ผู้ก่อตั้งเวปเทรดสัญชาติไทยที่เคยเปิดให้บริการเมื่อปี 2018 และได้ปิดตัวไปเนื่องจากปัญหาภายในและส่งผลให้ไม่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.จึงมีคำสั่งให้ต้องส่งคืนสินทรัพย์แก่ลูกค้าในภายหลังปรากฎข่าวว่ามีลูกค้าหลายรายยังไม่ได้รับการส่งมอบสินทรัพย์คืนและมีเรื่องฟ้องร้องกันตามมา
โดยเดิมที บริษัท คอยน์ แอสเซท จำกัด หรือ CoinAsset เป็นเว็บเทรดคริปโตเคอเรนซีสัญชาติไทยที่เปิดตัวเมื่อปี 2562 โดยมี นายศิวนัส ยามดี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ซึ่งเมื่อดำเนินงานมาได้สักระยะหนึ่งก็ต้องพบอุปสรรคใหญ่จนเป็นสาเหตุให้ต้องปิดตัวลงในที่สุด เนื่องมาจากปัญหาภายในส่งผลให้ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจาก ก.ล.ต. โดยทาง ก.ล.ต. มีคำสั่งให้บริษัทโอนหรือส่งคืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าหรือตามคำสั่งลูกค้า และขอให้แจ้งผลการดำเนินงานให้ ก.ล.ต. ทราบ
ในขณะที่ CoinAsset ซึ่งได้ปิดตัวเองลงไปแล้วนั้น ได้มีลูกค้าไม่ได้สินทรัพย์คืนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินทรัพย์ที่ลูกค้าไม่ได้รับมอบคืนเยอะที่สุดนั่นก็คือ JFin โทเคนจึงทำให้ผู้เสียหายเดินเรื่องฟ้องร้อง นายศิวนัส ยามดี ผู้ก่อตั้งเว็บเทรด CoinAsset จนมีคดีความกันเกิดขึ้น
จากคำบอกเล่าของ นายศิวนัส ยามดี ได้ระบุว่า หลังจากที่เกิดการฟ้องร้องขึ้นตนได้ทำการตามหา JFin โทเคนจนพบ address ที่มี JFin อยู่จำนวน 2,699,163 โทเคน ซึ่งพบว่าทางบริษัทพัฒนาซอฟแวร์ที่ CoinAsset เป็นผู้ว่าจ้างได้ทำการเก็บ Private Key เอาไว้เองและไม่ยอมส่งมอบเนื่องจากทาง CoinAsset ไม่มีเงินชำระค่าจ้างที่ค้างไว้ให้บริษัทพัฒนาซอฟแวร์ เมื่อเป็นดังนี้ทางผู้เสียหายจึงยื่นฟ้องบริษัทพัฒนาซอฟแวร์โดยที่ นายศิวนัส ยามดี รับหน้าที่เป็นพยานให้ จนในที่สุดบริษัทพัฒนาซอฟแวร์จึงยอมส่งมอบ Private Key คืน
ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นาย ศิวนัส ยามดี ได้ออกมาแถลงข่าวว่าตนได้ทำการส่งมอบ JFin จำนวน 2,699,163 โทเคน ที่ได้รับคืนจากการฟ้องร้องในชั้นศาลจากบริษัทซอฟแวร์ไว้เรียบร้อยและส่งมอบให้ทางบริษัทกฎหมายซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 รับหน้าที่ดูแลและดำเนินการส่งคืนให้แก่เจ้าของ JFin โทเคนโดยเจ้าของโทเคนเพียงนำหลักฐานความเป็นเจ้าของมาแสดงกับทางบริษัทกฎหมายดังกล่าวเพื่อรับมอบโทเคนคืน ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้ นายศิวนัส ยามดี ได้เปิดเผยว่าตนเองมีการทำสัญญาระหว่างและบริษัทกฎหมายซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 เพื่อเป็นหลักฐานไว้เรียบร้อย
