ตั้งแต่ DeFi Summer ช่วงกลางปี 2020 ที่ผ่านมา ตลาดคริปโตฯ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ความเห่อรอบใหม่ เรียกว่า #DeFi เกิดขึ้น
1.ทำงาน&สร้างเครือข่ายให้แข็งแรง (Operating the network)
2.ให้กู้ยืมแก่นักเทรด (Lending to traders)
3.เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาด (Providing liquidity)
4.บริหาร protocol (Managing protocols)
5.เพื่อการตลาด (Marketing)
‘นักฟาร์ม’ (นักลงทุน) คือ คนที่มีเงินทุน ต้องการให้เงินทุนมีผลตอบแทนงอกเงยในอนาคต จะได้ในรูปแบบส่วนแบ่ง จาก Gov. Token และ/หรือค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น
Yield Farming คือ รูปแบบการหารายได้รูปกึ่ง passive ที่จะได้รับเป็นรูปแบบคริปโตฯ
ก่อนที่จะไปเจาะหน่อย : ควรต้องถาม 2 คำถาม
A Core Value (มูลค่าของแก่น) ที่นักฟาร์มควรได้รับคืออะไร?
B “ใคร” เป็นผู้แจกจ่าย ผลตอบแทนเหล่านั้น?
ก่อนที่จะไปลึกลงไปโลก DeFi และ Yield Farming ผมขอนำตัวอย่าง #โลกจริงให้เข้าใจกันหน่อยก่อน
Option A : สมมติเรามีทองคำมูลค่า 100 บาท ไว้กับตัว >> อันนี้ คือคุณเป็นเจ้าของเฉยๆ ไม่ทำสร้าง cash flow ไม่ได้สร้างผลตอบแทนอะไร เราถือทองคำเพื่อหวังว่า capital gain หรือหวังว่าราคามันจะอยู่ตัว หรือเพิ่มขึ้นในอนาคต
Option B : สมมติเรามีทองคำมูลค่า 100 บาท แต่เรานำไปให้โรงจำนำเพื่อค้ำประกัน และเราก็กู้เงินสดออกมา คราวนี้เรานำเงินสดของเราไปทำธุรกิจขายหมูปิ้ง หมุนเวียนในธุรกิจทุกๆ เดือน ไปจ่ายดอกเบี้ย >> 1 ปีต่อมา เรามีรถขายหมูปิ้ง 5 คันแล้ว ซึ่งเราอยากได้ทองคืน ก็นำนำเงินสดที่ได้มาจากธุรกิจไปจ่ายคืนทั้งต้น ทั้งดอก เพื่อนำทองคำคืนมา มูลค่า 100 บาท
ในแบบนี้คือ Option B : กึ่งๆ คือ Yield Farming นั่นเอง
ในการ Yield Farming เราควรเรียกว่า ‘passive’ จริงไหม? ก็ไม่เชิงนะ เพราะมันก็ต้องเข้าใจอย่างหนักว่าส่วนแบ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร ทำไมเราควรได้รับ?
