xs
xsm
sm
md
lg

PLANET เปิดตัวต้นแบบเมืองดิจิทัลในอีอีซี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย" สร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล (Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) ของโครงการ EEC SILICON TECH PARK ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" เผยหวังเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะดิจิทัล (Digital City Sandbox) แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) และอื่นๆ ในไทย

นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร กล่าวภายหลังพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) ในพื้นที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีนายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานสภา เป็นประธานในพิธี รวมถึง รศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ผู้อำนวยการสถาบัน FIBO ดร.ธัชพล กาญจนกูล ดร.เพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการ EEC นายไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Silicon Tech Park นายอนันต์ นาคนิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสุชิน พูลหิรัญ นายกเทศบาลตำบลบ้านฉาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธี ว่า

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท ซิลิคอน เทคโนโลยี่ พาร์ค จำกัด ให้เป็นผู้บริหารโครงการรับผิดชอบในการออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับโครงการ EEC SILICON TECH PARK โดยมีเป้าหมายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการด้านพลังงานสะอาด ประหยัดพลังงาน มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคง เพื่อให้สามารถดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) และศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Center) ในโครงการดังกล่าว

โดยการก่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) แห่งนี้ ตัวอาคารมีขนาดพื้นที่รวม 6,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล (Digital Monitor and Operating Center-DMOC) และ FIBO Industrial Prototyping DEPO โดยในส่วนศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล (DMOC) มีหน้าที่ควบคุมจัดการรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) 7 ด้านให้อยู่ใน Platform เดียวกัน โดยใช้การผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลหลายด้านให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล เช่น Green Energy, Nextgen Telecom, Cloud Computing, Ai/Analytic, IoT, Digital Twins, Big Data & GIS เป็นต้น และมีการรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แจ้งเตือน ควบคุม จัดการ และรายงานในรูปแบบ Dashboard แสดงผลบน Video Wall ขนาด 3 x 16 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ จัดการ และสามารถแก้ไขสถานการณ์ในที่เดียวอย่างทันท่วงที โดย Digital Infrastructures นี้ ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ

1.ระบบสื่อสารมั่นคง (Nextgen Telecom/High Availability) ด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง Bandwidth สูงที่สุด (400 GB/sec) ให้บริการแก่ลูกค้าผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก มีระบบสำรองผ่านโครงข่ายสื่อสารดาวเทียม และ 5G ทำให้มั่นใจได้ว่าการสื่อสารจะสามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา แม้เกิดปัญหาระบบใดระบบหนึ่งเสียหายขัดข้อง

2.ระบบไฟฟ้ามั่นคง (Electricity High Availability) มีระบบไฟฟ้าสำรองด้วย Solar Roof Generator และ Energy Storage ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา และการใช้มิเตอร์ไฟฟ้าดิจิทัล 3.น้ำประปาที่มีคุณภาพดื่มได้ทันที (Clean Water Supply) ที่มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยระบบ IoT Platform และการใช้มิเตอร์น้ำดิจิทัล 4.อากาศที่ไร้มลพิษ (No Air Pollution) ที่มีการตรวจสอบ PM 2.5, CO2 และมลพิษอื่นด้วยระบบ IoT Platform สามารถแจ้งเตือนและแก้ไขได้ทันท่วงที

5.ดูแลเฝ้าระวัง รักษาความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สินด้วยกล้องวงจรปิดดิจิทัล และระบบวิเคราะห์ Analytics & AI ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการแจ้งเตือน สืบค้น และบริหารการจราจรภายในโครงการ 6.การบริหารสิ่งปฏิกูล (Waste Management) ในการลด การกำจัด และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 7.การรักษาสุขภาพทางไกล (Telemedicine) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในโครงการสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล

