investors.com ชี้ ตลาดหมีที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอดกับตลาดการลงทุน และตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และ สกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2552 โดยหากนับเวลาตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาราคาของ Bitcoin ปรับตัวร่วงลงมากกว่า -50% ถึง 6 ครั้งแล้ว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความล้มเหลวของ Cryptocurrency และ Bitcoin ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์บางอย่างจาก มโนคติดิจิทัลเคอเรนซี ที่ไม่มีเสถียรภาพและความแข็งแกร่งและพิสูจน์ตัวเองได้อย่างแท้จริง สุดท้ายแล้ว Cryptocurrency และ Bitcoin ก็จะหายไปในที่สุด
Brian Armstrong ซีอีโอของ Coinbase (COIN) ระบุในจดหมายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ด้วยการประกาศปรับลดพนักงานลง 18% แต่กระนั้นเขาก็ยังให้คำมั่นว่า "ถึงแม้ Bitcoin และราคา crypto อื่น ๆ จะล่มสลายลง แต่การแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีจะยังคงดำเนินการต่อไป แม้ว่าสถานะวิกฤติที่เกิดขึ้นในเวลานั้น จะไม่ต่างจากโลกในยุคน้ำแข็งก็ตาม"
ขณะที่ Dan Dolev นักวิเคราะห์ของ Mizuho กล่าวกับ IBD ว่า พายุใหญ่ที่เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งความรุนแรงอาจมากกว่าในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมาอย่างสิ้นเชิง "มันจะไม่ต่างอะไรกับยุคน้ำแข็งของคริปโต ซึ่งคิดว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดหลังจากนี้ จะรุนแรงและยาวนานอย่างมาก ซึ่งจะทำลายล้างทุกระบบให้ล่มสลายลง แม้ว่า cryptocurrencies จำนวนมากจะแข็งแกร่งมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่อาจอยู่รอดได้”
ทั้งนี้หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ภาพการพังทลายลงของ "stablecoin" หรือ TerraUSD ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อมูลค่าตลาดมากถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ ได้เร่งให้เกิดคลื่น deleverage ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยในเดือนนี้ แพลตฟอร์มการให้ยืม crypto ของ Celsius Network ซึ่งดูแลเงินฝากและสินเชื่อ crypto มูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ได้ระงับการถอนเงินจากผลของการเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่อง
ขณะที่ทั้ง Terra ซึ่งเป็นเครือข่ายการชำระเงิน และเซลเซียสที่เป็นการออมแบบบล็อคเชน ต่างโปรโมทธุรกิจด้วยการเสนอการจ่ายดอกเบี้ยเป็นตัวเลขสองหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์คริปโตในขณะนั้น
อย่างไรก็ดีเหตุผลที่แท้จริงที่ตลาดคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) ซึ่งกำลังปั่นป่วนนั้น เริ่มขึ้นโดย Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ อีกประมาณ 19,000 สกุล นั้นขึ้นการกำหนดนโยบายที่เข้มงวดของ Federal Reserve ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่ออกมาตรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของภาวะเงินเฟ้อซึ่งกัดกินระบบเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในขณะนี้
Cryptocurrency ที่ผ่านมาคือการเผาหลอก.......แต่นับจากนี้อาจเป็นการเผาจริง
ตั้งแต่เปิดตัว Bitcoin เป็นต้นมา แม้ว่า FED จะรับรู้การมีอยู่ และการนำมาใช้ด้วยคุณสมบัติที่อุดช่องโหว่ของธุรกรรมการเงินในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับพบว่าเฟดพยายามที่จะสนับสนุนอุปสงค์มากกว่า และเหมือนกับว่า FED จะหลับตาข้างนึง (หรืออาจอยู่ในช่วงของการแอบเฝ้าศึกษาข้อมูลอยู่ก็ได้) โดยในช่วงเวลานั้น เฟดเข้าซื้อพันธบัตรกระทรวงการคลังและหลักทรัพย์จำนองที่รัฐบาลหนุนหลังมูลค่ากว่า 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งได้ระงับอัตราในการเสนอราคา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเสี่ยง เพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ และกระตุ้นความต้องการผ่านการเพิ่มความมั่งคั่ง
