xs
xsm
sm
md
lg

ธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ล้มละลาย ส่งผลสาหัสต่อธนาคารทั่วโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผ่านมาแล้วเกือบหนึ่งเดือนหลังจากที่ธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ประกาศล้มละลายเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 แต่ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมธนาคารในระยะยาว อันที่จริงแล้วเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ที่สุดรองลงมาจากวิกฤตการเงินเมื่อปี 2551 อีกทั้งเป็นเหตุการณ์ล้มละลายครั้งใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา

โดนัล โคห์น (Donald Kohn) นักเศรษฐศาสตร์สถาบันวิจัยบรูกกิงส์เพื่อเศรษฐศาสตร์ อดีตรองประธานคณะกรรมการผู้ว่าการระบบธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ มีความคิดเห็นว่า สาเหตุหลักของการล้มละลายของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์คือพวกเขานำเงินออมจำนวนมากลงทุนไปในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวและหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ในปี 2565 ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและนโยบายสำรองเงินตราของธนาคารกลางสหรัฐฯที่เข้มงวด ทำให้มูลค่าพันธบัตรเหล่านี้ลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ธนาคารซิลิคอนแวลลีย์และ SVB ล้มละลาย ธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐฯได้รับเงินฝาก 120,000 ล้านดอลลาร์ แต่ธนาคารขนาดเล็กอื่นๆสูญเสียเงินฝากกว่า 108,000 ดอลลาร์ ในขณะเดียวกันเงินฝากในสหรัฐเพิ่มขึ้นกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ภายในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้สินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในกองทุนตลาดเงินแตะสถิติใหม่ที่ 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนนี้ แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้มีการช่วยเหลือผู้ฝากธนาคาร แต่การล้มละลายของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ยังคงทำให้ผู้คนชาวอเมริกันต้องวางแผนธุรกรรมการเงินของพวกเขาใหม่ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนเกิดความหวาดกลัวต่างพากันเทขายหุ้นของธนาคารระดับภูมิภาคกัน ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินเหล่านี้ก็เริ่มกังวลในความปลอดภัยของเงินตัวเอง ผู้ฝากจำนวนมากโอนเงินฝากไปยังธนาคารสวิส นอกจากนี้สภาเศรษฐกิจโลก WEF (World Economic Forum) ยังกล่าวว่าความวิตกกังวลต่อวิกฤตธนาคารนั้นครอบคลุมทั่วตลาดการเงิน
กำลังโหลดความคิดเห็น