xs
xsm
sm
md
lg

10 หุ้นโรงพยาบาล ผงาดยกแผง เทียบผลตอบแทนด้านราคา YTD ใครพุ่งแรงสุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แม้ภาพรวมการติดเชื้อโควิดยังคงสูงในแต่ละวัน แต่อยู่ในสถานการณ์ควบคุมได้ ทำให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ยกเลิก Test & Go เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นำไปสู่การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปส่งผลบวกกับหุ้นโรงพยาบาล จากผู้ป่วยต่างชาติเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จากการลดจำกัดในการเข้าประเทศ รวมไปถึงกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคมจากผู้ป่วยภายในประเทศเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ฉะนั้นไปส่อง 10 หุ้นโรงพยาบาล ราคา YTD ใครพุ่งแรงที่สุด

1.THG (บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +165.77% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิดที่ 99.00 บาท, มาร์เกตแคป 83,899.27 ล้านบาท ค่าP/E 62.73 เท่า, ค่า P/BV 9.17 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 0.91% มีบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่สุด 21.06% และมี นางจารุวรรณ วนาสิน (ภรรยานายแพทย์บุญ) ถือลำดับ 2 ถือ 14.39% โดยมีนายแพทย์บุญ วนาสิน เป็นประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร

ผลตอบแทนด้านราคาที่ปรับสูงมาก ส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากการที่ THG ประกาศโครงการโรงพยาบาลธนบุรีรังสิต เปิดให้บริการในปี 2568 รายงานว่าคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการลงทุนในการร่วมทุน โครงการโรงพยาบาลธนบุรีรังสิต ร่วมกับบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง , โรงพยาบาลวิภาวดี และกลุ่มแพทย์อื่นๆ

2.RAM (บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +55.35% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิดที่ 61.75 บาท มาร์เกตแคป 74,100.00 ล้านบาท ค่าP/E 17.67 เท่า , ค่า P/BV 4.31เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.23% มีบริษัท เอฟแอนด์เอส 79 จำกัด ถือหุ้นใหญ่สุด 23.37% และบริษัท โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม จำกัด ถือ 7.19 และบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ถือ 6.21%

“โรงพยาบาลรามคำแหง” อยู่ระหว่างการสร้างโรงพยาบาล (รพ.) ใหม่ 4 แห่ง และครึ่งปีหลัง 2565 เตรียมเปิด 2 โรงพยาบาลใหม่ “รามคำแหง2-วิภาราม” หนุนรายได้เติบโตแข็งแกร่ง ส่วนประเด็นร้อน โรงพยาบาลรามคำแหง-บริษัทเอกชัยการแพทย์”ยืนยันไม่มีแผนทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น หลังมีข่าวลือสะพัด

3.AHC (บมจ.โรงพยาบาลเอกชล) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +23.60% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิดที่ 19.90 บาท, มาร์เกตแคป 2,983.19 ล้านบาท , ค่าP/E 11.54 เท่า ,ค่า P/BV 1.61 เท่า,อัตราเงินปันผลตอบแทน 3.03% มีนายอภิรักษ์ วานิช ถือหุ้นใหญ่สุด 11.16% และมีบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) ถือ 4.83%

AHC ติดอันดับเบอร์ต้นๆ หุ้นกำไรปี 64 โตสนั่น 2 เท่าตัว ตอกย้ำพื้นฐานแกร่ง โดยรายงานกําไรสุทธิปี 2564 เท่ากับ 258.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 186.24 ล้านบาท คิดเป็น 258.0% จากงวดเดียวกันของปีก่อน มาจากรายได้รวม เท่ากับ 1,849.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 409.00 ล้านบาท คิดเป็น 28.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เกิดมาจากรายได้จากผู้ป่วยในโดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ทีเพิ่มสูงขึ้นมาก

4.PR9 (บมจ.โรงพยาบาลพระรามเก้า) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +21.82% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิด ที่ 13.40 บาท, มาร์เกตแคป 10,536.42 ล้านบาท , ค่าP/E 42.29 เท่า ,ค่า P/BV 2.46 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.04% มีคุณหญิง พจมาน ดามาพงศ์ ถือหุ้นใหญ่สุด 37.14%

โบรคฯ มีมุมมองเป็นบวกต่อผลประกอบการในไตรมาส 1/2565 ที่คาดว่าเติบโตได้ดี เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อานิสงส์จาก Omicron และ ศูนย์เฉพาะทาง ถึงแม้การฟื้นตัวของ ผู้ป่วยต่างชาติประเภท fly-in ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ก็สามารถชดเชยได้จากการเติบโตจาก ภายในประเทศที่มากขึ้น

5.BDMS (บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +17.39% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิดที่ 27.00 บาท, มาร์เกตแคป 429,084.05 ล้านบาท ,ค่าP/E 54.07 เท่า ,ค่า P/BV 5.12 เท่า,อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.67% มีนาย ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ถือหุ้นใหญ่สุด 12.82%

