตร์ในการที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัทเป็น SCBX เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจประเภทใหม่ ซึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Bitkub และ กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ มีการแชร์เป้าหมาย Vision ที่เหมือนกันว่า Digital Asset มีความสำคัญต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจต่อประเทศไทยในระยะยาว เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าเราสามารถผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไปสู่โลกอนาคต เป็นศูนย์กลางทางการเงินและเทคโนโลยีในระดับภูมิภาคได้ และเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้าง National Champion ใหม่ให้กับประเทศไทย”

เรียกได้ว่าแถลงการณ์ที่ออกมานั้นสวยหรู ดูดี เหมือนเดินอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์เลยทีเดียว

ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว หากคิดบัญญัติไตรยางค์แบบง่าย ๆ ว่า หุ้น 51% ของบิทคับมีมูลค่าสูงถึง 17,850 ล้านบาท ก็แสดงว่า มูลค่าหุ้นทั้งหมด หรือ Market Cap ของหุ้น Bitkubนั้นจะต้องสูงถึง 35,000 ล้านบาทเลยทีเดียว!

หลายๆ คำถาม นอกเหนือจากคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้ตั้งปุจฉาเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว ก็คือ มูลค่าหุ้น Bitkub ซึ่งในตอนนั้นหลายคนกำลังเห่อ คิดว่าเป็น Tech Start Up ระดับสุดยอดของประเทศไทย สูงขนาดนั้นเลยหรือ ?

บริษัท Bitkub ของนายท๊อป จิรายุส ได้ดำเนินการพัฒนา ครอบครอง หรือ กุมเทคโนโลยีอะไรที่ก้าวล้ำกว่าตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ หรือ มีนวัตกรรมการบริหารจัดการอะไรที่คนอื่นไม่มี ?

หรือแท้จริงแล้ว ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งนี้ ไม่ได้มีอะไรที่ดีเด่นกว่าเขาหรอก แต่เป็นการปั่นราคาเพื่อสร้างมูลค่าหลอกประชาชนนักลงทุน ด้วยการสมคิดของทั้งฝั่ง Bitkub และ SCB


ซึ่ง SCB นี่สำคัญ เพราะธนาคารไทยพาณิชย์นั้นเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นสถาบันสำคัญของชาติ เป็นสถาบันการเงินลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทั้งยังเป็นบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย?
เหล่านี้เป็นข้อสงสัย และ คำถามที่พยายามชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 ในรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ Ep.135 ออกอากาศวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565และ รายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ Ep.139 ระวัง KUBCOIN ซ้ำรอย LUNA ออกอากาศวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565

“ตอนนั้น มีหลายคนกล่าวหาว่าผมมีอคติกับ Bitkub กับคุณท๊อป จิรายุสจึงหาเรื่องมาโจมตี แต่ในเวลาต่อมาเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ปรากฎเรื่องราวชัดว่า ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ออนไลน์ในประเทศไทย และในโลกนั้นมีปัญหา ทั้งเรื่องความโปร่งใส การทุนริต และมีความชอบมาพากลด้วยกันทั้งสิ้น”

ซึ่งนอกจาก“Bitkub” แล้วในเวลาต่อมาก็ปรากฎชัดว่า “Zipmex” ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไทยก็มีปัญหา โดยกลางปีที่แล้ว ปี 2565 ตอนที่ Zipmex ซึ่งมีผู้ก่อตั้งคือ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล กับพรรคพวก และผู้บริหารเจ๊งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายไม่น้อยกว่า 2-3 พันล้านบาท โดยมีลูกค้าชาวไทยได้รับความเสียหายหลายพันราย

รายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ Ep.150-153 ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2565 เจาะลึกเรื่องราว โดยนำเสนอเบื้องลึกของความล่มสลายของ Zipmex อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมเบื้องหน้า เบื้องหลังทั้งหมด อย่างที่ไม่มีสื่อไหนกล้าเจาะ


ขณะที่ในต่างประเทศก็เกิดกรณีการฉ้อโกงของนายแซม แบงก์แมน ฟรีด ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ FTX ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอันดับ Top 3 ของโลก จนล้มละลาย

ต่อมา หลังจากที่มีการตั้งคำถาม และเปิดโปงถึงความไม่ชอบมาพากลของดีล SCB ซื้อหุ้น Bitkub จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 17,850 ล้านบาท ทำให้ในเวลาต่อมา SCB ต้องออกแถลงการณ์ยกเลิกดีลนี้ไป เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCBX อ้างเหตุผลเป็นข้อความระบุในหนังสือยกธุรกรรมการลงทุนใน Bitkub ว่า

“แม้การสอบทานธุรกิจจะไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติอันเป็นนัยสำคัญ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เนื่องจาก Bitkub ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาในการหาข้อสรุปดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายจึงได้ตกลงร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวที่ประชุมคณะกรรมการ SCBS ครั้งที่ 15/2565 จึงมีมติให้ SCBS ยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565”


“จากวันนั้นถึงวันนี้เวลาห่างมาเกือบ 1 ปีท่านผู้ชมรู้ไหมว่าราคาหุ้นบิทคับจากวันนั้นถึงวันนี้ราคาเหลือเท่าไร ?ท่านผู้ชมครับผมพูดมานานแล้วนะว่าความจริงนั้นมีหนึ่งเดียวแต่ความเจ็บปวดของคนที่เอาความจริงมาเสนอท่านผู้ชมเสนอตอนแรกคนหาว่ามีอคติไม่ชอบเขาใช่ไหมหรือไปเรียกร้องเงินทองจากเขาใช่ไหมพอเขาไม่ให้ก็มาโจมตีเขาคนที่เสนอความจริงที่มีหนึ่งเดียวอย่างผมเป็นต้นผมผ่านประสบการณ์นี้มามากแล้วผมต้องอดทนต่อข้อครหานินทาเพราะผมเชื่อว่าในที่สุดแล้วความจริงที่มีหนึ่งเดียวมันจะปรากฏเกิดขึ้นและมันปรากฏเกิดขึ้นแล้วณตอนนี้”

“แอสเฟียร์” ซื้อ “บิทคับ” เฉลี่ยหุ้นละ 145 บาท

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 มีข่าวชิ้นหนึ่งในแวดวงตลาดหุ้นระบุว่าบริษัทแอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (AS) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub)จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 4,149,000 หุ้น หรือคิดเป็น 9.22% ของทุนจดทะเบียน ในราคาซื้อขายรวม 600 ล้านบาท โดยการซื้อขายจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ บริษัท แอสเฟียร์ฯ (หรือเดิมทีคือ บ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น) ให้เหตุผลของการลงทุน โดยมองว่าบิทคับเป็นผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายเงินคริปโตและโทเคนดิจิทัลอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90% และมีระบบนิเวศของบล็อกเชนและคริปโตที่ครบวงจร

ประเด็นที่น่าสนใจ ข้อแรกหากลองคิดคำนวณเปรียบเทียบระหว่างดีลการซื้อ หุ้น Bitkub ระหว่าง บริษัท แอสเฟียร์ฯ ณ วันนี้ ปี 2566 กับSCBX เมื่อปีที่แล้วคือ จะเห็นชัดถึงความแตกต่างของราคาหุ้น กล่าวคือ

ณ วันนี้ บริษัทแอสเฟียร์ ใช้เงิน 600 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นจำนวน 4,149,000 หุ้น หรือ คิดเป็น 9.22% หรือคำนวณราคาได้ 145 บาท/หุ้น

ย้อนกลับไปไม่ถึงปีSCBX หรือ ธ.ไทยพาณิชย์นั้นจะต้องใช้เงินมากถึง 17,850 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้น 51% หรือเกือบ 23 ล้านหุ้น ของ Bitkub ซึ่งคำนวณแล้วตก 778 บาท/หุ้น

ชัดเจนว่า มูลค่าหุ้นของ Bitkub ที่ SCB ต้องการจะซื้อนั้นแตกต่างจากบริษัทอื่นที่จะซื้อได้จริงถึง 633 บาท ซึ่งถ้าหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็คือ บ.แอสเฟียร์ฯ ซื้อหุ้น Bitkub ถูกกว่า SCB ถึง 81%

ข้อที่สอง ถามต่อว่าห่างกันไม่ถึงปี ราคาประเมินของหุ้น Bitkub ตกไป 81% ได้อย่างไร?

