xs
xsm
sm
md
lg

ถอดสูตร "Digital Wallet" แจกเงิน 10,000 บาทเป็นจริงได้แค่ไหน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หนึ่งในประเด็นใหญ่ในช่วงนี้ที่เป็นที่พูดถึงและถกเถียงในโลกโซเชียลกันอย่างแพร่หลายก็คือการประกาศนโยบายของพรรคเพื่อไทยว่าด้วยเรื่องการเติมเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาทให้กับ ประชาชนคนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปใช้จ่ายใกล้บ้านในรัศมี 4 กิโลเมตรผ่าน Digital Wallet โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับหมู่บ้าน ระดับชุมชน ในตลาดท้องถิ่น สร้าง ธุรกรรมระหว่างรายย่อย

ขณะที่ประเด็นหาเสียงหนึ่งในรายละเอียดของนโยบายที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่จับตามองและพูดถึงกันอย่างมากเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องการนำ “เทคโนโลยีบล็อกเชน” มาสร้าง Digital Wallet เพื่อสร้างเงื่อนไขการใช้งานที่จะทำให้นโยบายเป็นไปได้อย่างตรงจุด

ซึ่งในประเด็นนี้ นายอภินัทธ์ เดชดอนบม นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้มุมมองต่อนโยบายนี้ว่า การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาทำ Digital Wallet นั้นอาจไม่เหมาะสมด้วยเหตุ ผลเรื่องข้อจำกัดด้านการออกแบบบางอย่างซึ่งมีข้อสังเกตหลายประการ ได้แก่

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีข้อจำกัดในเรื่องของการออกแบบเนื่องด้วยสิ่งที่เรียกว่า Blockchain Trilemma หรือหลักพื้นฐานบล็อกเชน 3 ประการที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้พร้อมกัน อันประกอบด้วย ความปลอดภัย (Security), การขยายตัวเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต (Scalability) และการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งตัวเลือกแรกก็เป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก Security การที่จะทำระบบบล็อกเชนให้สามารถรองรับธุรกรรมมหาศาลจากประชากรหลาย สิบล้านคนก็จำเป็นต้องเลือก Scalability มาเป็นอันดับสอง นั่นหมายความว่าต้องยอมสูญเสีย Decentralization ไป

อีกทั้งการทำระบบการชำระเงินของรัฐบาลก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเป็นบล็อกเชนสาธารณะ (Public Blockchain) ที่เปิดรายละเอียดของโครงสร้างระบบให้คนทั่วไปเห็นทำให้ตัว เลือกเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก Private Blockchain แต่การจะทำให้ประชาชนทุกคนใช้งานได้ โดยไม่ติดขัด Digital Wallet นี้ก็ต้องเป็นแบบ Custodial Wallet ที่ทำให้ Decentralization ลดลงไปอีก

ซึ่งทำให้ระบบโดยรวมนั้นอาจไม่ได้แตกต่างจากการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบเดิมที่อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยซ้ำ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังไม่มี Case Study ของบล็อกเชนที่สามารถรองรับ ธุรกรรมได้มากระดับหลายสิบล้านธุรกรรมต่อวันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงมองว่าตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดในการทำ Digital Wallet นี้ก็คือ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่มีอยู่ก่อนแล้ว และคาดว่า “แอปพลิเคชันเป๋าตัง” ก็สามารถกำหนดเงื่อนไข ดังกล่าวได้ไม่ยาก มีประวัติการรองรับธุรกรรมจากการใช้งานจริงจากโครงการก่อนหน้านี้ ประชาชนมี ความคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันเป๋าตังอยู่แล้ว อีกทั้งการใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังที่มีอยู่เดิมก็จะสามารถ ประหยัดงบประมาณการพัฒนาระบบใหม่และดูแลรักษาได้อีกด้วย

อีกหนึ่งประเด็นที่เป็นที่พูดถึงก็คือความเกี่ยวข้องของ Digital Wallet กับ Central Bank Digital Currency (CBDC) ซึ่งในเรื่องนี้ทางเรามองว่าไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากทางแบงก์ชาติมีแนวทางพัฒนาของตัวเอง โดยในตอนนี้ Retail CBDC ก็กำลังอยู่ในช่วง Pilot Test ระหว่างช่วงปลายปี 2565 ไปจนถึงกลางปี 2566 ร่วมกับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทูซีทูพี(ประเทศไทย) จำกัด

โดยหาก Pilot Test แล้วมีปัญหาหรือมีจุดต้องแก้ไขก็ต้องนำกลับไปพัฒนาใหม่และ Pilot Test อีกครั้งไปเรื่อย ๆ จนเสร็จสมบูรณ์ซึ่งอาจกินเวลาหลายเดือนหรือหลายปีเพราะ CBDC จะเป็น โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่สามารถรีบเร่งได้ ทำให้ Timeline อาจไม่ตรงกับการบังคับใช้ นโยบายดังกล่าวหากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งของการออกแบบ CBDC คือเรื่อง ความเป็นส่วนตัวและอำนาจในความเป็นเจ้าของเงินของประชาชน ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีการจำกัดระยะทางที่สามารถ ใช้ได้ มีระยะเวลาการใช้งานที่หากครบกำหนดแล้วไม่ได้ใช้ก็จะหายไป อีกทั้งมีการกล่าวถึงการสอดส่อง ธุรกรรมและพฤติกรรมการใช้งานด้วย

โดยหากการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวมาทำบน CBDC อาจทำให้ประชาชนมองเห็นว่าการเก็บ เงินในรูปแบบ CBDC ไม่ปลอดภัยซึ่งจะขัดกับหลักการของทางแบงก์ชาติที่ใช้ในการพัฒนา CBDC มาโดยตลอดและอาจทำให้สิ่งที่แบงก์ชาติทำมาตลอดหลายปีสูญเปล่า นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทางเราถึงมองว่า Digital Wallet และเงินดิทัลดังกล่าวไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ CBDC


กำลังโหลดความคิดเห็น