ปัจจัยหนุนจากต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้น และ 1 พ.ค.นี้ การเดินทางเข้าไปจะลดเหลือแค่การตรวจ ATK เท่านั้น หนุนให้ผู้ป่วยต่างชาติ Fly-in เติบโตเด่นตั้งแต่ไตรมาส 2/65 เป็นต้นไป คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 15% จากจำนวนผู้ป่วยในไทยฟื้นตัวกลับมาปกติแล้ว และเติบโต 17% ในปีหน้า หลังคาดผู้ป่วย Fly-in จะกลับมาใช้บริการปกติ รวมกับมีแผนเปิดเพิ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางเพิ่มในต่างจังหวัดหนุนการเติบโตในอนาคต

6.BH (บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +17.38% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิด ที่ 165.50 บาท , มาร์เกตแคป 131,553.59 ล้านบาท ,ค่าP/E 108.33 เท่า ,ค่า P/BV 7.62 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.93% มีนายสาธิต วิทยากร ถือหุ้นใหญ่สุด 17.64%

BH เป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศและธุรกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 โดยคาดกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 65 จะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ และประมาณการว่ากำไรปี 2565 และปี 2566 เมื่อเทียบกับ YoY จะเติบโต +113% และ +39% ตามลำดับ โดยกำไรกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดได้ในปี 66

7.BCH (บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +12.44 % ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิด ที่ 22.60 บาท, มาร์เกตแคป 56,358.70 ล้านบาท , ค่าP/E 8.23 เท่า ,ค่า P/BV 4.34 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 5.31% มีนายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ ถือหุ้นใหญ่สุด 32.63%

โรงพยาบาลในเครือทั้งหมด 13 แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ภายใต้ 4 กลุ่ม คือ 1.โรงพยาบาลเวิลดิ์เมดิคอล 2.กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 3.กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รับประกันสังคม 4.กลุ่มโรงพยาบาลการุญเวช รับประกันสังคม โดย BCH ลุ้นกำไรไตรมาส 1/2565 เกินคาดรับการระบาดโอมิครอนช่วงต้นปี และอาจกินระยะเวลาต่อเนื่องไปตลอดไตรมาส 2 ทำให้กำไรทั้งปี 2565 มีโอกาสสูงกว่าที่ตลาดประเมิน

8.EKH (บมจ.เอกชัยการแพทย์) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +12.33% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิด ที่ 8.20 บาท , มาร์เกตแคป 4,920.00 ล้านบาท ,ค่า P/E 14.27 เท่า , ค่า P/BV4.55 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 3.05% มีนางอรสา ตั้งสัจจะพจน์ ถือหุ้นใหญ่สุด 7.25%

EKH ลุ้นผลงานปีนี้เด่น รับรายได้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ-ธุรกิจ IVF รวมถึงรายได้เงินปันผลจากการถือหุ้นใน The Klinique ที่จะเริ่มรับรู้ในปีนี้

9.CHG (บมจ.โรงพยาบาลจุฬารัตน์) ผลตอบแทนด้านราคาYTD +11.48% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิด ที่ 4.08 บาท, มาร์เกตแคป 44,880.00 ล้านบาท, ค่าP/E 10.68 เท่า, ค่า P/BV 5.93 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.90% มี น.ส. กรรณิกา พลัสสินทร์ ถือหุ้นใหญ่สุด 18.13%

บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์แนวโน้มไตรมาส 1/2565 คาดกำไรสุทธิ 1,000 ล้านบาท (โต 297% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 45% เทียบไตรมาสก่อนหน้า) เนื่องจากคาดว่ารายได้ธุรกิจ รพ. (โต 120% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน) เติบโตสูง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการให้บริการเกี่ยวกับ COVID คาดมีสัดส่วนรายได้ราว 40% ของรายได้ไตรมาส 1/2565

10.RPH (บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์) ผลตอบแทนด้านราคา YTD +8.20% ราคา ณ 22 เม.ย.65 ปิดที่ 6.60 บาท, มาร์เกตแคป 3,603.60 ล้านบาท ,ค่า P/E 8.94 เท่า, ค่า P/BV 2.15 เท่า,อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.55% มี นาย ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์ ถือหุ้นใหญ่สุด 11.67% และบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 7.00%

ผลการดำเนินงานงวดปี 2564 มีกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ มีรายได้จากกิจการโรงพยาบาลในปี 2563 และปี 2564 จำนวน 799.33 ล้านบาท และ 1,412.56 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.72 โดยเกิดจากโรงพยาบาลได้รับรักษาผู้รับบริการจากการติดเชื้อไวรัสโควิค-19และจากการเปิด Hospitel หลายแห่ง

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 65 ว่า แต่ละโรงพยาบาลจะช่วยหนุนทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปได้อีกหรือไม่


กำลังโหลดความคิดเห็น