xs
xsm
sm
md
lg

"ฉัตรชัย ศิริไล" แนะดีเวลลอปเปอร์ตีโจทย์ให้ออกจะขายใคร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงประเด็นในเรื่องที่ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับตัวบนสถานการณ์ที่ตลาดฟื้นตัวไม่ชัดเจนว่า ในมุมของผม (นายแบงก์) มีเรื่องสำคัญ คือ

1.เรื่องที่ดินรอการพัฒนา (แลนด์แบงก์) ถ้าซื้อมาต้นทุนถูก ก็ไม่มีประเด็น

2.เรื่องการก่อสร้าง ต้นทุนการก่อสร้างปรับขึ้นไปเป็นจำนวนมาก เมื่อคำนวณต้นทุนการก่อสร้างบวกกับต้นทุนที่ดินแล้ว Market Cost ที่ออกมา ราคาบ้านที่ทำออกมาใครจะเป็นผู้ซื้อ

ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องตอบตัวเองให้ได้ สิ่งที่บริษัทกำลังทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าค้างสต๊อก หรือการจะก่อสร้างใหม่ เมื่อบวกรวมกันแล้ว "คุณจะขายใคร"

ปริมาณรถไฟฟ้าเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อยู่คอนโดฯ

"ตอนนี้ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าจะจับกลุ่มไหน ต้องรู้ว่าที่อยู่อาศัยจะอยู่ในเมือง หรือมีระบบขนส่งมวลชนเดินทางไปถึง ดังนั้น ถ้าพูดกันตรงๆ ตลาดคอนโดมิเนียม 3 ล้านบาทบวกลบ ผมว่าเริ่มเห็นตามแนวรถไฟฟ้า หรือสิ่งที่รัฐบาลทำ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าที่จะมี 10 สถานี หรือ 20 สถานี จะเห็นว่าราคาขายต่อตารางเมตร (ตร.ม.) ห่างกันมาก แสดงว่า เราไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณสุขุมวิท หรือเราอาจจะวิ่งไปอยู่แถวอุดมสุข หรือโซนบางนา หรือสถานีบางจาก และด้วยการใช้รถไฟฟ้า ทำให้ตลาดคอนโดฯ ต้องปรับตัว เรามองว่า คอนโดฯ ไฮเอนด์ขายได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหา แต่คอนโดฯ ระดับราคากลางลงล่างต้องระวัง เพราะผู้บริโภคมีทางเลือก ไลฟ์สไตล์เปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องซื้อห้องชุดราคา 1.5 แสนบาทต่อ ตร.ม. แต่อาจนั่งรถไฟฟ้าไปอีก 5 สถานี ราคาขายอาจจะเหลือ 7 หมื่นบาทต่อ ตร.ม. ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าจะขายใคร และเมื่อมาขอสินเชื่อกับธนาคารแล้วจะได้รับอนุมัติสินเชื่อหรือไม่"

ธอส.แกนหลักฉีดเงินเข้าระบบ พยุงตลาด

สำหรับประเด็นที่ภาคอสังหาฯ กังวลต่อสถานการณ์ตลาดในปี 2566 นั้นทุกคนมีสิทธิกังวล ถามว่ากังวลแล้วได้อะไรขึ้นมา แต่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องหาวิธีการบริหารจัดการ จะมานั่งกลัวฝนจะตก น้ำจะท่วม ก็ไม่ต้องทำอะไร และการที่ดีเวลลอปเปอร์ปรับลดไซส์ที่อยู่อาศัยลงแสดงว่าทุกอย่างผู้ประกอบการต้องทำเพื่อต้องการดูดีมานด์จะขายใคร สิ่งที่ผู้ประกอบการพูดนั้นเราต้องมามองหลักความจริง การจะสร้างอะไรขึ้นมา เราขายใคร อยู่ไหน ใครปล่อยสินเชื่อ หลักมีแค่นี้ เช่น อยากจะทำบ้าน 5 ล้านบาท ใครจะซื้อ ผู้ประกอบการพยายามทำทุกอย่างให้อยู่ในข่ายกลุ่มลูกค้าของแต่ละแบรนด์

"ในมุมของผม โควิดผ่านมา 2 ปี ภาคอสังหาฯ ไม่แกว่งเลย เพราะ ธอส.เป็นแกนหลักในการฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพราะถ้าระบบมีปัญหา เรา (ธอส.) ก็ต้องแข็งแรง ธอส.มีส่วนขับเคลื่อนตลาด เรามีมาร์เกตแชร์สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับ 14 แบงก์พาณิชย์ และมีธนาคารออมสินอีกประมาณร้อยละ 7-8"
กำลังโหลดความคิดเห็น