การประกาศขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. จะส่งผลดีต่อ NIM ของธนาคารขนาดใหญ่เพราะเงินกู้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แม้จะมีความเสี่ยงต่อการคาดการณ์กำไร ส่วนแบงก์ขนาดเล็กที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ ต้องรอจนกว่าจะครบอายุสัญญา จึงไม่ได้ส่งผลบวกต่อธนาคารขนาดเล็ก ส่วน Non-Bank อาจส่งผลลบ เนื่องจากสินเชื่อมีอายุสัญญาแต่ดอกเบี้ยจ่ายหากกู้จากธนาคารใช้ดอกเบี้ยลอยตัว
ในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดหนัก คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. ได้ตัดสินใจลดดอกเบี้ยและคงไว้ที่ระดับต่ำเป็นเวลานานกว่า 2 ปี เพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ จนเมื่อสถานการณ์การระบาดเริ่มปรับดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาเที่ยวไทยมากขึ้นต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและตลาดแรงงาน ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานปรับลดลงไปที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาด รวมถึงรายได้เฉลี่ยของแรงงานนอกภาคเกษตรก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ดังนั้น หลังจากวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ไทยก็เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงอีก จากปัจจัยด้านอุปทานตั้งแต่ช่วงต้นปี จากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์ที่ยืดเยื้อส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานและธุรกิจหลายรายจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้า เพราะไม่สามารถอั้นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องอาจทำให้เงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้นกว่านี้ได้ หากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นไปกว่านี้ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางจะดูแลเงินเฟ้อคาดการณ์ให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย นั่น จึงเป็น เวลาที่เหมาะสมที่ กนง. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นึ่คือเหตุผลของการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง.
ทั้งนี้ หลายฝ่ายคาดว่าปีนี้กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนมาอยู่ที่ 1.25% ขณะที่ปี 2566 คาดจะขึ้น 0.25% อีก 3 ครั้ง ในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ทั้งปีหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 2.00% โดย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 75bps นับเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
บล.ทิสโก้ มองการขึ้นดอกเบี้ยได้เริ่มขึ้นในธนาคารพาณิชย์แล้ว ตามแนวทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้หุ้นกลุ่ม BANKING ขยับ โดย BBL เป็นผู้นำในการขึ้นอัตรา ซึ่งดอกเบี้ยครั้งนี้อย่างน่าประหลาดใจในวันเดียวกับการประชุมของ กนง. และในรายอื่นๆ ก็ตามมาในวันถัดมา ขณะที่ SCB และ KTB ยังคงรักษาอัตราเดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง แต่คาดว่าทั้ง 2 จะทำการขึ้นดอกเบี้ยเช่นกันในสัปดาห์นี้
ส่วนการเพิ่มขึ้นนั้น บล.ทิสโก้ สังเกตว่ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงเกินคาด โดยเฉพาะ BBL โดยปกติ ธนาคารจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 15bps และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 10bps แต่คราวนี้ธนาคารเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น 25 เป็น 40bps ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากหลายรายการได้รับการยกระดับสูงกว่า 10bps แสดงถึงรับรู้ผลการประชุม กนง. 2 ครั้ง รวมถึงครั้งล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ธนาคารพาณิชย์คงอัตราดอกเบี้ยไว้ การเพิ่มขึ้นนั้นใช้รูปแบบเดียวกันกับรอบก่อนหน้า เนื่องจากกลุ่มธนาคารเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดังนั้นผลกระทบควรเป็นไปในเชิงบวก โดยประมาณการของ บล.ทิสโก้ มองว่า NIM หรือ Net Interest Margin ปรับตัวดีขึ้น จะเพิ่มขึ้นราว 5 bps ในปี 2566 และเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นความเสี่ยงเชิงบวกต่อการคาดการณ์ของ บล.ทิสโก้ สำหรับการวิเคราะห์ความอ่อนไหว บล.ทิสโก้ คาดผลกระทบในปี2566 สำหรับทุกๆ 25bps ที่เพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยสมมติว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงิน ฝาก 5 bps
