xs
xsm
sm
md
lg

แห่เพิ่มเป้าราคา-กำไร JMT หลังร่วมทุน KBANK หนุนผลงานอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โบรกเกอร์ ประสานเสียง ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย-กำไร JMT หลังจับมือ KBANK ตั้ง JK AMC ลุยธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ช่วยหนุนกำไรเติบโตสูงในช่วง 3 ปีข้างหน้า KTBST ปรับคำแนะนำ JMT เป็น “ซื้อ” จากเดิม “ถือ” PBV ที่ 6.2x จากเดิมที่ 80.00 ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มเป็น 100.00 บาท จากเดิม 80.00 บาท ส่วน "โนมูระ" คงคำแนะนำ “BUY” ให้ราคาที่ 105 บาท จากเดิม 100 บาท ส่วน ASPS คาดกำไรสุทธิปี 65-66 JMT จะเพิ่มขึ้นถึง 46% yoy และ 42% จากธุรกิจบริหารหนี้เติบโตต่อเนื่อง

KTBST เพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 100 บ. - กำไรปีนี้เเป็น 2.2 พันลบ.

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.เคทีบีเอสที เปิดเผยว่า หลังจาก บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ตเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ได้รับการอนุมัติจัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ JK AMC (สัดส่วน 50% : 50%, ทุนจดทะเบียน 1 หมื่นล้านบาท) เพื่อบริหาร NPLs ของ KBANK และสถาบันการเงินอื่น KTBST ได้ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” จากเดิม “ถือ” และปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 100.00 บาท อิงวิธี GGM ได้ 2023E PBV ที่ 6.2x จากเดิมที่ 80.00 บาท อิงวิธี GGM ได้ 2022E PBV ที่ 5.0x โดยเป็นผลของการปรับประมาณการกำไรสุทธิ, ROE ขึ้น และ rollover ไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2023E

ทั้งนี้มองเป็นบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา จากความชัดเจนของ JV AMC ของ JMT และKBANK (JKAM) ที่จะเข้าซื้อหนี้เสียในปี 2022E ที่มูลหนี้สูงถึง 5.0 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น 21% ของมูลหนี้เสีย ณ สิ้นปี 2021และสูงกว่าที่บริษัทเคยเข้าซื้อสูงสุดในอดีตที่ 3.3 หมื่นล้านบาท/ปี) ซึ่งหนุนให้บริษัทเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากJKAM และรายได้จากการบริหารหนี้ตั้งแต่ปี 2022E

นอกจากนี้ได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2022E ขึ้น +3% เป็น 2.2 พันล้านบาท (+58% YoY) และปี 2023E ขึ้น+11% เป็น 3.5 พันล้านบาท (+57% YoY) จากการรับรู้ 1) ส่วนแบ่งกำไรจากJKAM ที่ปีละ 38 และ 242 ล้านบาท และ 2) รายได้จากการบริหารจัดการหนี้เสียของ JKAM ทั้งนี้ ยังคงประมาณการ 3) การเข้าซื้อหนี้เสียของบริษัทที่ต้นทุน 1.0-1.5 หมื่นล้านบาท/ปีราคาหุ้น outperform SET +26% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จากการเข้าคำนวณ SET50 และผลการดำเนินงานที่จะเพิ่มขึ้นสูง

ทั้งนี้ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ” จากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะขยายตัวสูงตามการเข้าลงทุนใน JKAM ที่ประเมินว่ามีศักยภาพ และประสิทธิภาพในการเข้าซื้อ และบริหารกองหนี้เสียขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ผลดำเนินงานในระยะยาวจะขยายตัวต่อเนื่องสูงถึง 2023E-2025E EPS CAGR ที่ +26%

ASPS คาดกำไรปี65-66 JMT เพิ่ม 46% และ 42%

ด้านฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส (ASPS) ระบุว่า JMT และ KBANK ได้รับการอนุมัติจัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ JK AMC (สัดส่วน 50% : 50%, ทุนจดทะเบียน 1 หมื่นล้านบาท) เพื่อบริหาร NPLs ของ KBANK และสถาบันการเงินอื่น โดย JK ได้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจาก KBANK เข้ามาแล้วราว 3 หมื่นล้านบาท ในงวด2Q65 ซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีและไม่มีหลักประกัน และจะเพิ่มเป็นราว 5 หมื่นบาท ภายในสิ้นปี 65 โดย JK ตั้งเป้าจะบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 68 ถือเป็นการเติบโตที่สูงในช่วง 3 ปีข้างหน้า

JK จะนำจุดเด่นด้านEcosystem ของ JMT และ KBANK ให้เกิด Synergy ในระยะยาว เช่น การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย จากการนำระบบตามหนี้ของ JMT และการใช้สาขาและลูกค้าของ KBANKมาช่วยขายสินค้าร่วมกัน เป็นต้น