ขณะที่การซื้อของเฟดจำนวนมาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ เกิดขึ้นหลังจากการล็อกดาวน์ของ coronavirus ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2563 นอกเหนือจากการกระตุ้นทางการคลังหลายรอบแล้ว นโยบายของ Fed ที่ง่ายมากก็ใช้ได้ผลดีเช่นกัน โดยเม็ดเงินที่เปรียบเหมือนกับเชื้อเพลิงทั้งหมดนั้น ถูกอัดฉีดเข้าไปเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง และด้วยความสำเร็จของวัคซีนฉุกเฉินจากบริษัทยาต่างๆ เพื่อสู้กับโควิดในปี 2564 แต่กระนั้นก็เหมือนว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา จะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง โดยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี
อย่างไรก็ดีตอนนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้พลิกกลับของของเฟดถือว่ารุนแรง อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ส่วนใหญ่ลดลง เช่นการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ปรับตัวลดลง ได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นที่มีการเติบโตโดยเฉพาะ ซึ่งนั้นหมายความว่ากระแสรายได้ในอนาคตของประชาชนมีค่าลดน้อยกว่าเมื่อลดราคาจนถึงปัจจุบัน โดยอิงจากอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงที่สูงขึ้น นั่นช่วยอธิบายได้ว่าทำไม Nasdaq ที่เน้นภาคธุรกิจเทคโนโลยีจึงมีประสิทธิภาพต่ำกว่าตลาดในวงกว้าง
แต่เมื่อพูดถึงการประเมินมูลค่า Bitcoin และสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ กลับไม่มีกระแสเงินสดที่จะลดมูลค่าทางราคาลงในอนาคต
Bitcoin Crash แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ทองคำดิจิทัล
ความผันผวนที่ขาดเสถียรภาพอย่างรุนแรงของ Bitcoin ได้ "หักล้าง" แนวคิดที่ว่าเสนอการป้องกันความเสี่ยงเทียบกับเงินเฟ้อ เช่น ทองคำดิจิทัล นักเศรษฐศาสตร์ของ Deutsche Bank Marion Laboure และ Galina Pozdnyakova ระบุในบทความเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า แทนที่จะซื้อขายเหมือนทองคำ แต่ราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ ของสกุลเงินดิจิทัลกลับกลายเป็นเงาคู่ขนานที่มีความสัมพันธ์กับ Nasdaq ในระดับที่ "น่าตกใจ"
อย่างไรก็ดี ความผันผวนของสกุลเงินคริปโตที่ขึ้นลงแรงเหมือนนั่งรถไฟเหาะของสกุลเงินดิจิทัล ทำให้ความผันผวนของ Nasdaq ที่เคยร้อนแรง กลับดูเป็นธรรมดาไปเลย จนกระทั่งวันที่ 23 มิถุนายน Nasdaq ซึ่งปรับตัวลดลงเกือบ -31% จากระดับสูงสุดในวันที่ 22 พ.ย.64 ที่ Bitcoin ซึ่งสูงสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่พุ่งขึ้น 70%
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดและ ทุกการการเคลื่อนไหวต่างๆ ส่งผลกระทบตรงต่อคริปโต
เพียงไม่กี่วันก่อนที่ Bitcoin จะเริ่มทรุดตัวลง Fed กล่าวว่าจะปรับลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือนจำนวน 120 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหากเทียบเคียงไทม์ไลน์ดูแล้ว เหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญในความเป็นจริงประวัติของจุดสูงสุดที่เชื่อมโยงระหว่าง Bitcoin และ FED ส่วนใหญ่เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในการซื้อสินทรัพย์ของ Fed
การปรับตัวร่วงลงของ Bitcoin ครั้งแรกเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2554 เช่นเดียวกับที่เฟดสิ้นสุดการซื้อสินทรัพย์ในยุควิกฤตการเงินรอบที่ 2 โดยต่อมาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี 2556 เกี่ยวกับการซื้อสินทรัพย์อีกรอบ ซึ่งการเริ่มต้นของการปรับตัวลดลงในครั้งนี้ เกิดขึ้น ณ สิ้นปี 2556 ใกล้เคียงกับการปรับตัวร่วงลงอย่างรุนแรงของ Bitcoin ในครั้งที่ 3
