xs
xsm
sm
md
lg

ttbต่อยอด"ทีทีบี บิสสิเนส วัน"โมบายแอปฯช่วยเอสเอ็มอียกระดับการบริหารธุรกิจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น มีเครื่องมือดิจิทัลที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น จึงต่อยอดพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันระดับมืออาชีพ ที่ไม่เพียงเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับเอสเอ็มอี แต่สามารถให้เอสเอ็มอีควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ พร้อมฟีเจอร์สุดล้ำที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่อยอดธุรกิจ พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน

นางสาวสุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีเอ็มบีธนชาต(ttb)
เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความสำคัญธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งถือเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เนื่องจากมีจำนวนผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ของประเทศถึง 42% แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ที่เข้ามาค่อนข้างแรงและเร็ว โดยจากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพียง 10%ที่ประคองตัวอยู่รอดได้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจไอที อีก 52%จะต้องมีการปรับตัวให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และอีก 38%ยังน่าเป็นห่วงซึ่งก็จะเป็นกลุ่มท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการพักชำระหนี้ให้กับผู้ประกอบการ 99%ของพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอี จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอยู่ประมาณ 20%ที่ยังต้องได้รับการช่วยเหลือต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยยกระดับการทำงานให้ดีขึ้น สะดวกขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ประกอบการด้วย ซึ่งเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ทำธุรกิจผ่านมือถือเป็นหลัก และก็ยังพบกับปัญหาจากการใช้มือถือในการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น 1) การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ 2) ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด 3) ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงิน แบบไหนเร็วที่สุด ประหยัดที่สุด หรือแม้กระทั่ง 4) โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ ดังนั้น การพัฒนาดิจิทัลแบงก์กิ้ง หรือ โมบายแอปพลิเคชันให้ดี จึงมีความสำคัญมาก เราจึงต้องการยกระดับนวัตกรรมเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง โดยการออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด โดยปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย"

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)กล่าวว่า นับแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทีเอ็มบีธนชาตได้นำเสนอบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง เข้ามาเป็นผู้ช่วยทางการเงิน เสริมความแข็งแกร่งให้กับลูกค้าธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี สามารถจัดการทุกอย่างได้ในที่เดียว ด้วยคอนเซ็ปต์ One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน โดยจะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด One to Control ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย ซึ่งถือว่า ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าของธนาคารเป็นอย่างดี สะท้อนได้จากจำนวนลูกค้าของธนาคาร เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20%

ทั้งนี้ การพัฒนา ttb business one จากอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง มาสู่แอปพลิเคชั่น จะช่วยแก้ Pain Point ของลูกค้าที่เราได้ฟังมาเป็นจำนวนมาก อาทิ การต้องสลับหน้าจอหลายๆครั้งๆในการทำธุรกรรม เนื่องจากเอสเอ็มอีต้องทำมีหลากหลาย ขั้นตอนการทำธุรกรรมหลายขั้นตอน หรือการไม่รู้ข้อมูลของผู้โอนจ่ายชำระเงินก็จะทำให้ต้องเสียเวลาตรวจสอบและปิดยอดลูกหนี้ เป็นต้น ซึ่ง ttb business one ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นจะช่วยแก้จุดบกพร่องตรงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติรายการ การทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ ซึ่งเราเชื่อว่าฟีเจอร์ต่างๆบน ttb business one โมบายแอปพลิเคชัน จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้บริหารธุรกิจได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะ 1) สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ 2) ได้รับประสบการณ์เดียวกันจากทุกเครื่องมือ ไม่ว่าจะแท็บเล็ต หรือมือถืออย่างต่อเนื่อง เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน 3) ทำได้ทุกธุรกรรมจากแอปเดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD และ 4) ใช้ง่าย สะดวก พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล โดยธนาคารตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี และธนาคารจะยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมเป็นพันธมิตรที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจลูกค้าในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

"ตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากมี ttb business one นั้น ยืนยันได้ว่า เรามาถูกทางแล้ว และยังเชื่อว่าด้วยฟีเจอร์ที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยของเราจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถมาใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็ม 100% ซึ่งปัจจุบันเราไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม แต่จะมีค่าธรรมเนียมรายปีทื่ 500 บาท"
กำลังโหลดความคิดเห็น