หลังนายกรัฐมนตรีลั่นวาจาเปิดประเทศภายใน 120 วัน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเปิดเมืองถูกจับตาอีกครั้งแล้ว โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงแรม ที่ถูกตั้งความหวังว่าจะขยับเพิ่มขึ้น หลังจากในปี 63 ทำราคาตกต่ำอย่างหนัก โดยวันนี้ไปเช็คอิน 12 หุ้นโรงแรม เปิดห้องดูจุดต่้ำสุด-สูงสุดปี 63-64 กัน
1.MINT (บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล) มาเก็ตแคป 164,956.71 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 25.75 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 31.75 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 บาท หรือ 23.30% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 36.47 บาท ต่ำสุด 13.40บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 33.75 บาทต่ำสุด 24.40 บาท MINT ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจโรงแรม, โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขาย โดยไตรมาส 1/64 ขาดทุนสุทธิ -7,249.72ล้านบาท
2.AWC (บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป) มาเก็ตแคป 151,040.00 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 4.56 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 4.72 บาท เพิ่มขึ้น 0.16 บาท หรือ 3.50% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 6.25 บาท ต่ำสุด 2.70 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 5.65 บาทต่ำสุด 4.34 บาท AWC ประกอบธุรกิจโรงแรมและการบริการ,อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์,ธุรกิจอาคารสำนักงาน โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ-594.00 ล้านบาท
3.CENTEL (บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา) มาเก็ตแคป 47,925.00 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 23.70 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 35.50 บาท เพิ่ม 11.80 บาท หรือ 49.78% ขณะที่ปี 63 ทำราคา สูงสุด 27.50 บาทต่ำสุด 13.00 บาท ขณะปี 64 ทำราคา สูงสุด 38.00 บาทต่ำสุด 23.00 บาท CENTEL ประกอบธุรกิจโรงแรม (เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทารา เซ็นทรา โคซี่), ธุรกิจอาหาร (เดอะ เทอเรส อร่อยดี สุกี้เฮ้าส์ ซอฟท์แอร์ เกาลูน), แฟรนไชส์ (มิสเตอร์โดนัท เคเอฟซี ฯลฯ) โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -475.73 ล้านบาท
4.SHR (บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท) มาเก็ตแคป 12,649.61 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 2.46 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 3.52 บาท เพิ่มขึ้น 1.06 บาท หรือ 43.08% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 3.32 บาท ต่ำสุด 1.41 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 3.80 บาทต่ำสุด 2.26 บาท SHR ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมและลงทุนในธุรกิจโรงแรมระดับนานาชาติ โดยไตรมาส 1/64 ขาดทุนสุทธิ -310.90 ล้านบาท
5.ERW (บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป) มาเก็ตแคป 8,056.11 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 3.60 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 3.20 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ -11.11% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 3.59 บาท ต่ำสุด 1.16 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 3.44บาท ต่ำสุด 2.09 บาท ERW ประกอบธุรกิจโรงแรม,ธุรกิจพื้นที่ให้เช่า และธุรกิจบริหารอาคาร โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -491.94 ล้านบาท
6.DTC (บมจ.บริษัท ดุสิตธานี) มาเก็ตแคป 7,650.00 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 7.75 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 9.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท หรือ 16.12% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 9.75 บาท ต่ำสุด 6.15 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 10.00 บาท ต่ำสุด 7.30 บาท DTC ประกอบธุรกิจโรงแรมและรับจ้างบริหารโรงแรม โดยไตรมาส1/64 กำไรสุทธิ 73.79 ล้านบาท
7.SHANG (บมจ.แชงกรี-ลา โฮเต็ล) มาเก็ตแคป 7,345.00 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 55.00 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 56.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท หรือ 2.72% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 72.75 บาท ต่ำสุด 44.00 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 65.00 บาทต่ำสุด 47.50 บาท SHANG ประกอบธุรกิจโรงแรมและบริการอื่นๆ อันเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรม เช่น ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง บริการศูนย์ธุรกิจ และบริการศูนย์สุขภาพ โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -84.02 ล้านบาท
8.LRH (บมจ.ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล) มาเก็ตแคป 5,500.53 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 26.75 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 6.25 บาท หรือ 23.36% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 42.00 บาท ต่ำสุด 25.00 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 36.00 บาท, ต่ำสุด 26.50 บาท LRH ประกอบธุรกิจโรงแรม,พัฒนาอสังหาริมทรัพย์,สนามกอล์ฟ .ร้านขายสินค้า,ให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -200.18 ล้านบาท
9.OHTL (บมจ.โอเอชทีแอล) มาเก็ตแคป 5,254.03 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 330.00 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 348.00 บาท เพิ่มขึ้น 18.00 บาท หรือ 5.45% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 500.00 บาท ต่ำสุด 308.00บาท , ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 380.00 บาท ต่ำสุด 318.00 บาท OHTL เป็นบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -155.48 ล้านบาท
10.GRAND (บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้) มาเก็ตแคป 2,061.08 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 0.57 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 0.57 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ปี 63 ทำราคา สูงสุด 0.78 บาทต่ำสุด 0.30 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 0.69 บาทต่ำสุด 0.49 บาท GRAND ประกอบธุรกิจโรงแรม ให้เช่าสถานประกอบการศูนย์การค้า และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยไตรมาส 1/64 ขาดทุนสุทธิ -302.29 ล้านบาท
11.VRANDA (บมจ.วีรันดา รีสอร์ท) มาเก็ตแคป 2,189.82 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 6.00 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 6.85 บาท เพิ่มขึ้น 0.85 บาท หรือ 14.16% ขณะที่ปี 63 ทำราคา สูงสุด 8.50 บาท ต่ำสุด 4.34บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 7.20 บาท ต่ำสุด 5.80 บาท VRANDA ประกอบธุรกิจโรงแรม และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัย โดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ -34.67ล้านบาท
12.MANRIN (บมจ. แมนดารินโฮเต็ล) มาเก็ตแคป 643.04 ล้านบาท
สิ้นปี 63 ปิดที่ 28.25 บาท ณ 18 มิ.ย.64 ปิดที่ 23.90 บาท ลดลง 4.35 บาท หรือ -15.39% ขณะที่ปี 63 ทำราคาสูงสุด 39.00 บาท ต่ำสุด 20.30 บาท, ขณะปี 64 ทำราคาสูงสุด 29.00 บาท ต่ำสุด 22.40 บาท MANRIN ประกอบธุรกิจโรงแรมเพื่อให้บริการที่พักอาศัย จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มโดยไตรมาส1/64 ขาดทุนสุทธิ-16.49ล้านบาท
ทั้งนี้ หุ้นที่ได้รับผลบวกจากการเปิดเมืองจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังโควิด-19ลดลงจากการระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด อันนำมาสู่การผ่อนปรนมาตรการต่างๆนั้นเอง