ดังนั้น สังเกตว่าผลกระทบเชิงบวกนั้นเด่นชัดกว่าสำหรับ BBL ซึ่งเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของ บล.ทิสโก้ เช่นกัน BBL เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น 30-40 bps ขณะที่ธนาคารอื่นปรับขึ้นเพียง 20-25 bps. (KBANK และ BAY ยังคง MRR (อัตราที่ใช้สำหรับรายย่อยเป็นหลัก)ในระดับเดิม) ซึ่งคาดว่า BBL มั่นใจในลูกค้าของบริษัท (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่) แข็งแกร่งพอที่จะจ่ายในอัตราใหม่ได้ ข้อมูลคุณภาพสินทรัพย์ล่าสุดยังแสดงให้เห็นในลักษณะนี้ (เช่น NPL ต่ำ ต้นทุนเครดิตในระดับต่ำ และการเลื่อนชำระหนี้ต่ำ) ประการที่สองแม้จะมีอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ BBL ยังคงมีความสามารถในการแข่งขันกับคู่สัญญาธนาคารอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MLR ซึ่งถูกใช้มากที่สุดใน BBL ดังนั้น upside จะสูงขึ้นสำหรับ BBL (ประมาณการคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3 bps ใน NIM ในปี2566 )
บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มองหุ้น Financial Sector แนะนำ"Neutral" -หลังจากพบว่าการขึ้นดอกเบี้ยโดยรวมเป็นผลดีกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยการขึ้นทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากพร้อมกัน จะส่งผลดีต่อ NIM ของธนาคารขนาดใหญ่เพราะเงินกู้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะมีผลทันทีที่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่วนเงินฝากมีบางส่วนซึ่งมีสัดส่วนมากอยู่ที่เป็นเงินฝากประจำ ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะต้องรอระยะเวลาครบกำหนดถึงจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นได้ทันทีแต่ดอกเบี้ยจ่ายจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามการครบกำหนดอายุโดยรวมดีต่อธนาคารขนาดใหญ่ แต่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้อาจปรับขึ้นไม่ได้ทั้งพอร์ต สำหรับลูกหนี้เปราะบางยังคงต้องช่วยเหลือต่อไป โดยรวมมองเป็นบวกต่อธนาคารขนาดใหญ่แต่ไม่มากนัก
ส่วนธนาคารขนาดเล็กที่ปล่อยสินเชื่อที่มีอายุสัญญาอย่างสินเชื่อเช่าซื้อรถ การขึ้นดอกเบี้ยคงต้องรอจนกว่าจะครบอายุสัญญา จึงไม่ได้ส่งผลบวกต่อธนาคารขนาดเล็กแต่อย่างใด ส่วนธุรกิจ Non-Bank อาจจะส่งผลลบเนื่องจากสินเชื่อมีอายุสัญญาแต่ดอกเบี้ยจ่ายหากกู้จากธนาคารโดยใช้ดอกเบี้ยลอยตัว ก็อาจจะมีผลกระทบทันที และแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น จะมีผลกระทบต่อการออกหุ้นกู้ล็อตใหม่แทนล็อตเดิมที่มีต้นทุนถูกก่อนหน้า อาจกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี มองว่าธุรกิจ Non-Bank ส่วนใหญ่มีประสบการณ์และอยู่ในธุรกิจนี้ยาวนาน ได้มีการเตรียมตัวและบริหารจัดการดอกเบี้ยจ่ายมาล่วงหน้าประมาณหนึ่งแล้ว มองไม่ได้ส่งผลลบมากนักต่อ กลุ่มธุรกิจ Non-Bank ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนทั้งกลุ่ม Bank และ Non-Bank ที่ “Neutral”
แนะนำหุ้น ASK (BUY, TP: 53.-) เพราะ ASK รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 65 ที่ 359 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง33.4% เทียบปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากรายได้รวมที่เติบโตถึง 25.5% จากปีก่อน มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ยังเติบโตสูงถึง 26.7% ตามการขยายตัวของสินเชื่อ ประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตสูง เช่นกันโดยโต 22.6% จากปีก่อน เป็นผลจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่เพิ่มขึ้นตามการให้สินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการตั้งส ารองที่เพิ่มขึ้นมากถึง 32% ตามพอร์ตสินเชื่อที่โตขึ้นและเป็นการตั้งสำรองส่วนเกิน (Management Overlay) เข้าไปเพิ่มหากเทียบกำไรกับงวดไตรมาสก่อน ยังมีกำไรเพิ่มขึ้นราว 2.3% จากไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ครึ่งแรกปีก 65 มีกำไร 710 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.2% เทียบปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากรายได้รวมที่เติบโตถึง 