xs
xsm
sm
md
lg

สะเทือนติ่งส้ม อ.ตั้ม ฉายฉากทัศน์ "เก็บภาษีคนรวย" พรรคก้าวไกล อาจจุดชนวนปัญหาในอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิริยะ สัมพันธารักษ์ หรือ ตั้ม ทายาทสายตรงของลุงโฉลก สัมพันธารักษ์ กูรูด้านการลงทุนและนักลงทุนด้านสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Futures) รายแรกๆ ของไทย ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงนโยบาย เก็บภาษีความมั่งคั่ง หรือ Wealth Tax ซึ่งหนึ่งในนโยบายของพรรคก้าวไกล ผ่านโซเชียลมีเดีย Facebook ของตัวเองว่า อาจส่งผลต่อบริบทการลงทุนของประเทศไทย โดย พิริยะ ได้ วิเคราะห์ว่า

คิดยังไงกัน

Wealth Tax หมายถึง ถือสินทรัพย์อยู่เฉย ๆ ไม่มีกำไร แต่มูลค่าเพิ่ม ก็ต้องจ่ายนะ นั่นหมายความว่า ในทางโครงสร้างมันคือการดูดเอาเงินออมออกไปให้กับรัฐนั่นเอง ยังพอมีที่ให้หายใจได้บ้างว่ามีการกำหนดขอบเขตที่ 300 ล้านบาทขึ้นไปทำให้ไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ ใครที่มีทรัพย์สินเกิน 300 ล้าน จะเริ่มพยายามหาทางแปลงทรัพย์สินเหล่านั้นให้อยู่ในรูปที่สามารถหลบเลี่ยงภาษีได้ เช่นการโอนทรัพย์สินเข้ามูลนิธิของตนเอง หรือแปลงเป็นบิตคอยน์แบบ non-kyc แล้วเก็บไว้เงียบ ๆ

จะเกิดอาชีพที่ปรึกษาการบริหารจัดการทรัพย์สิน ที่วัดผลงานกันที่ความสามารถในการทำให้สามารถรักษามูลค่าทรัพย์สินได้ ดังนั้นที่หวังว่าจะสามารถเก็บภาษี wealth tax จากกลุ่มคนรวยได้ จะทำได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น

คนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดน่าจะเป็นคนที่มีทรัพย์สินเยอะ แต่ไม่ได้รวย หรือกำลังจะรวย ซึ่งจะยังไม่มีปัญญามาบริหารตรงนี้ โดยอาจได้มาด้วยมรดก (ได้รับที่นาคุณทวดมา อะไรงี้ แบบนี้ซวย ต้องโดนบังคับขายที่มาจ่ายภาษี ทำให้ไม่สามารถส่งมอบ generational wealth ได้) หรือจากหน้าที่การงาน แต่ 300 ล้านก็เป็นระดับที่สูงพอสมควร

ในระยะยาว ถ้าไม่มีการปรับระดับ อาจเป็นปัญหาได้ เพราะแม้ 300 ล้านจะดูมากในวันนี้ แต่อีกสิบปีสามสิบปี มันอาจไม่ใช่เงินที่มากนักก็เป็นได้ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการกำหนดขอบเขตการตรวจสอบใน US ที่ตั้งกรอบไว้ $600 ต่อปี ซึ่งเคยเป็นยอดที่สูงมากในอดีต แต่ปัจจุบันโดนแทบทุกคน Is taxation theft? แน่นอนว่าเป็นคำถามที่เหล่าเสรีนิยมถามแน่ ๆ ซึ่งก็แน่นอนว่า ในที่สุดมันวัดกันที่ว่าเงินนั้นถูกเอาไปใช้ทำอะไร หากเงินภาษีถูกนำไปพัฒนาประเทศ เพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินโดยรวมมากกว่าที่เก็บไป คนก็ไม่ว่าอะไร แต่ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่า หน่วยงานราชการไม่มีทางใช้เงินให้เกิดประสิทธิผลได้มากเท่าเอกชน จึงทำให้ในภาพรวม ภาษีถึงถูกมองเป็นการดูดเอาผลผลิตออกจากเศรษฐกิจไปเผาทิ้งเล่น ๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องดูนโยบายการเงินด้วย ถ้ารัฐยังเดินหน้าทำลายมูลค่าเงินต่อไป เก็บอย่างไรก็ไม่คุ้มเพราะการทำลายล้างมูลค่ามันสูงกว่าเงินเฟ้อที่แท้จริงเสมอต้องรอดู

ขณะที่ “ศิริกัญญา ตันสกุล” รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคก้าวไกล กล่าวกับ thaipublica ถึงนโยบายการเก็บภาษีความมั่งคั่งว่า เดิมคิดว่าถ้าเก็บภาษีส่วนนี้จะมีคนหอบเงินหนีไปต่างประเทศ แต่เวลานี้ประเทศไทยได้เป็นภาคีเครือข่าย OECD ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล Foreign Resident ที่ไปซื้อทรัพย์สินในต่างประเทศได้ โดยไม่ได้แลกข้อมูลเฉพาะสมาชิกใน OECD เท่านั้น แต่แลกกับทั้ง 190 กว่าประเทศทั่วโลก รวมถึงบริติชเวอร์จิน ฯลฯ โดยประเมินว่าถ้าเก็บภาษีจากคนที่มีทรัพย์สินมากกว่า 300 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รายได้ 6 หมื่นล้านบาท สุดท้ายจะมีการเพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็น 23% ที่ผ่านมาต่ำเกินไป เพราะปัจจุบันภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บสูงถึง 35% ทำให้มีการเลี่ยงไปจ่ายเป็นเงินปันผลส่วนหนึ่ง โดยเงินปันผลมาจากกำไรของบริษัท เป็นกำไรที่จ่ายภาษีปัจจุบัน 20% ส่วนเงินปันผลหักภาษี 10% รวมแล้วจ่ายภาษีเพียง 28% ถ้าขยับภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 23% จะทำให้รูปแบบการจ่ายแบบนี้เสียภาษี 32% ใกล้เคียงกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมมากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น