xs
xsm
sm
md
lg

ความสอดคล้องของกฏระเบียบข้อบังคับเพื่อขับเคลื่อนการยอมรับคริปโต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากเหตุการณ์ในปีที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับนั้นมีความสำคัญในการรักษาความปลอดภัย เสริมสร้างความไว้วางใจ และยกระดับการปกป้องผู้ใช้ในอุตสาหกรรม ดังนั้น การผลักดันให้ความสอดคล้องของกฎระเบียบข้อบังคับเกิดการนำไปใช้จริง เพื่อให้เกิดการปกป้องผู้ใช้ และการจัดสรรนวัตกรรมใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมคริปโตที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจึงยิ่งทวีคูณความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ความสอดคล้องของกฏระเบียบข้อบังคับมีจุดประสงค์เพื่อควบรวมกรอบกำกับดูแลที่ปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันตามเขตอำนาจศาลต่างๆ ด้วยการประสานนโยบายระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นในการกำหนดนโยบายและกฎหมายทั่วโลก รวมถึงลดโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎระเบียบข้อบังคับที่อาจเกิดขึ้น

การกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับนโยบายคริปโตนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมคริปโตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ธนาคารกลางต้องเผชิญกับปัญหาด้านการกำหนดนโยบายเพื่อจัดการการเติบโตของคริปโต ไปพร้อมกับการตรึงระดับอัตราเงินเฟ้อตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมความผันผวนของตลาด ซึ่งทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับสมดุลของสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันตลาดคริปโตจะมีมูลค่ารวมเพียง 1.25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าเรามีวิธีวัดอัตราส่วนของกฏระเบียบและการตรวจสอบต่อมูลค่าตลาด คริปโตก็จะจัดว่าอยู่ในอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ สาเหตุเป็นเพราะเทคโนโลยีบล็อกเชนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งานและแลกเปลี่ยนเงินของผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ นโยบายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศยังเป็นกรอบการทำงานพื้นฐานในการผลักดันนวัตกรรม Web 3 ให้สำเร็จอีกด้วย

การลดความซับซ้อนและความคลาดเคลื่อนของกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มความโปร่งใส

การกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อลดความซับซ้อนด้านกฎระเบียบและความคลาดเคลื่อนในอุตสาหกรรมคริปโตและบล็อกเชนจะช่วยปกป้องผู้ใช้จากความเสี่ยงที่เป็นระบบและการฉ้อโกง เนื่องจากการขาดคำจำกัดความที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและความชัดเจนของกฎหมายสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทต่างๆ จะทำให้การบังคับใช้มาตรการลงโทษและนโยบายในหน่วยงานของรัฐต่างๆ กลายเป็นเรื่องยาก

ทั้งนี้ กฎระเบียบข้อบังคับเพื่อส่งเสริมการนำไปใช้และสนับสนุนนวัตกรรมควรมุ่งเน้นไปที่สามองค์ประกอบหลัก ที่ประกอบไปด้วย

1. ธุรกรรมระหว่างการเงินแบบดั้งเดิมกับคริปโต โดยกฎระเบียบของตลาดการเงินแบบดั้งเดิม และแนวทางของคณะเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การรายงานธุรกรรมเป็นไปตามนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT)

2. การดูแลรักษา จากเหตุการณ์แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์บางส่วนที่พังทลายลง ส่งผลให้หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับกลไกพิสูจน์เงินสำรอง ความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ และความโปร่งใส มีความสำคัญอย่างมากในการคุ้มครองเงินทุนของผู้ใช้ โดยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือ การเข้ารหัสคีย์ส่วนตัว และการแยกกระเป๋าเงิน ซึ่งควรมีการตกลงร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการร่วมกันได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยให้กับเงินทุนของผู้ใช้

3. ธุรกรรมระหว่างคริปโต หน่วยงานกำกับดูแลจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการค้นพบราคาและการจัดการพื้นที่ของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีทั้งการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (CEX) และการกระจายศูนย์ (DEX) ทั้งนี้ ความแตกต่างในกระบวนการชำระและการหักบัญชีใน DEX และ CEX รวมถึง Smart Contract และ Liquidity Pool สามารถแทนที่คำสั่งซื้อในการแลกเปลี่ยนแบบดั้งเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็น On-chain เทียบกับ Off-chain และ On-exchange เทียบกับ Off-exchange

