สื่อคริปโตเผยผลการสำรวจการถือครองสกุลเงินดิจิทัลโดย Independent Reserve ซึ่งเป็นเว็บเทรดสกุลเงินดิจิตอลในภูมิภาคเอเชียแปซิพบว่าคนสิงคโปร์ กว่า 43% ของผู้ตอบแบบสำรวจเป็นผู้ถือครองสกุลเงินดิจิทัล และอีกกว่า 46% วางแผนที่จะซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลในอีก 12 เดือนข้างหน้า พร้อมผลักดันให้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นเบอร์ 1 FinTech ในอาเซียน
จากการเปิดเผยของ cointelegraph ระบุว่า ได้มีการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยเว็บ Independent Reserve ซึ่งเป็นเว็บเทรดสกุลเงินดิจิตอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยผลสำรวจระบุว่า ปัจจุบันได้มีการยอมรับ Cryptocurrency มากขึ้นและกำลังเติบโตอย่ามากในประเทศสิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากศักยภาพความมั่งคั่งของ Bitcoin หรือ BTC และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ตามมา ซึ่งกว่า 43% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลอยู่ในพอร์ตการลงทุน และในกระเป๋าเงินดิจิทัล ขณะที่อีกกว่า 46% วางแผนที่จะซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยผลลัพธ์ IRCI แสดงให้เห็นว่า 2 ใน 3 หรือ 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มอายุ 26 ถึง 45 ปีกล่าวว่าพวกเขาเป็นเจ้าของ cryptocurrencies แล้ว
นอกจากนี้ 93% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาเคยได้ยินเกี่ยวกับ Bitcoin และเกือบ 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามอธิบายว่า BTC เป็น “สินทรัพย์เพื่อการลงทุน” และ 25% เรียกมันว่า “store of value” หรือ “ทองคำดิจิทัล” ขณะที่ 3 ใน 4 ของผู้ที่มีอายุ 26 ถึง 35 ปี กล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่า cryptocurrencies จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากบุคคลและธุรกิจ ซึ่งทัศนคติเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลในเชิงบวกของสิงคโปร์ในหลายภาคส่วนของสังคม โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานด้านการเงินในสิงคโปร์ได้ยืนยันว่าพวกเขากำลังทำงานร่วมกับคู่สัญญาในฝรั่งเศสเพื่อสำรวจแอปพลิเคชันข้ามพรมแดนของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDC
ขณะที่ Adrian Przelozny ซีอีโอของ Independent Reserve อธิบายว่าสิงคโปร์เป็น ศูนย์กลางสำคัญในเอเชีย เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานของตลาดการเงินที่แข็งแกร่งและมีการควบคุมอย่างดี และการเปิดกว้างต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเว็บเทรดสกุลเงินดิจิทัลและธุรกิจบล็อคเชนหลายแห่งกำลังมองหาความแน่นอนด้านกฎระเบียบ และกฎระเบียบการชำระเงินของ Monetary Authority of Singapore ก็ให้กรอบและการดำเนินงานด้านกฎระเบียบที่มั่นคง ด้วยเหตุนี้ สิงคโปร์จึงพร้อมที่จะต่อยอดชื่อเสียงในฐานะผู้นำ ด้วยการที่มีการขอใบอนุญาตจากเว็บเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำจากทั่วโลกที่ส่งเข้ามาแล้ว” Raks Sondhi กรรมการผู้จัดการของ Independent Reserve กล่าว