ทาง บ.แอสเฟียร์ฯ อ้างว่า สาเหตุที่ซื้อหุ้น Bitkub ได้ถูกก็เนื่องจากภาพรวมของตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศตกต่ำอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบิทคับฯ ในปี 2565 ทำให้กำไรทรุดลงถึง 87%

“อ้าว! แล้วที่เครือธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง SCB แถลงก่อนหน้านี้ตอนจะเข้าซื้อว่า Bitkub เป็นอนาคต วางเป้าหมายในระยะยาว ไฉนเวลาผ่านไปแค่ไม่ถึงปีธุรกิจเติบโตฮวบ ๆ กำไรลงไปเกือบ 90% ส่วนราคาหุ้นก็ลดลงไป 80 กว่า% แบบไม่เห็นหัวเห็นหางกันเลย”


ข้อที่สาม เป็นคำถาม ย้ำว่าเป็นคำถาม จากราคาหุ้น Bitkub หุ้นละ 778 บาท ลดลงเหลือ หุ้นละ 145 บาท หรือลดลง 81% ภายในเวลาไม่ถึงปี ใช่หรือไม่ว่าเป็นหลักฐาน เป็นใบเสร็จชิ้นสำคัญว่า การเสนอซื้อหุ้น Bitkub 51% โดย SCB นั้นมีอะไรไม่ชอบมาพากลจริง ๆ?

ถามต่อว่า
- ใช่หรือไม่ว่ามี “ไอ้โม่ง” กลุ่มหนึ่งที่ฟาดกำไรไปเรียบร้อยแล้วจากราคาเหรียญ KUB ที่พุ่งกระฉูดไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ในวันที่ SCB ประกาศว่าจะเข้าซื้อหุ้น Bitkub ถึง 580 กว่าบาทขณะที่ในวันนี้ราคา Kubcoin นั้นวิ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท เท่านั้น

“ไอ้โม่ง” เดียวกันจะได้รวยต่อที่ 2 หากอภิมหาดีล 17,850 ล้านบาทระหว่าง SCB กับ Bitkub ไม่ล่ม หรือล้มลงเสียก่อน จากการเปิดโปงของรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิและสื่อในเครือผู้จัดการ

“ซึ่งในวันที่ดีลล่ม ผมมีโอกาสได้รับสายจากผู้ใหญ่ และพนักงานของ SCB หลายคนบอกว่า โล่งอกโล่งใจอย่างมากที่ SCB สามารถหลุดพ้นจากเรื่อง Bitkub นี้เสียที มิฉะนั้นแบงก์คงได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง”


เพราะวันนี้หลักฐานปรากฏชัดแล้วว่าราคาหุ้นและมูลค่าบริษัทของบิทคับนั้นแท้ที่จริงแล้วต่ำกว่าที่กลุ่ม “ไอ้โม่ง” ประเมินไว้อย่างน้อย 4-5 เท่าตัวคิดเป็นเงินที่ต่างไปคือ 630 บาทต่อหุ้น ทำให้เงิน 17,810 ล้านบาทที่ SCB จะเข้าซื้อหุ้นบิทคับเมื่อปีที่แล้วพอมาถึงวันนี้จริงเงินก้อนนั้นจะเหลือแค่ 3 พันกว่าล้านบาทเท่านั้นเอง เรียกว่า SCB จะขาดทุนไป 14,000 ล้านบาทในเวลาไม่ถึง 1 ปี

“นี่คือความจริงที่มีหนึ่งเดียว คนที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างเต็มที่ที่สุดจะมีอยู่ 2 ท่าน คนหนึ่งคือ คุณท๊อป จิรายุส อีกคนหนึ่งคือคุณอาทิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท SCBX ผมไม่มีหน้าที่ตอบ ผมมีหน้าที่เอาหลักฐานและข้อมูลมาหงายให้ดูว่าตอนนั้นมีการปั่นหุ้นดีล SCBX ประกาศออกมาว่าจะซื้อ 17,810 ล้านบาท รู้ก่อนล่วงหน้าก็เลยซื้อหุ้นไว้ล่วงหน้า

“เสร็จแล้วก็ปั่นหุ้นให้ขึ้นเป็นหกร้อยกว่าบาท ในขณะที่วันนี้ร าคาที่ขึ้นไปหกร้อยกว่าบาทนั้น เหลือแค่ 50บาท หมาที่ไหนแอบฟันเงินไปจากการปั่นหุ้นนี้ ไม่มีใครรูู้หรอกครับ อาจจะมีอะไรที่หลุดออกมาจากกลุ่มของคุณท๊อป หรือคุณอาทิตย์ ซึ่งผมไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ผมเพียงแต่ตั้งคำถามนะครับ” นายสนธิกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น