ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงจากอัตราค่าเฉลี่ยของราคาผู้บริโภคสำหรับสินค้าและบริการในหลากหลายประเภท นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างมากในเดือนธันวาคม 65 ที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งปี แต่ด้วยตัวเลข CPI ล่าสุดที่ 6.5% ทำให้เชื่อได้ว่าจะช่วยส่งเสริมกรณีการลดอัตราเงินเฟ้อและสามารถผลักดันต้นทุนของสินทรัพย์ที่ผันผวน เช่น Bitcoin ให้กลับขึ้นมาอยู่ในระดับบวกได้เหมือนปี 64
จากการเปิดเผยของ coinunited ซึ่งระบุถึงดัชนี CPI หลักของสหรัฐฯ โดยไม่รวมราคาที่ปรับตัวผันผวนสำหรับสิ่งต่างๆ เช่น น้ำมันเบนซินและอาหาร เพิ่มขึ้น 0.3% เดือนต่อเดือน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยดัชนีซึ่งจัดทำโดยสำนักสถิติแรงงานบ่งชี้ว่าราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยที่สุดในรอบ 15 เดือน ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐสามารถลดระดับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บในสหรัฐอเมริกาลงได้อีก
ขณะที่ราคาค่าบริการสาธารณูปโภครายเดือน ก็ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยลดราคาทุกอย่างตั้งแต่เชื้อเพลิงไปจนถึง การดูแลสุขภาพ แม้กระทั่งราคารถยนต์มือสอง ถึงแม้ว่าราคารถใหม่จะคงที่ แต่การปรับขึ้นราคาตามร้านอาหารนั้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
การตอบสนองของตลาดแทบไม่มีการขยับ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 28 จุด หรือ 0.1% หรือ ฟิวเจอร์สบน Nasdaq 100 ลดลง 0.2% ในขณะที่ S&P 500 ลดลง 0.1%
ในทางกลับกันตลาด cryptocurrency กลับไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยราคาของ Bitcoin (BTC) ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ประมาณ $18,304 ลดลง 0.02% ในชั่วโมงก่อนหน้า ขณะที่เพิ่มขึ้น 4.88% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี 2564 ได้มีการกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงชะงักงันของต้นทศวรรษ 2523 โดยล่าสุดราคาพลังงานได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียเข้ารุกรานยูเครน ขณะที่ไวรัสโควิด 19 ก็ยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงานที่กำกับดูแลเศรษฐกิจการคลังจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจและการเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ตลอดจนการใช้มาตรการทางดอกเบี้ย เพื่อหวังแก้ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจและการว่างงาน