ด้าน เจเน็ต ยัง Head of Group Channels and Digitalisation ธนาคารยูโอบี กล่าวว่าบริษัทฟินเทคในอาเซียนมุ่งขยายกิจการในภูมิภาค ความร่วมมือจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดที่มีข้อกำหนดด้านการกำกับดูแลและการดำเนินงานที่หลากหลาย การใช้จุดแข็งของความร่วมมือยังช่วยให้บริษัทฟินเทคสามารถเข้าถึงเครือข่ายลูกค้าที่กว้างขึ้น และสามารถยกระดับการทำงาน การใช้ชีวิต การสันทนาการ และการใช้บริการธนาคารของลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างธนาคารและบริษัทฟินเทคในอาเซียนได้ทำให้เกิดเทคโนโลยีและสมรรถนะชั้นเลิศในอุตสาหกรรม นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันเชิงนวัตกรรมที่ทำให้การใช้บริการธนาคารเป็นเรื่องง่ายขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน
ขณะเดียวกันสิงคโปร์เป็นตลาดฟินเทคที่มีความพร้อมที่สุดในอาเซียน การให้ทุนแก่บริษัทฟินเทคในสิงคโปร์จึงมีความหลากหลายครอบคลุมทุกประเภท โดยมีเทคโนโลยีด้านการกู้ยืมทางเลือก การชำระเงิน และเทคโนโลยีการธนาคารเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ส่วนในตลาดอื่นในภูมิภาคอาเซียน การให้ทุนด้านการชำระเงินยังคงมีอันดับสูงสุด เนื่องจากการชำระเงินดิจิทัลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ส่วน วง วันยิ ผู้นำฝ่ายฟินเทค บริษัทพีดับบลิวซี สิงคโปร์ กล่าวว่า ในปีที่แล้ว สิงคโปร์ยังคงดึงดูดเงินลงทุนมากที่สุดในตลาดฟินเทคของอาเซียน และยังครองความเป็นผู้นำในตลาดฟินเทคของอาเซียน โดยตัวแปรสำคัญของผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของสิงคโปร์คือระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโต มีการเกื้อหนุน และมีการทำงานร่วมกัน ตัวอย่างเช่น แรงจูงใจจากหน่วยงานกำกับดูแลและสมาคมสำคัญในอุตสาหกรรมอย่าง SFA ตลอดจนวัฒนธรรมสตาร์ทอัพที่แข็งแกร่งในการแบ่งปันความรู้ เป็นสิ่งที่ช่วยเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรม ผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรมยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความสามารถ ขณะเดียวกัน ความร่วมมือของรัฐบาล ธุรกิจ และบุคลากรก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นศูนย์กลางฟินเทคที่ประสบความสำเร็จ
บริษัทฟินเทคในอาเซียนยังคงมีมุมมองบวกต่ออนาคตแม้เผชิญวิกฤตโรคระบาด
รายงานระบุว่า บริษัทฟินเทคในภูมิภาคอาเซียนยังคงมีมุมมองบวกต่ออนาคตแม้เผชิญกับวิกฤตโรคระบาด โดย 2 ใน 3 ของบริษัทฟินเทคระบุว่าวิกฤตโรคระบาดไม่มีผลกระทบหรือส่งผลกระทบแง่บวกต่อแผนการระดมทุนในอนาคต (ร้อยละ 65) และต่อการลงทุนในขั้นสุดท้าย (ร้อยละ 62) นอกจากนี้ บริษัทฟินเทคส่วนใหญ่ในอาเซียน (ร้อยละ 87) ยังกล่าวว่าบริษัทสามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในช่วงหลังวิกฤตโรคระบาด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมและการสร้างการเติบโตของรายได้ในปีหน้า
ทั้งนี้ เชีย ฮก ไหล ประธาน SFA กล่าวว่า บริษัทฟินเทคในอาเซียนมีเหตุผลที่ดีที่จะเชื่อมั่นในอนาคตเนื่องจากโควิด-19 ได้ช่วยเร่งให้เกิดการใช้งานการเงินดิจิทัลโดยผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เพื่อดึงดูดโอกาสการเติบโตในภูมิภาค บริษัทฟินเทคในอาเซียนจำเป็นต้องมีความคล่องตัวในการปรับผลิตภัณฑ์และรูปแบบการสร้างรายได้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งร่วมมือกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่น่าตื่นเต้นแต่ก็มีการกระจายตัวในภูมิภาคอาเซียน