ขณะที่ความผิดพลาดในช่วงปลายปี 2560 เกิดขึ้นพร้อมกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เฟดเริ่มผ่อนคลายการซื้อสินทรัพย์ ทว่าไม่มีกรณีใดที่เห็นว่ามีความเข้มงวดของ FED เท่ากับที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้
ในช่วงปลายปี 2561 เมื่อการตึงตัวทางการเงินทำให้เกิดความเสียหายในตลาดการเงิน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่สำคัญของเฟดอยู่ที่ 2.5%-2.75% เท่านั้น ซึ่งนั่นถึอว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin ขณะที่เมื่อการลดลงของ S&P 500 เข้าใกล้เกณฑ์ตลาดหมี 20% ซึ่งผู้กำหนดนโยบายของ Fed ก็ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2562 เฟดได้ลดอัตราดอกเบี้ยและซื้อสินทรัพย์เพิ่ม
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่า S&P 500 และ Nasdaq ได้เข้าสู่สถานะซบเซาหรือตลาดหมี แล้ว และเฟดเองก็ไม่ได้กำหนดเป้าหมายประเภทสินทรัพย์ใด ๆ เพิ่มเติม แต่ผลที่เกิดขึ้นคือมูลค่าของตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่กลับหายไปกว่า $2 ล้านล้านนั้น เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้
“เราได้เห็นสภาพการเงินตึงตัวและเหมาะสมแล้ว” เจอโรม พาวเวลล์ หัวหน้าเฟดกล่าวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน
ราคา Bitcoin ได้ทะลุข้ามเส้นแนวรับแล้ว
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคา Bitcoin ทะลุแนวรับ โดย Bitcoin ร่วงลงมากถึง -75% จากสถิติเดือนพฤศจิกายนที่ 68,990.90 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับต่ำสุด 18 มิถุนายนใกล้กับ 17,800 ดอลลาร์ ซึ่งได้ตัดราคาช่วงพีคสำคัญครั้งล่าสุดที่ใกล้ 19,600 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2560 ที่แย่ที่สุดในช่วงต้นปี 2559 ค่าต่ำสุดของ Bitcoin นั้นสูงกว่าจุดสูงสุดก่อนหน้านี้เกือบ 40%
อย่างไรก็ดีแม้ว่า Bitcoin จะสามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาเหนือ $21,000 เล็กน้อย นั่นเท่ากับราคาซื้อเฉลี่ย 21,000 เหรียญสหรัฐ Dolev จาก Mizuho กล่าว
โดยล่าสุด ณ เวลา 23.00 น ( 27 มิ.ย.65) ราคา Bitcoin ปรับตัวลดลง -2.56% มาอยู่ที่ $20,777.48 ต่อเหรียญบิทคอยน์
ทั้งนี้การลบผลกำไรของ Bitcoin ในช่วง 4.5 ปีที่ผ่านมา เป็นการท้าทายความคิดที่ว่าผู้ถือครองระยะยาวไม่สามารถสูญเสียได้ ซึ่งกลายเป็นค่านิยมในการทดสอบศรัทธาที่กำหนดมูลค่าของ cryptocurrencies ทั้งหมดในที่สุด
อย่างไรก็ดี แรงศรัทธาต่อ Cryptocurrency และ Bitcoin นั้นอาจมีขอบเขต โดยเห็นได้ชัดว่าลึกล้ำเกือบ 50% ของนักเทรด Bitcoin บน Coinbase กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ขาย ไม่ว่าราคา cryptocurrency จะตกต่ำลงแค่ไหน โดย Dolev เขียนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ว่าจากการสำรวจของ Mizuho "สำหรับส่วนที่เหลือ ~50% จุด ซึ่งมองว่าแนวโน้มที่จะปรับลดลงไปแตะ $9,000 ต่อเหรียญบิทคอยน์ อาจเกิดขึ้นในเร็วๆนี้"
แม้จะมีการล่มสลายลงทางมูลค่าราคาของสกุลเงินดิจิตอล แต่ Andreessen Horowitz บริษัท VC ของ Silicon Valley กลับทำตรงกันข้ามกับภาวะตลาดที่เกิดขึ้น โดยได้ประกาศกองทุน crypto มูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งบริษัทร่วมทุนได้ทุ่มเงิน 4.2 พันล้านดอลลาร์ ให้กับบริษัทคริปโตขั้นต้นเมื่อเดือนที่แล้ว แม้จะลดลงจาก 6.8 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน ในปี 2564 แต่การระดมทุน VC ของบริษัทบล็อคเชนมีมูลค่ารวม 33 พันล้านดอลลาร์
Cryptocurrency คือเพชรฆาตเงียบ?
