ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ลงนามประกาศใช้กฏหมายแบนการชำระเงินดิจิทัลในรัสเซีย โดยได้ลงนามในใบเรียกเก็บเงินที่เพิ่มข้อห้ามก่อนหน้านี้สำหรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลในประเทศ
จากการรายงานของ coindesk ระบุว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้ลงนามในกฎหมายห้ามการชำระเงินทางดิจิทัลทั่วประเทศ ตามการแก้ไขนโยบายเมื่อวันพฤหัสบดี
โดยในส่วนของกฎหมายดังกล่าวนั้นได้รับการอนุมัติจากสภาสมัชชารัสเซีย (Duma) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งกฏหมายใหม่ของรัสเซีบได้ประกาศห้ามใช้หลักทรัพย์ที่เป็นดิจิทัลและโทเค็นยูทิลิตี้เพื่อชำระค่าสินค้า บริการ และผลิตภัณฑ์ในรัสเซีย
อย่างไรก็ตามการแก้ไขดังกล่าวได้เพิ่มกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลฉบับก่อนหน้า ซึ่งร่างขึ้นในปี 2020 โดยห้ามไม่ให้มีการใช้สกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงิน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าการประกาศห้ามใช้ดิจิทัลโทเคน และคริปโตดังกล่าว เพื่อกรุยทางไปสู่การนำรูเบิลดิจิทัลโดยธนาคารกลางรัสเซีย หรือ CBDC มาใช้ในอนาคต
โดยหากย้อนกลับไปในช่วงต้นปีจะเห็นได้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์ กระทรวงการคลังของรัสเซียได้เสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาเพื่อควบคุม cryptocurrencies ในประเทศ แม้ว่ากฏหมายดังกล่าวนั้นจะมีมุมมองของ Bank of Russia ต้องการซึ่งได้ผลักดันให้กิจกรรม crypto ถูกแบน
ทั้งนี้แม้ว่ารัสเซียซึ่งได้รับการตรวจสอบในช่วงตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่กองทัพได้ประกาศสงครามในการเข้าบุกยูเครน เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าใช้ cryptocurrencies เพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรหลังจากการรุกรานของยูเครน ขณะที่หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ การตรวจสอบย้อนกลับของหลายกระดานเทรดออกมายืนยันว่าไม่พบการใช้คริปโตเพื่อหลบหนีการคว่ำบาตรของนานาชาติ
ขณะเดียวกันทาง The New York Times ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล โดยกล่าวอ้างถึงข้อมูลจาก Center for Research on Energy and Clean Air ของประเทศฟินแลนด์ ที่รายงานว่ารัสเซียมีรายได้ถึง 93,000 ล้านยูโร หรือ 3.4 ล้านล้านบาท จากการส่งออกพลังงานในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา (มีนาคม - พฤษภาคม 2565 )
ทั้งนี้หลังการประกาศคว่ำบาตรของนานาประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะมีการประกาศคว่ำบาตร แต่กลับไม่ส่งผลกระทบต่อรัสเซียมากนัก ในขณะที่เหล่าประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซีย กลับต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนพลังงานจากการโต้ตอบของรัสเซีย ทั้งการหยุดส่งก๊าซ หรือบังคับขายน้ำมันด้วยเงินรูเบิล จากเดิมที่ใช้เงินดอลล่าร์และเงินยูโร