xs
xsm
sm
md
lg

"บล.พาย" ประเมินสัปดาห์นี้ปัจจัยหลักเงินเฟ้อสหรัฐฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ Pi คาดการณ์ตลาดหุ้น Dow Jones ในวันศุกร์ปรับขึ้นราว 1.2% ในภาพรวมยังมิได้มีปัจจัยใดๆ ที่มีนัยสำคัญเป็นเพียงแรงซื้อปกติเท่านั้น โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 และ 10 ปียังคงปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นตัวสะท้อนถึงความกังวลเงินเฟ้อที่ยังมิจบลง ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT พลิกกลับมาฟื้นตัวเด่น 4.1% หลักๆ คล้ายว่านักลงทุนกลับมาให้ปัจจัยอุปทานขาดแคลนหลังจากรัสเซียยังคงยืนยันที่จะระงับการส่งพลังงานให้ชาติตะวันตก ระยะสั้นมองกลุ่มน้ำมันจะได้ประโยชน์ (PTTEP)

สัปดาห์นี้ปัจจัยหลักยังคงเน้นไปที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีกำหนดรายงานในคืนวันอังคาร Bloomberg Consensus คาดการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ ประจำเดือน ส.ค. จะขยายตัว +8%YoY, -0.1%MoM ทั้งนี้ หากพิจารณาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในภาพรวมของ Bloomberg Commodity (BCOM) พบว่าในเดือน ส.ค. ลดลง MoM ราว -0.2%MoM ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับที่ตลาดประเมินไว้ โดยหากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ประกาศออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดหมายไว้จะเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นปรับขึ้นได้และ Dollar Index มีโอกาสพลิกลงมาอ่อนค่าพร้อมกับค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่กระแสเงินทุนต่างชาติจะไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทย มองหุ้นขนาดใหญ่ได้ประโยชน์ เช่น ธนาคาร พลังงาน รวมถึงค้าปลีก ถัดมาจะเป็นตัวเลข PPI ของสหรัฐฯ ในวันพุธ Bloomberg คาดการณ์จะขยายตัว +8.8%YoY -0.1%MoM หากต่ำกว่าคาดจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้น ส่วนวันพฤหัสฯ จะเน้นหนักไปที่ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ประกอบไปด้วย (1) ดัชนีภาคการผลิตรัฐนิวยอร์ก Bloomberg คาดการณ์ที่ -15 (2) ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ Bloomberg คาดจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากประกาศต่ำกว่าคาดการณ์จะยิ่งทำให้ตลาดผ่อนคลายกับเงินเฟ้อ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตลาดหุ้นไทยหรือแม้กระทั่ง Dow Jones ปรับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดแล้ว 7.9% และ 7.6% ตามลำดับ เชื่อว่าสะท้อนปัจจัยบวกเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปพอสมควร ดังนั้น มิได้คาดหวัง Upside เยอะเท่าใดนักหากเงินเฟ้อประกาศต่ำกว่าคาด ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อที่ 8% ยังห่างไกลจากเป้าหมายของประธาน FED ที่ย้ำชัดว่าต้องการที่ 2% ดอกเบี้ยของ FED จึงยังมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อแม้เงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุด โดยสัปดาห์นี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET 1,640-1,670 เชิงกลยุทธ์การลงทุนหากตลาดหุ้นปรับขึ้นยังมองเป็นโอกาสลดพอร์ตมากกว่าจะไล่ราคา เนื่องจากระดับ Valuation ที่มิได้ถูก ประกอบกับยังมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะทรงตัวสูงและดอกเบี้ยยังปรับขึ้นต่อ ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น ส่วนหุ้นแนะนำได้แก่กลุ่มน้ำมัน (PTTEP) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK SCB TISCO) ค้าปลีก (BJC CRC CPALL DOHOME) สื่อสาร (ADVANC)

PTTEP (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 179.00 บาท) คาดกำไรโตแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22 เพราะผู้บริหารให้แนวทางปริมาณขายที่โตอีก 16% YoY และ 9% HoH เป็น 487kBOED หนุนจากการเร่งผลิตจากโครงการ G1/61 (เอราวัณ) และแอลจีเรียที่เริ่มเดินเครื่องใน 2Q22 นอกจากนี้ บริษัทจะรับรู้ปริมาณขายเต็มปีจากโครงการ Malaysia Block H และ Oman block 61 ในปี 2022

KBANK (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 174.00 บาท) คงประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 14% YoY สำหรับปี 2022 และ 10% YoY ในปี 2023 หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ที่ลดลง คาดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญที่ลดลงเป็น 150bp ในปี 2022 และ 130bp ในปี 2023 เทียบกับ 173bp ในปี 2021


กำลังโหลดความคิดเห็น