แต่ก็ต้องเรียกว่าไม่งานหนักเท่ากับกลุ่มที่ต้องทำเหมืองเอง หรือเปิด service รูปแบบ validator อันนั้นคือยิ่งต้องเข้าใจลึกซึ้งไปให้เหนือขั้นไปอีกว่าระบบภายในทำงานอย่างไร
ซึ่งโอกาสคือ Yield Farming ทำให้ความยุ่งยากอย่างทำเหมืองเอง หรือเปิด service รูปแบบ validator ให้เข้าถึงง่ายขึ้นนั่นเอง
กึ่งๆ คือ การที่เรา Yield Farming ควรจะเป็นหลักการ ที่จะต้องใช้เวลาซื้อ & ถือครองในรูปแบบ position นั้นๆ และหวังว่าในอนาคต ราคาควรจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวขึ้นด้วย นอกจากแค่หวังรูปแบบค่าธรรมเนียม หรือ การแจกจ่ายเหรียญ Gov.token
การสร้างมูลค่าเมื่อการเกิด ‘แลกเปลี่ยน’ (exchange) จึงให้ค่าตอบแทนมา คือ ปัจจัยเบสิกสุดว่ามันคืออะไร
1.ทำงาน& #สร้างเครือข่ายให้แข็งแรง (Operating the network)
วิธีนี้คือ ‘#Staking’ หรือการเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ validators ที่ประมวลธุรกรรมว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือได้ และผู้ให้บริการจะต้องวางเงินค้ำประกัน (หรือวางเป็นคริปโตฯ นั่นล่ะ) ไว้ด้วย หากเกิดความไม่ซื่อตรง โปร่งใส ไม่น่าเชื่อถือเกิดขึ้น เงินวางค้ำก็จะถูกยึด (บางส่วน)
รูปแบบนี้คือการที่เรามั่นใจในผู้ให้บริการ validators เราจึง ‘มอบอำนาจทุน’ (delegate) ให้ผู้ให้บริการ และคาดหวังว่าเราจะได้ผลตอบแทนจากการรับค่าธรรมเนียม เมื่อประมวลธุรกรรมถูกต้อง
กรณีที่เราไป ‘มอบอำนาจทุน’ ให้ผู้ให้บริการ ที่ห่วยๆ ก็เงินวางค้ำก็จะถูกยึด เนื่องจากระบบเห็นว่าการทำงานไม่ดี ไม่โปร่งใส
2.ให้ #กู้ยืมแก่นักเทรด (#Lending to traders)
การให้กู้ยืมเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายสุดแล้ว จากข้อแรก ที่เรานำ ‘มอบอำนาจทุน’ ให้ผู้ให้บริการ >> เรานำทุนของเราไปให้นักเทรดกู้ยืมไปเทรดได้
การให้ยืมสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจได้ เพราะนักเทรดนำทุนไปใช้ และนำมาคืนเสริมด้วยดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นมา
ในโลกของ DeFi การกู้ยืมจะต้องมีเงินค้ำประกันมูลค่าเกินกว่าที่คุณจะกู้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าถ้าคุณจะกู้เกินตัว แล้วหนีการคืนเงิน มันทำได้ & ทำได้ง่ายด้วย ทุกๆ วันนี้ Protocol ต่างๆ ถ้าคุณวางเงินค้ำประกัน 100 บาท คุณอาจจะนำออกมาได้เพียงแค่ 50-80 บาทเท่านั้น
3.#เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาด (#Providing #liquidity)
ในสมัยก่อน DeFi จะบูม มีแค่ Centralized Exchange และ/หรือผู้ให้บริการขนาดใหญ่ ที่เป็น Market Maker เท่านั้น และมีความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคที่จะสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาด
ปรากฏการณ์เหลือเชื่อคือ #AMM (Auto Market Maker) จากโลกของ DeFi และ Smart Contract ที่ทำหน้าที่แทนเราได้ นักฟาร์มก็นำเงินทุนไปเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาด รับผลตอบแทนรูป passive income สบายใจเฉิบ
แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงหลายอย่างอยู่นะ!!