เงินนับพันล้านซื้ออะไรมาบ้าง? อาจไม่ใช่ความตื่นเต้นหลัก หากไม่ใช่จุดประสงค์หลักของ cryptocurrencies แต่ดูเหมือนจะเป็นการเล่นแร่แปรธาตุดิจิทัล หรือ การสร้างเงินจากรหัส โดยที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการสร้างโค้ดเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนเทเงินเข้ามาถือเหรียญเพื่อเก็งกำไร จากนั้นก็ทำการลบเหรียญออกไปจำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อบิดเบือนอุปสงค์-อุปทานของตลาดให้เสียสมดุล ให้ผิดไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น ผลที่สุดแล้วผู้ที่ออกเหรียญ กระดานเทรด หรือเจ้ามือใหญ่ผู้ที่ถือเหรียญ คือคนที่กุมความมั่งคั่ง ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่น่าเหลือเชื่อ โดยอาศัยหลักการสร้างผลประโยชน์จากความโลภในใจมนุษย์
ขณะที่ NFT หรือโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้อาจเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดที่มีการแสดงแทนสัญญลักษณ์การถือครองในความเป็นเจ้าของ เพื่ออวดความมั่งคั่ง หรือทำกำไรจาก NFT นั้นๆ ในบัญชีแยกประเภท blockchain เช่นเดียวกันกับที่บันทึกการเป็นเจ้าของ cryptocurrencies โทเค็น ซึ่งเจ้าของสามารถแปลงผลงานของตนให้เป็นงานศิลปะในรูปแบบของดิจิทัล ทั้งการ์ดเกมกีฬา มิวสิควิดีโอ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ของสะสมดิจิทัลเหล่านี้,,,,,อาจไม่มีมูลค่าที่แท้จริง?!
โดย NFT ที่พูดถึงกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น ลิขสิทธิ์ดิจิทัลสำหรับทวีตแรกที่เคยมีการซื้อขายเก็งกำไรกันสูงมากถึง 2.9 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 เมื่อเปิดประมูล ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปในอีกหนึ่งปีต่อมา ราคากลับร่วงลงอย่างน่าตกใจโดยล่าสุดมีราคาเหลืออยู่เพียงประมาณ 12,600 ดอลลาร์เท่านั้น
การขาย NFT ที่แพงที่สุดในเดือนที่ผ่านมา คืองานพิมพ์ดิจิทัลจากคอลเลกชั่น Bored Ape Yacht Club ซึ่งการเป็นเจ้าของหนึ่งใน 10,000 ภาพ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์สถานะหลอกให้กับสมาชิกคลับเพื่ออวดความมั่งคั่งในกลุ่มวงจำกัด ได้แก่ จิมมี่ ฟอลลอนและจัสติน บีเบอร์
ล่าสุดการประเมินมูลค่าของ Bored Apes กลับลดลงอย่างน่าประหลาดใจ หลุดจากราคาฟลอร์ ซึ่งเป็นราคาประมูลที่ต่ำที่สุดในปัจจุบันสำหรับส่วนหนึ่งของคอลเลคชัน ได้ร่วงลงถึง -77% นับตั้งแต่จุดสูงสุดในวันที่ 1 พฤษภาคมซึ่งราคาอยู่ที่ 420,000 ดอลลาร์ โดยปัจจุบันราคาลงมาอยู่ที่ประมาณ 97,250 ดอลลาร์
ทั้งนี้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความล้มเหลวของ Cryptocurrency และ Bitcoin ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์บางอย่าง แม้จะมีข้อดีในการสะท้อนภาพความล้าหลังของระบบธุรกรรมทางการเงินแบบเดิม แต่ด้วยพื้นฐานจาก มโนคติดิจิทัลเคอเรนซี ที่ไม่มีเสถียรภาพและความแข็งแกร่งและพิสูจน์ตัวเองได้อย่างแท้จริง สุดท้ายแล้ว Cryptocurrency และ Bitcoin ก็จะหายไปในที่สุด