นายประพัฒน์ กล่าวว่า Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) สำหรับควบคุมระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโครงการ EEC SILICON TECH PARK นี้จะเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างดิจิทัลอันเป็นส่วนสำคัญของ EEC SILICON TECH PARK นี้ นอกจากจะมี Bandwidth สูงที่สุด (400 GB/sec) แล้ว ยังสามารถผสมผสานกับสัญญาณ 5G และ Low Orbit Satellites: Leo/Geo ให้บริการงานด้านอุตสาหกรรมต้องการความหน่วงต่ำ (Low Latency) และ การเชื่อมต่อการอุปกรณ์ Industrial IoTs หลากหลายชนิดและจำนวนมาก จนทำให้ได้ระบบการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการสูญเสียด้านพลังงาน ลดอัตราการก่อเกิดคาร์บอน ลดภาวะโลกร้อน เป็นระบบที่ได้มาตรฐานระดับโลก ISO และอื่นๆ ที่ทำให้ประเทศไทยและภูมิภาคอยู่ระดับแกนนำด้าน BCG ที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนคุณภาพมาสร้างเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี เตรียมวางแผนเร่งขยายผลสำเร็จเมืองอัจฉริยะดิจิทัลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดของ EEC และเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศไทยและภูมิภาคต่อไป

"Digital Monitoring and Operation Center ของ PLANET ในโครงการ EEC SILICON TECH PARK นี้จะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับเมืองต้นแบบที่มากกว่าเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แต่จะเป็นพื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) สำหรับเมืองอัจฉริยะดิจิทัล (Digital City) ที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) ที่เชื่อมโยงระบบต่างๆ เข้าด้วยกันเป็น Platform เดียวกัน โดยมีเป้าหมายในการลดโลกร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คาดว่า การก่อสร้างอาคาร Digital Monitoring and Operation Center จะแล้วเสร็จในช่วงเดือนตุลาคม 2565 นี้” นายประพัฒน์ กล่าว

นายประพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการเดินทางไปโรดโชว์ รวมถึงติดต่อไปยังเอกชน ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินเดีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลาง ให้เข้ามาใช้พื้นที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK ในการศึกษาวิจัย ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดธุรกิจและอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี พบว่าแนวโน้มได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะระบบ Digital Infrastructures ที่เราออกแบบให้บริการในพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ ซึ่งคาดว่าในปี 2566 จะมีลูกค้าเข้าใช้บริการ 200 กว่าไร่ ในเฟสแรก

ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสนับสนุนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ตามแผนยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลแล้ว ยังมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลมาช่วยเร่งขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และมีบทบาทในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นเมืองดิจิทัลได้เร็วมากขึ้น (Country Digital Acceleration)

สำหรับในส่วนของอาคาร DMOC ด้านหนึ่ง ยังเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมาก นั่นคือ “FIBO Industrial Prototyping DEPO” โดยมีเป้าหมายทำงาน/ออกแบบพัฒนาการ ระบบต้นแบบ ด้าน Industry 4.0, Telerobotics- Telepresence, Medical Robotics, Cybernetics and Advance Artificial Intelligence and Singularity Systems ทั้งนี้เล็งผลเลิศถึงการใช้งานจริง โดยงานแรกที่จะเกิดขึ้นใน Facility นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FIBO และ SiaSun Shenyang, China พัฒนาระบบเครนขนาดใหญ่อัตโนมัติ รับตู้คอนเทนเนอร์ (50 Tons) ทำงานผ่านสัญญาณ 5G สำหรับกิจการท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด ระบบดังกล่าวนี้จะขยายผลเป็นเชิงพาณิชย์โดยบริษัท SiaSun ต่อไป

รศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (FIBO) กล่าวว่า FIBO เป็นสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา FIBO ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอย่างมาก ทั้งนี้เราต่างจากสถาบันวิจัยอื่นๆ ตรงที่เราเน้นการประยุกต์ใช้งานจริงของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Field Robotics) ผลงานของเราหลากหลายประจักษ์อยู่ในวารสารงานวิชาการและ social media ทั่วไป https://www.kmutt.ac.th/en/faculty/institute-of-field-robotics/ นอกจากนี้ FIBO ได้ทำหน้าที่สร้างกำลังคนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติใน ระดับปริญญาตรี-โท-เอก มาอย่างต่อเนื่อง ศิษย์เก่าและเครือข่ายปัจจุบันของเรากระจายครอบคลุมไปทั่วทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย และเอกชนอุตสาหกรรม

“ผมมั่นใจความร่วมมือกับบริษัท Planet ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ความสำเร็จของ EEC SILICON TECH PARK และประเทศชาติอย่างแน่นอน” รศ.ดร.สยาม กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น