xs
xsm
sm
md
lg

ธปท.เร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรูปแบบกำกับดูแลการชำระเงินด้านสินทรัพย์ดิจิทัล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ธปท.เร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลสถาบันการเงินให้บริการรับชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล หว่งสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Blank Coin) ที่มีความเสี่ยงสูง ย้ำไม่สนับสนุนให้ใช้ชำระสินค้าและบริการ เตรียมออกภูมิทัศน์ทางการเงินภายในไตรมาศมาส 1 ปี 2565 ซึ่งจะมีสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ด้วย ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน

นางชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร นายสังกกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการใช้ทรัพย์สินดิจิทัลเพื่อการชำระสินค้าและบริการ ว่า ธปท.กำลังศึกษาและติดตามสถานการณืสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิด โดยเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าเงินค้าและบริการด้วยเงินดิจิทัลเพื่อจำกัดความเสี่ยง ในขณะเดียวกัน ยังคงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม

ในช่วงที่ผ่านมา มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระสินค้าและบริการกันบ้างแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณาะชำระเงินในวงจำกัด ซึ่งผู้ใช้จะต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่เข้าใจถึงความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ในส่วนของการชำระสินค้าของสถาบันการเงินนั้นยังไม่มีการใช้ชำระเงินโดยตรง ซึ่ง ธปท.ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสถาบันการเงินหลายแห่งได้เข้ามาหารือถึงกฎระเบียบและรูปแบบของการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลตลอดเวลา

“การที่มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้าและบริการนั้นไม่ถือว่าผิดกฎหมาย สามารถทำได้ ธปท.ไม่ได้ห้าม แต่ขอให้ระมัดระวังถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีการผันผวนอย่างมาก ผู้ใช้ต้องรับความเสี่ยงเอง อีกทั้งส่วนใหญ่ทำกันในวงจำกัด อีกทั้งการใช้ชำระสินค้าและบริการโดยทั่วไปอาจจะทำได้ยาก เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องเป็นรูปแบบเดี่ยวกันเพื่อมาชำระ หากต่างรูปแบบจะเกิดบัญหาเรื่องของการทำบัญชี ระบบแลกเปลี่ยน ปัญหาอื่นๆ อีกมาก ดังนัน ธปท.จึงไม่ค่อยกังวลมากนัก” นางชญาวดี กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.เตรียมที่จะออกภูมิทัศน์ทางการเงินที่จะเป็นภาพรวมของระบบการเงินในอนาคตระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่จะออกภายในไตรมาส 1 ของปี 2565 ซึ่งจะมีการรวมกฎระบบรูปแบบกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระสินค้าและบริการรวมอยู่ด้วย โดย ธปท.ต้องพิจารณาโดยภาพกว้าง เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลมีทั้งผลดีและผลเสียอยู่ด้วยกัน

ประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชนและภาคธุรกิจจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพบริการทางการเงินที่ปัจจุบันเป็น pain points points ของไทย เช่น ลดต้นทุนการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือเพิ่มรูปแบบการลงทุนหรือระดมทุนให้รองรับความต้องการที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสการแข่งขันจากผู้เล่นรายใหม่ ลด barrier to entry entry จากเทคโนโลยี Blockchain ต่อยอดนวัตกรรมจาก smart contract contract เพื่อกาหนดเงื่อนไขที่ต้องการในการช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสะดวกปลอดภัยในการทำธุรกิจ และเพิ่มบริการให้หลากหลายขึ้น

ภาคเศรษฐกิจการเงินในภาพรวม การใช้นวัตกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนและสนับสนุนการเติบโตได้ทั่วถึง ช่วยกระจายทรัพยากรไปยังคนที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม ภาคการเงินมีบริการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่า ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลายกลุ่ม

สำหรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผลกระทบต่อผู้บริโภค (Consumer Protection) ความผันผวนด้านราคา มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการใช้ชาระ ภัยทางไซเบอร์ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ผลกระทบต่อสาธารณชนทั่วไปและเสถียรภาพโดยรวม เสถียรภาพระบบการชำระเงิน ที่จะทำระบบบัญชีอย่างไร การแลกเปลี่ยนชำระเงินที่เป็นรูปแบบไหน ส่วนเสถียรภาพด้านการเงิน หากมีการใช้สินทรัพยดิจิทัลมากขึ้น การควบคุมกำกับดูแลของ ธปท.จะยากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น