นักฟาร์มต้องเสี่ยงเงินทุนของตน แต่ก็แลกด้วยผลตอบแทนที่น่าสนใจ เช่น ค่าธรรมเนียมการเทรด ผลตอบแทน เช่น รูปแบบ Gov.Token
4.#บริหาร protocol (Managing protocols)
ในโลกของบล็อกเชน เรามักคิดว่า “Code is Law” หรือการเขียนโค้ดคือคําบัญญัติกฎหมายออกมาแล้วแน่นอนแล้ว
ในความเป็นจริง เรายังอยู่ในโลกของการบริหาร การจัดการด้วยมืออยู่ดี ยังต้องโหวตมติ ยังต้องอัปเกรด protocol ให้ดีขึ้น
ในการที่เราต้องมีการคิด ประดิษฐ์ สรรหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเงินทุนของเรา ก็มีมาตรการ (ที่อ่านแล้วอาจจะดูแปลกๆ อยู่บ้างนะครับ)
#Curve Finance เป็น stable swap protocol ชั้นหนึ่งของโลกที่มีอีก protocol หนึ่งอย่าง #Convex Finance คอยบริหารจัดการเงินทุนให้มีประสิทธิภาพสุด ทับซ้อนไปอีก (แต่ยังมีเรื่องของการซื้อเสียง (bribe) เพื่อผลตอบแทนไปแจกจ่ายด้วยนะ!) และอย่าง #Yearn Finance ที่คอยย้ายสินทรัพย์ไปกระจายปล่อยกู้เพิ่มสภาพคล่องตามที่ต่างๆ ที่มีผลตอบแทนเด็ดสุด
การที่มี protocol หนึ่งสร้างทับซ้อนอีก protocol หนึ่ง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดค่าธรรมเนียมการโอนย้ายระหว่างทาง จากรูปแบบ automated portfolio management ก็มี
การที่บริหาร protocol แบบนี้ จริงๆ แล้วไม่เรียกว่า #สร้างมูลค่าเท่าไรแล้ว แต่เป็นประมาณ #สกัดมูลค่า (บีบ รีด เค้น มูลค่าออกมาจาก protocol!) โดยเฉพาะ เมื่อมีการขอ ซื้อเสียง (bribe) ด้วย กึ่งๆ สำหรับนักฟาร์มก็ทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดี แต่ไม่ยั่งยืนเท่าไร สำหรับ Ecosystem
5.เพื่อ #การตลาด (Marketing)
Yield farming ยังถือว่าเป็นหนึ่งในการตลาดที่ดีเลย นอกจากการที่ protocol มี TVL (Total value locked หรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนใน protocol) ก็แปลว่า มันน่าเชื่อถือนะ กลายเป็นตัวเลือกแบบไม่ต้องคิดมาก
TVL ยังคิดกลายๆ รูปแบบเหมือนว่า บริษัทมหาอำนาจแบบ Web 2.0 ที่ใหญ่ๆ ได้ มีรายได้ยิ่งใหญ่ มีผลตอบแทนมหาศาล
อีกทั้งการที่มีผู้เล่นเข้าไปร่วมจำนวนมาก การวางสภาพคล่องเงินทุนแบบนี้ทำให้จะต้องมีกลุ่มผู้ที่ต้องศึกษา/ตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนนำเงินทุนไปวาง
อีกทั้งการที่มอบความมีสิทธิ กึ่งๆ ผู้ถือหุ้น (ให้ Gov. Token) สร้างความพอใจให้แก่ผู้วางสภาพคล่อง เพราะเหมือนเราได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกับ Protocol ด้วยเช่นกัน (และ แน่นอนว่า เราจะถูกบอกให้ ‘#เทให้ยับ’ เลย สำหรับพวก Gov.Token เหล่านี้ ฮ่าๆๆ)
All in All : การหาผลตอบแทนจาก Yield Farming = นักลงทุน (นักฟาร์ม) มอบเงินทุนให้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนทางตรงและทางอ้อม
ในขณะที่ Yield Farming อาจจะไม่ใช่ concept ที่หมู และไร้ความเสี่ยงเลย
ถ้าพยายามตั้งใจ เข้าใจดีๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก (มาก) เกินไป
อย่าลืมที่จะกระจายความเสี่ยงไปด้วย และ ในอนาคตความเสี่ยงในโลก DeFi น่าถูกทยอยพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงลง และ แน่นอนที่จะลดผลตอบแทนลงด้วยเช่นกัน
ปล. บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนครับ #NFA !!
#EarthDeFIRE รายงาน
บทความโดย : ปัญญวิทย์ ฉัททันต์รัศมี นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของเพจให้ความรู้ด้านตลาดคริปโตฯ Earth Defire
ข้อมูลเพิ่มเติมจากเพจ: https://www.facebook.com/EarthDeFIRE/posts/1050882865495215