ยิ่งไปกว่านั้น ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ยังสร้างความไม่แน่นอนและความสับสนภายในอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาบั่นทอนจริยธรรมทางด้านการเงินได้อีกด้วย ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Web3 มีความไม่ชัดเจนและทำให้การกำหนดมาตรการป้องกันสำหรับการต่อต้านการฟอกเงินทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การบังคับใช้มาตรฐานสากลข้ามภูมิภาคจึงมีส่วนช่วยอุดช่องว่างของนโยบายท้องถิ่น พร้อมอำนวยความสะดวกในการสร้างระบบนิเวศของคริปโตทั่วโลกให้ปลอดภัย โปร่งใส และเชื่อถือได้มากขึ้นในอนาคต โดยการแบ่งปันความรู้และการเจรจาอย่างเปิดกว้างระหว่างผู้เล่นในอุตสาหกรรมและผู้กำหนดนโยบาย จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริง

สร้างโอกาสที่เท่าเทียมในการเติบโตของ Web3

ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผลักดันให้เกิดความสอดคล้องของกฏระเบียบข้อบังคับเพื่อการเติบโตของ Web3 เนื่องจากอุตสาหกรรมคริปโตยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น พร้อมทั้งยังมีสัญญาณเด่นชัดที่ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและโอกาสในการใช้งาน Web3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ครองตำแหน่งอัตราการเติบโตของ Web3 ที่เร็วที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าอเมริกาเหนือจะเป็นตลาด Web3 ที่ใหญ่กว่าก็ตาม รวมไปถึงการที่มีบริษัท Start-up ด้าน Web3 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สามารถระดมทุนได้กว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลางตลาดหมีของคริปโต ยิ่งเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกฎระเบียบด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกมีความแตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างยุโรปและอเมริกาเหนือ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่กำลังมุ่งมั่นพัฒนา Web3 และเศรษฐกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดกฎระเบียบพื้นฐานเพื่อให้นักลงทุน Web3 และผู้ประกอบการที่เข้ามาตั้งกิจการในประเทศมั่นใจได้ว่าระบบนิเวศ Web3 ของพวกเขาจะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้แนวทางอนุรักษ์นิยม ในขณะที่บางประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือได้สั่งแบนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล และมีข้อจำกัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การที่อุตสาหกรรมจะไปในทิศทางไหนขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ รวมถึงความสอดคล้องของกฎระเบียบข้อบังคับและการจัดตั้งกฎระเบียบของตลาดที่สอดคล้องกัน

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของความสอดคล้องของกฎระเบียบข้อบังคับ

หลังจากโลกเข้าสู่ยุค Web3 เราจะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ พยายามกำกับดูแลและควบคุมการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้เข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคริปโตและบล็อกเชนในฟอรัมระหว่างประเทศต่างๆ อย่างการประชุมผู้นำ G20 โดยประเทศอินเดียเป็นผู้นำในการหารือด้านนโยบายของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความหวังในการเพิ่มจำนวนแนวร่วมระดับโลกที่จะเข้ามาช่วยด้านนโยบายการกำกับดูแล และปูทางไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ และการยอมรับอุตสาหกรรมนี้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความสอดคล้องในกฎระเบียบข้อบังคับนั้นไม่ได้จบที่การพัฒนากฎระเบียบร่วมกัน อีกทั้ง ยังเกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นของผู้เล่นในอุตสาหกรรมหลักในการจัดระเบียบและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแล ส่งผลให้หน่วยงานกำกับดูแลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำเป็นต้องพยายามอย่างแข็งขันในการประเมินกฎระเบียบที่มีสัดส่วน เป็นระบบ และมีกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสม

ในขณะเดียวกัน สมาคมการค้าบล็อกเชนโลกยังถือว่ามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมช่องว่างเชิงโครงสร้างและปรับปรุงการสื่อสารภายในวงการบล็อกเชนและคริปโต ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นยแบบเปิดกว้างระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลพร้อมเป็นพื้นที่ในการแบ่งปันความรู้และแนวทางการปฏิบัติให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศที่ครอบคลุมและมั่นคง ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Web3 และหน่วยงานกำกับดูแล พร้อมเปิดประตูสู่โอกาสสำหรับการยอมรับการใช้คริปโตต่อไปในอนาคต

บทความโดย : ลีออน ฟูง หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Binance


กำลังโหลดความคิดเห็น