ฝ่ายวิจัยประเมินว่า JK จะเริ่มรับรู้รายได้และกำไรตั้งแต่งวด 4Q65 โดยฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิปี 2565-66 ของ JK อยู่ที่ประมาณ 62 ล้านบาท และ 496 ล้านบาท ตามลำดับ

JMT จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม JK เข้ามาตั้งแต่งวด 4Q65 ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 65-66 ขึ้น 0.2% และ 5.5% จากเดิม สะท้อนการรวมผลบวกของ JK เข้ามา ภายหลังปรับเพิ่มประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 65-66 ของ JMT จะเพิ่มขึ้นถึง 46% yoy และ 42% yoy จากธุรกิจบริหารหนี้เติบโตต่อเนื่อง กำหนด FV ปี 2565-66 เท่ากับ 80 บาท และ 100 บาท แนะนำซื้อลงทุนระยะกลางถึงยาว

สำหรับ KBANK แม้ฝ่ายวิจัยประเมินผลต่อประมาณการตามวิธีส่วนแบ่งกำไรในสัดส่วนการถือหุ้น 50% ค่อนข้างจำกัด คิดเป็นสัดส่วนราว 0.3% -0.5% ของประมาณการปี 66 แต่การตั้ง AMC ในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการเตรียมควาพร้อมหลังบ้านสำหรับ NPL ในระยะถัดไป ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจาก Macro risk ที่เพิ่มขึ้น ภาพรวมทำให้การบริหารงบดุลของธนาคารฯ มีความคล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้ การขายหนี้ NPL ตามหลักเกณฑ์แล้ว ย่อมต้องมีการตั้งสำรองส่วนใหญ่รองรับไว้แล้ว ทำให้ ECL ส่วนที่ต้องตั้งเพิ่มก่อนขายไม่น่าจะสูงมาก หรือในกรณีที่ราคขายสูงกว่ามูลหนี้สุทธิอาจเกิดกำไร

อย่างไรก็ดีฝ่ายวิจัยมองว่าหากมีกำไรพิเศษน่าจะนำไปตั้ง ECL เพิ่มจะเหมาะสมกว่า ยามที่เศรษฐกิจข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคงประมาณการ KBANK ตามเดิม โดยคาดการณ์กำไร 1H65 ที่ 2.28 หมื่นล้านบาท (+17% YoY) คิดเป็นสัดส่วน 54% ของประมาณการทั้งปีที่ 4.24 หมื่นล้านบาท (+12% YoY) อิง PBV ที่ 0.8 เท่า ให้ FV ที่ 174 บาท คงแนะนำ ซื้อ ตามธีมดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ในเชิง Valuation ราคาหุ้นมี PBV ซื้อขายที่ 0.7 เท่า และ PER ราว 8.5 เท่าถือว่าไม่แพง พร้อมคาด Div yield ราว 2.7% รวมทั้งมีจุดเด่นในด้าน Digital

โนมูระ คงคำแนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายที่ 105 บ.

ส่วน บล.โนมูระพัฒนสิน ระบุในบทวิะเคราะห์ มีมุมมองบวกต่อการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JK Asset Management เป็นบวกต่อทั้ง 2 ฝ่าย โดย JMT จะรับรู้กำไรเพิ่มเข้ามาอย่างมีนัยฯ และแก้ปัญหาการจัดหา NPL ขนาดใหญ่เข้ามาบริหาร หนุนการแข่งขันและต้นทุนในระยะยาว ขณะเดียวกันเป็นตัวเลือกที่ดีในการบริหาร Asset quality ของสถาบันการเงิน เปิดโอกาสในการร่วมทุนกับเจ้าอื่น จึงปรับประมาณการกำไรปี 2022F และ 2023F ขึ้น 1% และ 5% จากเดิม จากส่วนแบ่งกำไรจาก JK AMC และปรับราคาเป้าหมายขึ้นมาที่ 105 บาท อิง PER23F 44x (+1 S.D. จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) จากเดิม 100 บาท เข้าสู่การเติบโตสูงแบบ J-Curve JV AMC ส่งกำไรและหนุนภาพการแข่งขันและต้นทุนในระยะยาว

รอลุ้น Upside ต่อเนื่องหากจัดตั้ง JV กับสถาบันการเงินอื่นๆ คงคำแนะนำ “BUY” ที่ 105 บาท อิง PER23F 44x (+1 S.D. จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) จากเดิม 100 บาท เข้าสู่การเติบโตสูงแบบ J-Curve JV AMC ส่งกำไรและหนุนภาพการแข่งขันและต้นทุนในระยะยาว อีกทั้งยังมี Upside ต่อเนื่องหากจัดตั้ง JV กับสถาบันการเงินอื่นๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น