32.1% มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ยังเติบโตสูงถึง 32.9% ตามการขยายตัวของสินเชื่อ ประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตสูงถึง 33.3% จากปีก่อน เป็นผลจากธุรกิจนายหน้าประกัน แม้ว่าจะมีการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นมากถึง 80% ก็ตาม ขณะยอดสินเชื่อคงค้างรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 65 อยู่ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.3% YTD และ 25.8% เทียบปีก่อน จากการรุกขยายสินเชื่อ โดยเติบโตเกือบทุกพอร์ต ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อสัญญาเช่าทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพอร์ตสินเชื่อเงินให้กู้ยืม
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ บล.เคจีไอฯ ประเมินหุ้นกลุ่ม Financial Sector หลังธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ยนโนบาย 25 bps เป็น 1% ทำให้ BBL เป็นธนาคารแรกที่ขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากเป็นคร้ังแรกในรอบ 3 ปี ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยในระดับที่บริหารจัดการได้เป็นเรื่องที่ดีกว่า สำหรับทุกฝ่าย การขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินค่อย ๆ ขยับซึ่งจะดีกว่ากับทุกฝ่าย ทั้งในแง่ของการบริการจัดการคุณภาพสินทรัพย์โดยธนาคาร และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ที่อ่อนไหว ซึ่งยังไม่สามารถฟื้นธุรกิจกลับไปอยู่ระดับก่อนการเกิดการระบาดของโรคระบาดได้
นอกจากนี้ ยังจะส่งผลดีต่อกับบริษัท non-bank ในเชิงแรงกดดันของต้นทุนทางการเงิน เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกใช้เป็นอันตราอ้างอิงในการออกหุ้นกู้ ธนาคารใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง 0.25% ในปีนี้ หลังจากที่ ธปท. ขึ้นดอกเบี้ยไปและสองธนาคารใหญ่ (KTB และ BBL) มองตรงกันว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps ในเดือนพฤศจิกายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 1.25% โดย BBL คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.75% ในปลายปี 2566 ในขณะที่ KTB คาดว่าจะขึ้นไปอยู่ที่ 2% ในปลายปี 2566 ขณะที่ ธนาคารต่าง ๆ น่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชดเชยต้นทุนการประกันเงินฝากที่จะกลับไปอยู่ที่ 0.46% ตั้งแต่ต้นปี 2566 (จาก 0.23%)
แบงก์ใหญ่รับอานิสงส์
บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินหุ้นกลุ่ม BANKING แนะนำ "POSITIVE" เพราะมองว่าการปรับดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งหลังจาก กนง. มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps เป็น 1.00% และคาดว่ากนง. จะขึ้นดอกเบี้ย 25 bps อีกหนึ่งครั้งในปีนี้ มองว่า NIM จะขยับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อย ไป โดยธนาคารใหญ่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น เมื่อพิจารณาจากพอร์ตสินเชื่อและโครงสร้างเงินฝาก
ทั้งนี้ ธปท. ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps เป็น 1.00% กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps จาก 0.75% เป็น 1.00% โดยมีผลทันที ทั้งนี้ ธปท. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ ต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงจึงเห็นควรปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย โดย ธปท. คาดว่า GDP ของไทยในปี 2565-2566 จะขยายตัว 3.3% และ 3.8% ตามลำดับ (จากประมาณการเดิมที่ 3.3% และ 4.2% ในเดือนมิถุนายน 2565 ) ในขณะเดียวกัน ธปท. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 6.3%ในปีนี้ ก่อนที่ละลดลงมาอยู่ที่ 2.6% ในปี / 2566 (จากประมาณการเดิมที่ 6.2% และ 2.5% ในเดือนมิถุนายน 2565 ) ทั้งนี้ กนง. มองควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและเสถียรภาพของระดับราคาดอกเบี้ยน่าจะทยอยขึ้นมากกว่าที่จะขึ้นแบบพรวดพราด กนง. ขึ้นดอกเบี้ย 25bps ตามที่คาดไว้