จากคำบอกเล่าของนาย ศิวนัส ยามดี ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เป็นเคสแรกที่ตนได้รับการติดต่อจากเจ้าของ JFin โทเคนรายหนึ่งซึ่งเจ้าของ JFin โทเคนรายนั้นอ้างว่าเขาไม่สามารถรับมอบโทเคนคืนได้เนื่องจากทางบริษัทบอกว่าไม่ได้รับการอนุมัติจาก นายศิวนัส ยามดี ตนจึงรีบดำเนินการให้พร้อมตั้งข้อสงสัยว่าทำไมรอบนี้จึงต้องมีการอนุมัติจากตน และได้มีการสอบถามข้อมูลไปยังบริษัทกดกฎหมายที่เป็นผู้บริหารจัดการ JFin โทเคนที่รับหน้าที่ส่งมอบแก่เจ้าของ จึงได้ข้อมูลว่าโทเคนทั้งหมดที่พากันไปฟ้องคืนมาได้นั้น จำนวน 2,699,163 โทเคน ส่งมอบคืน ณ ชั้นศาลจำนวน 1,070,579 โทเคน คงเหลือบริหารจัดการจำนวน 1,628,583 โทเคน หลังจากนั้นได้ส่งมอบคืนแก่เจ้าของที่มาแสดงตนอีก 21 ราย รวมเป็นจำนวน 834,411 โทเคน และจะต้องคงเหลือเป็นจำนวน 794,172 โทเคน แต่จำนวนดังกล่าวที่เหลือทางบริษัทกฎหมายระบุว่าได้หักเป็นค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาไป
"ตนเองย้อนกลับมาดูสัญญาที่ได้มีการกล่าวถึงไปข้างต้นซึ่งเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ที่อาคารศาลแขวง พระนครเหนือ ปรากฎว่าภายใต้สัญญามีส่วนที่ระบุไว้ว่าผู้ครอบครองสินทรัพย์ดิจิทัลหรือบริษัทกฎหมายซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 จะมอบคืน JFin โทเคนโดยในสัญญาระบุไว้ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าบำเหน็ดสินจ้าง 10% ของเหรียญที่เหลือต่อเดือน x ราคาตลาด ณ วันที่คำนวณ ด้วยเหตุนี้เอง นายศิวนัส ยามดี จึงมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเหรียญไม่พอคืนแก่นักลงทุนซึ่ง นายศิวนัส ยามดี ยอมรับว่าเกิดจากความผิดพลาดของตนเองที่อ่านสัญญาไม่ถี่ถ้วนด้วยส่วนหนึ่ง" นายศิวนัส ยามดี กล่าว
นายศิวนัส ยามดี หรือผู้ก่อตั้งกระดานเทรดสินทรัพย์ CoinAsset จึงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้ในการนำเสนอเรื่องราวอีกด้านและตั้งคำถามไปถึงบริษัทกฎหมายดังกล่าวว่าการหักทรัพย์สินของกลางที่มีเจ้าของนี้เป็นการกระทำโดยชอบธรรมหรือไม่ เนื่องจากทรัพย์สินเหล่านี้ทาง CoinAsset ไม่ได้เป็นเจ้าของและอยากให้บริษัทกฎหมายดังกล่าวออกมาชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้เสียหายถึงข้อมูลเหล่านี้ ในเมื่อเป็นบริษัทกฎหมายที่ได้สิทธิ์ในการมอบคืน JFin โทเคนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง ถ้าหากมีการหักค่าธรรมตามยอดนี้ไปจริงอย่างไรก็ควรจะต้องนำกลับมาคืนแก่เจ้าของที่แท้จริง
ปัจจุบันมีเจ้าของ JFin จำนวน 6 ท่านได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอรับโทเคนที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบคืนรวมเป็นจำนวนประมาณ 250,000 JFin อีกทั้งทางเจ้าของ JFin ก็ยังไม่ได้รับคำชี้แจงใด ๆจากบริษัทกฎหมายที่ถือครองสินทรัพย์ของเขาเหล่านั้น โดยนายศิวนัส ยามดี ได้กล่าวว่า ตนจะเป็นคนออกมาช่วยผู้เสียหายที่ยังไม่ได้โทเคนคืนจากทางบริษัทกฎหมายดังกล่าวและจะดำเนินทุกวิธีการทางด้านกฎหมายเพื่อให้ได้มารวมไปถึงเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของตนเองด้วยเช่นกัน