xs
xsm
sm
md
lg

บสย.เผย 5 เดือนยอดค้ำประกันสินเชื่อกว่า 55,888 ล้าน ชูยุทธศาสตร์พิชิตเป้าหมาย SMEs Gateway

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บสย. จัดกิจกรรม “TCG Stakeholders Day 2023 : ความเห็นของท่านสำคัญกับ บสย.” ประจำปี 2566 ถ่ายทอดความก้าวหน้าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปี 2566-2570 พิชิตเป้าหมาย “SMEs Gateway” ภายใต้ กลยุทธ์ 3Ns & 4Ps + 1D โดยผลดำเนินงานในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อกว่า 55,888 ล้านบาท จาก 3 โครงการหลัก

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
กล่าวในกิจกรรม “TCG Stakeholders Day 2023 : ความเห็นของท่านสำคัญกับ บสย.” ว่า แผนปฏิบัติการปี 2566 ทั้ง 6 โครงการของ บสย.ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนและข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรด้วย Digital Technology เดินหน้าด้วยดี ได้แก่

1.โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ 2.โครงการพัฒนากระบวนการจัดการการเก็บหนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหนี้ 3.โครงการพัฒนานวัตกรรมให้บริการลูกค้า SMEs ผ่านช่องทาง Digital Platform 4.โครงการพัฒนาระบบ TCG Data Management Platform เชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งภายในและภายนอก 5.โครงการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางการเงิน ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) และ 6.โครงการการให้บริการ Credit Mediator เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น

โดยผลดำเนินงานในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-พ.ค.66) มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อกว่า 55,888 ล้านบาท จาก 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 โครงการ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) (ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566) และโครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบัน (BI-7) ที่ บสย. ได้พัฒนาขึ้น ได้มีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนกว่า 42,667 ราย สร้างสินเชื่อในระบบกว่า 62,854 ล้านบาท คิดเป็น 1.13 เท่าของยอดค้ำประกันสินเชื่อ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 230,817 ล้านบาท คิดเป็น 4.13 เท่า ของยอดค้ำประกัน และรักษาการจ้างงานรวม 404,136 ล้านบาท ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ โควิด-19 โดยนำ “Risk Base Pricing” เครื่องมือการประเมินตามความเสี่ยงมาใช้ในการค้ำประกันสินเชื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผลสำเร็จการดำเนินงานของ บสย.อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์องค์กร “เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเงินทุนและโอกาสให้แก่ SMEs เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (SMEs’ Gateway)” เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ปี 2566 ค่านิยมองค์กร TCG T : Think Innovatively C: Connectivity และ G: Good Governance พร้อมวาง 3 ยุทธศาสตร์ใหม่มุ่งสู่การยกระดับองค์กรยุค Digital ได้แก่

1.ยุทธศาสตร์ด้าน Digital Transformation & Financial Gateway ด้วย Digital Platform 2.ยุทธศาสตร์ Debt Management การช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการ บสย. 3.ยุทธศาสตร์ด้าน Sustainable Organization การดำเนินงานที่คำนึงถึงผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามแผนการขับเคลื่อนองค์กร ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ด้วยกลยุทธ์ 3Ns & 4Ps + 1D ได้แก่ 3Ns (New Engine / New Business Model และ New Culture) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อเฉพาะกลุ่ม และแบบผสมผสาน การขับเคลื่อนด้วย Digital Platform พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital Gateway เชื่อมโยงธุรกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ และระบบต่างๆ กับสถาบันการเงิน และการก้าวสู่วัฒนธรรมองค์กรใหม่ “TCG Fast & First”

และ 4Ps (Product & Sales / Partners / Platform (process) และ Planet) และ 1D (Debt Management ) ผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อเข้าถึงทุกกลุ่มธุรกิจและ SMEs ขยายความร่วมมือกับพันธมิตรโดยศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center)

นอกจากนี้ ในปี 2566 บสย. ยังคงพัฒนาไลน์ @tcgfirst อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าอื่นๆ เช่น การยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID การดูสถานการณ์ค้ำประกัน E-LG การทำ Bill Payment การให้บริการปรึกษาทางการเงิน นับตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการพัฒนา Line OA : @tcgfirst เพื่อเป็นช่องทาง Online ให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงบริการได้ง่ายสะดวกรวดเร็วขึ้นประสบความสำเร็จดีเยี่ยม ทั้งด้านบริการตรวจสุขภาพทางการเงิน การลงทะเบียนแก้หนี้ การลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ บสย.
กำลังโหลดความคิดเห็น