ขณะที่ตลาดเหมือนอยากเห็นเร่งขึ้น ดอกเบี้ยเร็วขึ้นเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแรงหลังผลการประชุม กนง. สำหรับใน ระยะต่อไป คาดว่า ธปท. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps เป็น 1.25% ในการ ประชุมนัดสุดท้ายของปีนี้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยมองว่า ธปท. ไม่ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 50bps เพราะประเมินมีโอกาสน้อยที่จะเห็นแรงกดดัน ระลอกสองจากเงินเฟ้อ หรือ การขึ้นค่าแรง โดยเฉพาะเรายังเห็นราคาเชื้อเพลิง พลังงานมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ข้อมูลจากการสำรวจชี้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการไปแล้วก่อนหน้านี้ และไม่คาดว่าจะขึ้นอีกในเร็วๆ นี้
การที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ บล.กรุงศรี คาดไว้ เพราะเคยห่วงว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้จะอยู่ไม่นาน และจะทำให้เกิดภาวะ เศรษฐกิจถดถอย แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังคงชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง และทำให้มองว่า ธปท. น่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในปี 2566 บล.กรุงศรี คาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ NIM ค่อย ๆ ขยับสูงขึ้น โดย KTB, KBANK, SCB และ BBL จะเป็นกลุ่มที่ได้อานิสงส์มากที่สุดเมื่อพิจารณาจากพอร์ตสินเชื่อ และโครงสร้างเงินฝาก ทั้งนี้ เนื่องจาก BBL ประกาศขึ้นดอกเบี้ย M-rates เร็วกว่าที่ คาดไว้ ดังนั้น จึงประเมินธนาคารใหญ่อื่น ๆ มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยตาม จึงปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารจาก NEUTRAL เป็น OVERWEIGHT โดย เลือก SCB และ KTB เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม เนื่องจากราคาหุ้นมี discount อย่างมาก (SCB) และโมเมนตัมกำไรมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น (KTB)
หุ้นที่ได้-เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น
บล.ดาโอ ประเมินหุ้นที่ได้-เสียประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะหลังจากตัวเลข CPI สหรัฐออกมาสูงกว่าคาด กดดันให้ Fed จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดที่ 1.00% จากเดิมที่คาด 0.75% ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทรุดตัวลงอย่างหนักเมื่อคืนวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมาพบว่า ปิดที่ 31,104.97 จุด ร่วงลง 1,276.37 จุด หรือ 3.94% เป็นเปอร์เซ็นต์ในวันเดียวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปีสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1%
โดยนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นวงกว้าง หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยขณะนี้นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้้ยแรงถึง 1.00% ในการประชุมเดือนนี้จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้นที่ 0.75%
บล.ดาโอ มองว่าหุ้นที่ได้-เสียประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น จากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่จะเกิดขึ้น ทำให้มองว่ามีโอกาสสูงมากที่ คณะกรรมการนโนบายการเงินหรือ กนง. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยในไทยขึ้นในการประชุมวันที่ 28 ก.ย.2565 ที่ 0.25% และคาดว่าการประชุมรอบหน้าวันที่ 30 พ.ย. 22จะขึ้นอีก 0.25% ทำให้ปี 2022E อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 1.25% ขณะที่ปี 2566 E คาดว่าจะมีการขึ้นอีก 0.25% อีก 3 ครั้ง ในช่วง ครึ่งแรกของปี 2566 ทำให้ปี 2566 E อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 2.00%
โดย บล.ดาโอ ได้ประเมินอุตสาหกรรมและรายชื่อหุ้นที่จะได้รับประโยชน์แล้วเสียประโยชน์ดังนี้่
Sector และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นคือ หุ้น Big Bank อย่าง BBL, KTB, KBANK, และ SCB ขณะที่ Company with net cash/ low debt (ONEE, BEC, SAT, IIG, BBIK, KCE, HANA)
สำหรับกลุ่ม และหุ้นที่เสียประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นคือ
กลุ่ม Finance (AEONTS, TIDLOR, MTC, THANI, SAWAD, KTC)
กลุ่ม Small Bank (TISCO, KKP)
กลุ่ม Retail (CPALL, MAKRO)
กลุ่ม Building Materials (DOHOME, GLOBAL)
กลุ่ม IT Distributor (COM7, SYNEX, SIS)
กลุ่ม Property (LPN, PSH)
กลุ่ม Power (GULF, BGRIM, GPSC)
และกลุ่ม Company with high debt (BAFS)